เกษตรฯชู เกษตรอินทรีย์พลิกโฉมระบบเกษตรอาหารสู่ความยั่งยืน

เกษตรฯชู  เกษตรอินทรีย์พลิกโฉมระบบเกษตรอาหารสู่ความยั่งยืน

เกษตรฯ ย้ำความร่วมมือกับนานาชาติพลิกโฉมระบบเกษตรอาหารสู่ความยั่งยืนยกความหลากหลาย ทางชีวภาพ เป็นพื้นฐานหนุนบรรลุเป้าหมาย ชูเกษตรอินทรีย์ คือทางออกความมั่นคง ยกระดับรายได้เกษตรกร

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ นานาชาติ (The International Dialogue) โครงการ Mainstreaming Biodiversity in Agriculture in Thailand : Case Studies and Experiences โดยมีผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้นำองค์กรพันธมิตร ทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วม ณ ห้องประชุม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผ่านระบบออนไลน์ ว่า

เกษตรฯชู  เกษตรอินทรีย์พลิกโฉมระบบเกษตรอาหารสู่ความยั่งยืน

 

วัตถุประสงค์ของการสัมมนาในครั้งนี้ มุ่งหวังให้ผู้นำองค์กรพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศได้ร่วมพูดคุยหารือในประเด็นของความหลากหลาย ทางขีวภาพด้านการเกษตร ที่มีความสำคัญและเป็นพื้นฐานของการเกษตรยั่งยืนที่สามารถสนับสนุนให้สามารถบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน

แม้จะเป็นการประชุมผ่านระบบออนไลน์แต่เชื่อมั่นว่าจะสามารถใช้เวทีนี้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เพื่อหาจุดร่วมในการทำงานต่อไปในอนาคต โดยขอให้ทุกท่านที่เข้าร่วมหารือในวันนี้ แบ่งปันความรู้ความชำนาญและเสนอประเด็นเร่งด่วนที่สามารถใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อพลิกโฉมระบบเกษตรอาหารสู่ความยั่งยืน เป็นธรรม และไม่ทิ้งใคร
ไว้ข้างหลัง

“ขอขอบคุณองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ให้การสนับสนุนและร่วมมือดำเนินโครงการ “Mainstreaming Biodiversity in Agriculture in Thailand : Case Studies and Experiences” อันจะเป็นประโยชน์ต่อการ เผยแพร่ ศึกษา และจัดเก็บข้อมูลกรณีศึกษาโครงการการดำเนินงานกิจกรรมหรือแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านความหลากหลายทางชีวภาพจากหน่วยงานต่างๆ สำหรับการพัฒนาตัวชี้วัดแนวปฏิบัติการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในภาคการเกษตร

และการจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการเพื่อดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพในภาคการเกษตรต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แผนปฏิบัติการด้านเกษตรกรรมยั่งยืน แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 แผนปฏิบัติการด้านการเกษตรและสหกรณ์ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566 – 2570 และ BCG โมเดล” ปลัดเกษตรฯ กล่าว

          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เห็นชอบกรอบการทำงานร่วมกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่มีเป้าหมายสอดคล้องกับนโยบายของทั้งสององค์กร ซึ่งเรื่องของความหลากหลายในภาคการเกษตรก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกัน เพื่อสร้างความตระหนักและสื่อสารระหว่างภาคการเกษตรและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

โดยเมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทย การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก 2021 ซึ่งได้ให้การสนับสนุนการพลิกโฉมระบบเกษตรและอาหารในทุกระดับ

ที่ตระหนักถึงความเชื่อมโยงของความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพ สถานการณ์โควิด-19 ตอกย้ำว่าสุขภาพที่ดี ต้องมาจากความสัมพันธ์ที่สมดุลระหว่างคน สิ่งมีชีวิตอื่น และระบบนิเวศน์

โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านเกษตรกรรมยั่งยืน ระยะที่ 1 ปี 2564-2565 มีเป้าหมายให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและปรับเปลี่ยน การทำการเกษตรทั่วไปเข้าสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนเพิ่มขึ้น เกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมยั่งยืนมีรายได้เงินสดสุทธิ ทางการเกษตรเพิ่มขึ้น

โดยได้กำหนดรูปแบบของการทำเกษตรกรรมยั่งยืน 5 รูปแบบ ได้แก่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร และเกษตรธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับ “เกษตรสร้างมูลค่า” ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 1 และที่ผ่านมาหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินกิจกรรมและโครงการที่มุ่งส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ดินและน้ำ อาทิ

ธนาคารเชื้อพันธุ์พืชซึ่งได้มีการเก็บรักษาเมล็ดเชื้อพันธุ์พืชในระยะปานกลางและระยะยาว หรือ Genebank การส่งเสริมการจัดการประมงอย่างมีส่วนร่วมและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างสมดุล ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลาย และให้อยู่ในระดับที่สามารถทำประมงได้ยั่งยืน การขึ้นทะเบียนสัตว์พื้นเมืองประจำถิ่น การรับรองพันธุ์สัตว์พื้นเมืองประจำถิ่น การจดทะเบียนพันธุ์สัตว์ รวมไปถึงมีการอนุรักษ์และพัฒนาพืชอาหารสัตว์ และมุ่งส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อสร้างความหลากหลายทางชีวภาพในดิน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพของมนุษย์

นอกจากนี้ ความหลากหลายทางชีวภาพนับว่าเป็นหัวใจหลักของการดำเนินกิจกรรม/โครงการภายใต้ BCG โมเดล ซึ่งเป็นการบูรณาการการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) จากฐานความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพและวัฒนธรรม ซึ่งกิจกรรมหลักภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ได้เน้นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา เพิ่มพูนทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม การบริหารจัดการการใช้ ประโยชน์และบริโภคอย่างยั่งยืนอีกด้วย