"Bangkok Goals"หนุนเปลี่ยนผ่าน พลังงาน-อาหาร-โลกร้อน

"Bangkok Goals"หนุนเปลี่ยนผ่าน     พลังงาน-อาหาร-โลกร้อน

การประชุมผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (เอเปค) ครั้งที่ 29 ที่ปิดฉากไปเมื่อ 19 พ.ย.ที่ผ่านมา ผลการหารือนำไปสู่ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคร่วมกันรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ จำนวน 2 ฉบับ

ประกอบด้วย ปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2022 [2022 APEC Leaders' Declaration] และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG [Bangkok Goals on Bio-Circular-Green (BCG) Economy]

ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่เหมือนยืนอยู่ปากเหวเสี่ยงที่จะก้าวลงสู่“ภาวะถดถอย” ปัญหา“สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง” หรือClimate Change  ก็ได้ถูกกล่าวถึงในการประชุมผู้นำเอเปคครั้งนี้ผ่านเอกสาร Bangkok Goals สาระสำคัญโดยสรุปดังนี้ 

ก่อนอื่นเอเปคยังคงย้ำถึงวิสัยทัศน์ปุตราจายา 2040ซึ่งเอเปคเห็นด้วยถึงการสร้างความเข้มแข็ง ความเท่าเทีียม ความมั่นคง ความยั่งยืน และ การเติบโตร่วมกัน สำหรับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งสภาพภูมิอากาศเปลี่ยน ปัญหาอากาศสุดขั้ว ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อสร้างความยั่งยืนของโลก โดยความพยายามดังกล่าวต้องมีการปรับตัวและสร้างความยืดหยุ่นในเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเอเปคก็เห็นด้วยกับเป้าหมายอื่นในระดับโลก  เช่น ข้อตกลงปารีส

“การให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเป็นวาระเร่งด่วนที่ต้องร่วมมือกันพร้อมให้การสนับสนุนเพื่อสร้างขีดความสามารถ เทคโนโลยี และการเงิน โดยต้องนำเรื่องสิ่งแวดล้อมกำหนดไว้ในระดับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนปฎิบัติเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วย” 

 เอกสารBangkok Goals ยังระบุถึงความก้าวหน้าต่อการเปลี่ยนผ่านสู่พลังานสะอาดและคาร์บอนต่ำ เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินไปพร้อมกับเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน ราคาพลังงานที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ได้บอกวันเวลาที่แน่นอนของความพยายามนี้่ แต่เอปคก็แสดงเจตนาถึงการร่วมสร้างขีดความสามารถด้านพลังงานทดแทน หรือพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีปล่อยก๊าซต่ำ

“เอเปคมองว่าการทบทวนและยอมรับร่วมกันถึงการลดสัดส่วนการอุดหนุนด้านพลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการบริโภคแบบฟุ่มเฟือย แต่ก็ยังให้ความสำคัญว่าพลังงานเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดูแลและเปลี่ยนผ่านอย่างไม่สร้างความเดือดร้อนโดยรวม”  

ในส่วนสาระเรื่องการสร้างความยั่งยืนต่อการผลิต การเข้าถึงระบบการผลิตอาหารและการเกษตร ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ ขณะเดียวกัน ต้องลดความสูญเสียและอาหารเหลือทิ้ง ซึ่งนำไปสู่การกำหนดนโยบายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมเกษตรชีวภาพการขยายการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพในภาคเกษตร ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลและความก้าวหน้าของนวัตกรรมและการส่งเสริมการวิจัย การพัฒนา  ซึ่งต้องนำมาปรับใช้เพื่อการจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและการนำเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรื่องกระจกในภาคการเกษตรด้วย

“เครื่องมือที่จะดูแลปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงนั้นมีทั้งการสนับสนุนทางการเงินและการลงทุน ซึ่งต้องรวมต้นทุนจากความเสียหายทางธรรมชาติไว้ด้วย ขณะเดียวกันเราก็ต้องหาจุดเหมาะสมเรื่องราคาคาร์บอนหรือกลไกที่มิใช้ราคาในตลาดคาร์บอนเครดิตระดับนานาชาติที่ชัดเจน นอกจากนี้ ยังมีกลไกการเงินเพื่อสนับสนุนธุรกิจหรือการลงทุนที่เป็นสีเขียว ยกตัวอย่าง มาตรการทางภาษี เป็นต้น” 

เอกสารBangkok Goals พูดถึง เรื่องการค้าและการลงทุนอย่างยั่งยืน โดยย้ำถึงการสนับสนุนนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อม  ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยกับพิมเขียวเพื่อการเชื่อมโยงของเอเปคซึ่งพูดถึงการแบ่งปันประสบการณ์ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวได้ด้วย 

“เอเปคได้หารือกันถึงการอำนวยความสะดวกสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแต่ต้องไม่สร้างผลกระทบหรือเป็นมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีต่อการค้ากลุ่มสินค้าสิ่งแวดล้อมนั้นๆ”  

อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนก็ควรตระหนักเรื่อง ESG ว่าด้วย สิ่งแวดล้อม  สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมถือปฎิบัติ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ภาคการผลิต การขนส่ง โลจิสติกส์ ที่ต่างต้องมุ่งไปสู่การเป็นธุรกิจสีเขียว  ด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และราย ย่อย (MSMEs )ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญและความก้าวหน้าตามแผน APEC Strategy for Green, Sustainable and Innovative MSMEs ซึ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน นวัตกรรมและการขยายตลาดระหว่างประเทศให้