การเปลี่ยนผ่านโครงสร้างพื้นฐาน ความท้าทายสู่“การขนส่งที่ยั่งยืน”

การเปลี่ยนผ่านโครงสร้างพื้นฐาน   ความท้าทายสู่“การขนส่งที่ยั่งยืน”

ปี 2562 ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนขี่จักรยาน และคนเดินถนน 1.2 ล้านคนเสียชีวิตบนท้องถนนทั่วโลกและมีสัดส่วนถึง 58 % ของการเสียชีวิตบนท้องถนนทั่วโลกเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

นำไปสู่ความพยายามเพื่อสร้างความปลอดภัยการใช้รถใช้ถนนแต่ยังมีอีกความไม่ปลอดภัยบนท้องถนนที่มองไม่เห็นแต่บั่นทอนทั้งสุขภาพ ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมผู้ใช้รถใช้ถนน และประชากรโดยรวมอยู่ไม่น้อย นั่นคือ การปล่อยคาร์บอนภาคขนส่ง ทำให้ทุกภาคส่วนกำลังมองทางการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนร่วมกัน 

ในงานประชุมกรรมาธิการคมนาคม สมัยที่ 7 ของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ(ESCAP)  รัฐมนตรีคมนาคมของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รับรองทิศทางยุทธศาสตร์ระดับสูงระยะ 5 ปีของภูมิภาคผ่านโครงการปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (พ.ศ. 2565-2569) ซึ่งแสดงถึง ความมุ่งมั่นและความพร้อมของภูมิภาคที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาการขนส่งอย่างยั่งยืน รวมถึงการปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน

สำหรับการขนส่งที่ยั่งยืนในประเด็นการจำกัดการปล่อยคาร์บอนนั้นได้รวมถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในการขนส่ง การเปลี่ยนผ่านไปสู่การสัญจรด้วยระบบไฟฟ้า การพัฒนาการขนส่งในเมืองแบบบูรณาการ และการนำระบบดิจิทัลมาพัฒนาในการขนส่งระดับภูมิภาค และการสร้างกลไกความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการขนส่งแบบคาร์บอนต่ำและความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าเพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซจากการขนส่ง

ทั้งนี้ ESCAP มองว่าระบบขนส่งและบริการที่ยั่งยืนรวมถึงต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควรประกอบด้วยการกำหนดทิศทางระดับนโยบาย การลงมือปฎิบัติ และการวางแผนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ และบริการที่คำนึงถึงความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ 

“มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้งกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมการขนส่งแบบคาร์บอนต่ำ และเพื่อสนับสนุนความคิดริเริ่มของเอเชียแปซิฟิกเกี่ยวกับการขนส่งและเดินทางที่ด้วยระบบไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการขนส่ง”

มาดัน บี. เรกมี DEng Transport Division  UNESCAP Bangkok  กล่าวว่า ปัจจัยที่จะนำไปสู่การลดคาร์บอนลงภายในปี 2050 นั้นจะต้องให้ความสำคัญเรื่องการเปลี่ยนผ่านด้านการขนส่งด้วย โดย 1. สร้างความคล่องตัวการเดินทางด้วยไฟฟ้า 72%  

2.ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 66%  3.การแบ่งปันในการใช้รถยนต์ร่วมกันในเส้นทางเดียวกัน 20% 4.การลดความต้องการในการใช้รถ 10% 

“ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภาคการขนส่งมีสัดส่วนมากกว่า 50 % ของปริมาณการใช้น้ำมันทั้งหมดในปี 2562 ภาคส่วนนี้ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกือบ 14 % ของปริมาณการใช้น้ำมันทั้งหมดในภูมิภาค” การเปลี่ยนผ่านโครงสร้างพื้นฐาน   ความท้าทายสู่“การขนส่งที่ยั่งยืน”

โดยยานพาหนะที่ใช้ถนนเป็นส่วนใหญ่ของการปล่อยก๊าซจากภาคขนส่ง และมีสถิติชี้ว่า แนวโน้มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยรวมเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตั้งแต่ปี 2543 เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 

"มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงในภาคการขนส่งในประเทศเอเชียแปซิฟิกโดยต้องมุ่งไปสู่โครงสร้างพื้นฐาน ระบบ และบริการด้านการขนส่งที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"

 นอกจากนี้ องค์การสหประชาชาติ(UN)ได้ลงทุนอย่างมากในการจัดการกับปัญหาความปลอดภัยทางถนนทั่วโลก แผนสากลสำหรับทศวรรษแห่งการดำเนินการเพื่อความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2564-2573 เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่แผนการลงทุนไปจนถึงการสร้างระบบที่ให้แน่ใจว่าจะสร้างความปลอดภัยสูงสุดให้ทั้งผู้ใช้รถใช้ถนน รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย 

ในภาคการขนส่งมีบทบาทสำคัญในการทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่ง โครงการปฏิบัติการระดับภูมิภาคฯ ซึ่งได้ผ่านการรับรองจากที่ประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการขนส่งแล้ว โดยมุ่งเน้น ไปที่การขนส่งที่ยั่งยืนทั้งทางบกและการเชื่อมต่อทางทะเล และการลดคาร์บอนของภาคการขนส่ง ซึ่งรวมถึงความปลอดภัยทางถนนด้วย 

“จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก(WHO)ระบุว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการจราจรบนถนนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกปี 2019 ลดลง 11 % จากปี 2016 ซึ่งบ่งชี้ว่ามีวิธีแก้ไขอยู่ และเราสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้” 

ความพยายามด้านต่างๆเพื่อสร้างความปลอดภัยจาการเดินทาง ระบบขนส่ง ทั้งในเชิงกายภาพคือการลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น และเชิงนโยบายที่ทุกภาคส่งต่างมุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย และการลงทุนของทุกพื้นที่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อบรรลุเป้าหมายการขนส่งที่ยั่งยืน  เช่นเดียวกับผลการประชุมเมื่อ ก.ค. 2565 ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงครั้งแรกว่าด้วยการปรับปรุงความปลอดภัยทางถนนทั่วโลก ณ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลดจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากการจราจรทั่วโลกลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573