กรมข้าวจับมือ GIZ หนุนเกษตรกรทำข้าวลดโลกร้อน
โครงการความร่วมมือไทย เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรม (Thai-German ClimateProgramme–Agriculture)ส่งเสริมวิถีการปลูกข้าวลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาระบบการตรวจวัดรายงาน และทวนสอบ
สำหรับภาคส่วนข้าว นับเป็นความก้าวหน้าของภาคเกษตรไทยในการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อนำความรู้ของเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ภาครัฐในระดับปฏิบัติการ และฝ่ายวิจัย ที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการปลูกข้าว
โดยตลอดระยะเวลา 5 ปีของการดำเนินโครงการ (พ.ศ. 2561-2565) มีเกษตรกร และเจ้าหน้าที่จากภาคส่วนการเกษตรทั้งในส่วนกลาง และในระดับจังหวัดเข้ารับการฝึกอบรมการผลิตข้าวยั่งยืนของโครงการ เป็นจำนวนมากถึง 30,389 ราย ใน 6 จังหวัดนำร่องในพื้นที่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี เพื่อขับเคลื่อนแนวปฏิบัติอย่างยั่งยืนในการผลิต ข้าวตามมาตรฐานสากล และการนำเทคโนโลยีการผลิตข้าวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำมาปรับใช้ ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหาร และลดภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรไม่ให้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
กฤต อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีประกาศในเวที COP 26 เมื่อปี พ.ศ. 2564 ว่าประเทศไทย ให้ความสำคัญกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำลังเตรียมพร้อมก้าวสู่ประเทศความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี พ.ศ. 2608 ผ่านการขับเคลื่อนในรูปแบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจ หมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG)
ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สำหรับภาคข้าว การเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ภาคเกษตรในระดับ ปฏิบัติการ เพิ่มผลผลิต และคุณภาพตลอดห่วงโซ่การผลิต และลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ “กรมการข้าวให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกข้าว การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับนักวิชาการ และเกษตรกรในพื้นที่นำร่อง เพื่อนำไปสู่การนำระบบ MRV ไปสู่การปฏิบัติใช้ และสร้างการมีส่วนร่วมในระดับชุมชมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตข้าวคุณภาพสูง ตามมาตรฐาน สินค้าเกษตรสำหรับข้าวยั่งยืน (TAS) อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นการพัฒนา ภาคข้าวไทยอย่างยั่งยืน
ไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย และมาเลเซีย กล่าวว่า ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากภาคข้าว การผลิตข้าวยั่งยืนจะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เรามีความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน ภาคเกษตรกรรม จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเกษตรกรที่เข้าร่วม และเจ้าหน้าที่ภาคเกษตรในระหว่างประเทศไทยและเยอรมนี และเราพร้อมเดินหน้าสนับสนุนพันธมิตรภาคเกษตรของไทยต่อไป ผลการดำเนินงานผ่าน ระดับนักวิจัย และปฏิบัติการในการนำองค์ความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ มาปรับใช้กับวิถีเกษตรในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการแก้ไขวิกฤติสภาพภูมิอากาศโลกได้อย่างแน่นอน
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์