สทนช. ปรับ “แผนจัดการน้ำ”รับโลกร้อน ดึงพื้นที่ร่วมบูรณาการ

สทนช. ปรับ “แผนจัดการน้ำ”รับโลกร้อน   ดึงพื้นที่ร่วมบูรณาการ

รายงานของ IPCC หรือ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change) พ.ศ. 2557ระบุว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบสูงมาก

สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า สทนช. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการแผนงานด้านทรัพยากรน้ำได้จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) มีกำหนดทบทวนปรับปรุงทุก 5 ปี ผ่านการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านทรัพยากรน้ำทุกหน่วยงาน วิเคราะห์ ทบทวน ปรับปรุง และบูรณาการ แผนงานโครงการ ค่าเป้าหมาย และตัวชี้วัด ให้สอดคล้องต่อสถานการณ์น้ำของประเทศ รองรับสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

สทนช. ปรับ “แผนจัดการน้ำ”รับโลกร้อน   ดึงพื้นที่ร่วมบูรณาการ สทนช. ปรับ “แผนจัดการน้ำ”รับโลกร้อน   ดึงพื้นที่ร่วมบูรณาการ สทนช. ปรับ “แผนจัดการน้ำ”รับโลกร้อน   ดึงพื้นที่ร่วมบูรณาการ

สำหรับ แผนแม่บทน้ำฯ ช่วง 5 ปี 2565-2570 ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1. การจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 2.การสร้างความมั่นคงน้ำภาคการผลิต 3. การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 4. การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ ทรัพยากรน้ำ และ 5. การบริหารจัดการ

 

 

“สทนช. ได้ปรับปรุง ให้มีความยืดหยุ่นรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เกิดเหมาะสมกับสภาพบริบทของแต่ละพื้นที่และดึงชุมชนและเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน”

 

รวมถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ และสนับสนุนให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้มาตรการการแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature Base Solution : NbS) และการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (Ecosystem-based Adaptation : EbA) มาพิจารณาด้วย

โดยสทนช. ได้ทำความร่วมมือกับ  องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน(GIZ) จัดทำโครงการดำเนินงานด้านการจัดการน้ำ ภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย – เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (TGCP-Water) ในพื้นที่นำร่อง 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำสะแกกรัง โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Risk and Vulnerability Assessment : CRVA) นำมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ความอ่อนไหว ความล่อแหลม ความเปราะบาง และภัยอันตรายของแต่ละพื้นที่

ทำให้การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมชัดเจนขึ้น รวมถึงได้นำมาตรการการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (Ecosystem-based Adaptation : EbA) มาใช้ในการบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาร่วมด้วย