อบก. เผยข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และผลิตภัณฑ์
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เปิดเผยขอมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) หมายถึง ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม การดำเนินงานขององค์กร โดยการแสดงปริมาณค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ องค์กรอยู่ในหน่วยต้น
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยมาตรฐานการค้านวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรของไทยมีความ สอดคล้องกับมาตรฐานสากล คือ ISO 14064-1: 2018 “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product : CFP)" คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละ หน่วยตลอดวัฏจักรชีวิต ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้ งาน ตลอดจนการขนส่งที่เกี่ยวข้องในทุกๆ ขั้นตอน โดยคำนวณออกมา ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากนั้นจึงเผยแพร่ปริมาณ คาร์บอนฟุตพริ้นท์บนผลิตภัณฑ์ในรูปของฉลากคาร์บอนฟุตพรินท์
เพื่อให้ ผู้บริโภคได้รับทราบว่าสินค้าและบริการ ดังกล่าวคํานึงถึงผลกระทบด้าน โลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมาตรฐานการคำนวณ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ของไทยมีความสอดคล้องกับมาตรฐาน สากล คือ ISO 14067: 2018 แบ่งเป็น
Scope 1 การปล่อยและดูดกลับ ก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร จะมีข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ ผลิตภัณฑ์ในขั้นตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจาย สินค้า
Scope 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระ จกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน จะมีข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ในขั้นกระบวนการผลิต
Scope 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระ จกทางอ้อมออื่นๆ จะมีข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในขั้นตั้งแต่ การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสีย หลังหมดอายุการใช้งาน