“เศรษฐกิจสีน้ำเงิน”คุณค่า และอนาคตที่ไม่อยู่บนความเสี่ยง
ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(เอดีบี)ได้เล่าถึง "เศรษฐกิจสีน้ำเงิน Blue Economy (“BE”)" บริบทการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ และการจ้างงาน
ขณะเดียวกันก็ทำให้ระบบนิเวศน์ท้องทะเลคงความอุดมสมบูรณ์ผ่านมาตรการว่าด้วยการความเกี่ยวเนื่อง และศักยภาพการลงทุนของเศรษฐกิจสีน้ำเงิน
เอดีบี ได้ประเมินว่า หัวใจหลักของBE ได้แก่ การพัฒนาชายฝั่งอย่างยั่งยืน การควบคุมมลพิษ การจัดการระบบนิเวศน์ และทรัพยากรธรรมชาติ
ทั้งนี้ เศรษฐกิจแห่งท้องทะเลซึ่งครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 70% ของพื้นผิวโลก ครอบคลุมชีวมณฑล(biosphere) ถึง 95% รวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของระบบนิเวศน์ที่ซับซ้อน และครึ่งหนึ่งของออกซิเจนในโลกผลิตจากท้องทะเลและมหาสมุทร
นอกจากนี้ มหาสมุทรมีความจำเป็นต่อการอยู่อาศัย ความมั่นคงอาหาร สุขภาพ และกิจกรรมสันทนาการของมนุษย์อย่างมาก อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษทางทะเล การจับสัตว์น้ำอย่างบ้าคลั่ง และการพัฒนาชายฝั่งอย่างไม่ยั่งยืน เป็นการเพิ่มการคุกคามต่อระบบนิเวศน์ เป็นการเอาอนาคตของภูมิเอเชีย-แปซิฟิกไปอยู่บนความเสี่ยง
ดังนั้น ประเทศที่อยู่ริมชายฝั่ง อย่างประเทศไทยซึ่งมีพื้นที่ติดทะเลถึง 23 จังหวัด มีเศรษฐกิจ และสังคมได้รับการขับเคลื่อนจากอุตสาหกรรมทางทะเลและการท่องเที่ยว
“ปี 2563 ประมาณการว่า ประโยชน์จากท้องทะเลมีมูลค่าสูงถึง 24 ล้านล้านบาท เฉพาะประเทศไทยเศรษฐกิจสีน้ำเงินมีสัดส่วนถึง 30% ของจีดีพีไทย และ 26 % ต่อการจ้างงานในกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ”
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์