“โลกร้อน”ทำเศรษฐกิจพัง ภาคอุตสาหกรรมรุกร่วมแก้ปัญหา

“โลกร้อน”ทำเศรษฐกิจพัง  ภาคอุตสาหกรรมรุกร่วมแก้ปัญหา

ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้สร้างผลกระทบอย่างสูงต่อประเทศไทย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงพ.ศ. 2543-2562 เสียหายเฉลี่ย 0.82%ของเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งมีความเสียหายเป็นอันดับ 9 ของโลก

ขณะที่ภัยธรรมชาติที่คุกคามประชาชนในวงกว้างเมื่อปี2554   ไทยประสบอุทกภัยที่รุนแรง ต้องใช้งบประมาณซ่อมแซมและฟื้นฟู 46 พันล้านดอลลาร์ มีผู้เสียชีวิตถึง 680 คน

จากนั้น ปี 2563 ไทยประสบภัยรุนแรงและยาวนานกว่าปี ก่อนๆ ปริมาณน้ำในเขื่อนลดลงเฉลี่ย 33% และต่อมาปี 2564 ไทยก็ยังประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ช่วงก.ย. ในพื้นที่ 9 จังหวัดในภาคเหนือและภาคกลางเกิดอุทกภัยทำให้พื้นที่เสียหายเกือบ 6 แสนไร่

ความเสียหายข้างต้นซ้ำเติมทิศทางของเศรษฐกิจไทยซึ่งมีอัตราการเติบโตที่ช้าลงกว่าปีที่แล้ว ซึ่งมีผลจากโควิด ปัญหาดอกเบี้ยของสหรัฐรวมไปถึงการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ค่าเงินบาทของไทย ปัจจัยเหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวเพื่อความยั่งยืนในอนาคต

ขวัญพัฒน์ สุทธิธรรมกิจ Thailand Country Officer, The World Bank Group กล่าวกล่าวในงานสัมมนา"ถึงเวลาก้าวสู่ทรงใหม่ไทยแลนด์เพื่อความยั่งยืน" จัดโดย สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ว่า เรื่องภาวะโลกร้อนไม่ใช่แค่เรื่องธรรมชาติแต่ยังรวมถึงเรื่องเศรษฐกิจ โดยทาง world bank มีเป้าหมาย ในการลดผลกระทบที่จะเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ ซึ่งในอนาคตจะมีผลกระทบที่เร็วและแรงจากธรรมชาติ การจะลดผลกระทบงานต้องมีความร่วมมือจากทางภาครัฐและส่วนต่างๆที่จะเข้ามาช่วยกัน ต้องคำนึงถึงเรื่องของต้นทุนและผลประโยชน์ด้วยรวมถึงลำดับความสำคัญ 

“การเก็บดาต้าเซ็นเตอร์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะ นำข้อมูลไปปรับใช้กับภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจต่างๆและการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและข้อเสนอแนะทางนโยบายหลักๆ ”

 

ทั้งนี้รูปแบบความช่วยเหลือทางเทคนิค เช่น กรอบกฎหมายสำหรับระบบการค้าขายสิทธิในการปล่อยก๊าซ แผนงานส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและโรงงาน และแผนการลดการปล่อยสำหรับเมืองคาร์บอนต่ำ ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากหน่วยงานและภาคเอกชนเป้าหมาย และมีการนำไปดำเนินการต่อไปอย่างยั่งยืน  “โลกร้อน”ทำเศรษฐกิจพัง  ภาคอุตสาหกรรมรุกร่วมแก้ปัญหา

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่า โลกใบนี้มีความเปราะบางไม่แน่นอนและคาดเดาได้ยาก ประเทศไทยมีแผน ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลง 40% ในปี 2030 เป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 เช่นเดียวกับทั่วโลกมีการประกาศการลดค่าคาร์บอนไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรป(อียู) และสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ของโลก ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีความท้าทายในด้านการส่งออก ขณะที่GDP ส่วนใหญ่พึ่งพาการส่งออกถึง 60% 

“ในขณะผู้ซื้อสินค้าตั้งกติกาชัดเจนในการรับสินค้าเข้ามาขายในประเทศต้องมีมาตรการลดการปล่อยคาร์บอน ทั้งมาตรการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ในเดือนก.ค.นี้ เพื่อควบคุมอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานมากและปล่อยมลภาวะมาก ซึ่งมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมและจำเป็นที่จะต้องปรับตัว เป็นเรื่องน่ากังวลในการปรับตัวของ SME จึงมีการจัดตั้งสถาบัน Climate Change เพื่อตั้งรับปัญหาเหล่านี้ ความเสี่ยงและโอกาสนั้น มีอยู่ทุกที่ในภาคธุรกิจ ถ้าลงมือทำแล้วต้องทำให้ดี ”

ในปัจจุบัน GDP ของไทยนั้นโตน้อยมาก เพราะ 1.รายได้ปลานกลางเป็นเวลานาน 2. Agents Society ถึงเวลาการเปลี่ยนผ่านหาอุตสาหกรรมใหม่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมดั่งเดิม และอุตสาหกรรม S curve ให้เท่าทันโลกมากขึ้น และมีการผลักดันเศรษฐกิจBCG(เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว) ทำให้ไทยสามารถเติบโตได้ เช่น อาหารที่มาจากโปรตีนพืช และแมลงเป็นสินค้าส่งออกรวมไปถึงอาหารของสัตว์เลี้ยง และการสนับสนุนเทรนด์พลังงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่าง เช่น รถไฟฟ้า การผลักดันภาคอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันในระดับโลกได้ เป็นต้น ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพ ที่จะเป็นวัตถุดิบให้ทุกอุตสาหกรรม เพื่อต่อยอดต่อไป

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่เพียงสร้างความเสียหายและสร้างปัจจัยท้าทายให้ธุรกิจอย่างเดียว ในทางกลับกันก็สร้างธุรกิจใหม่ให้กับภาคอุตสาหกรรมด้วย 

กิรณ ลิมปพยอม ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจไฟฟ้าบริษัท บ้านปู จํากัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และพลังงานทางเลือกอีกมากมายอย่างไฮโดรเจนอีกด้วย

“ที่ผ่านมาพลังงานถ่านหินเป็นพลังงานที่ได้รับการยอมรับและใช้มาอย่างยาวนานเป็น 100 ปี ที่ผ่านมาเรื่องของภาวะโลกร้อนนั้นมีผลกระทบมากขึ้นทำให้ผู้ประกอบการต่างๆต้องปรับตัว การหาแหล่งเชื้อเพลิงหลักผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สะอาด”

ภาวะโลกร้อน”ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนในเชิงอุณหภูมิที่สัมผัสได้เท่านั้น แต่ความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจกำลังเป็นตัวเร่งให้ทุกคนเข้ามามีส่วนแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งภาคอุตสาหกรรมที่ตระหนักและกำลังเดินหน้าทำงานอย่างหนักจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะลดความร้อนแรงของปัญหาและแก้ปัญหาได้ในที่สุด