ปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต
การขับเคลื่อนโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต แก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และรักษาทรัพยากรป่าไม้ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป
การขับเคลื่อนโครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน และโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต พร้อมเร่งรัดการดำเนินงานและติดตามการดำเนินงานด้านป่าชายเลน ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นรัฐภาคีภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพิธีสารโตเกียว เมื่อปี พ.ศ. 2537 และ พ.ศ. 2545 เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2564 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งในการประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit)
ประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุดในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพร้อมจะยกระดับการดำเนินงาน เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเร่งดำเนินการรับมือและแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย พร้อมทั้งขอความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่น ชุมชน ในการยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตามเจตนารมณ์ของประชาคมโลกที่ปรากฏในเป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในส่วนนี้
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตใน 2 ลักษณะ ได้แก่ คาร์บอนเครดิตสำหรับบุคลากรภายนอก และคาร์บอนเครดิตสำหรับชุมชน โดยมีเจ้าหน้าที่กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน และเจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เข้าร่วมประชุมฯเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ ทั้งยังซักซ้อมกรอบแนวทาง ติดตามภารกิจ รวมถึงสรุปปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
ข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในการจัดทำโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตทั้ง 2 ลักษณะ เพื่อร่วมกำหนดการขับเคลื่อนแผนงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดต่อไปโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ได้ขับเคลื่อนการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกสุทธิภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน จำนวนทั้งสิ้น 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี ค.ศ. 2580 ดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต กำหนดเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน 300,000 ไร่ ภายใน 10 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2565 – พ.ศ. 2574
พร้อมทั้งออกระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการปลูกและบำรุงป่าชายเลน สำหรับบุคคลภายนอก และสำหรับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียน ภาคอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน การจัดการของเสีย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่มีศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก การจัดการในภาคขนส่ง รวมถึงการปลูกต้นไม้และอนุรักษ์ฟื้นฟูป่า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจกและยังสามารถรักษาสมดุลของความหลากหลายทางชีวภาพได้อีกด้วย
“ป่าไม้และป่าชายเลนยังสามารถเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจผ่านการใช้ คาร์บอนเครดิตได้อีกด้วย เพราะป่าชายเลนถือเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญยิ่ง สอดคล้องกับแนวทางการจัดการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ