“หนอนแมลงวันมะม่วง” โปรตีนทางเลือกอาหารแห่งอนาคต

“หนอนแมลงวันมะม่วง”   โปรตีนทางเลือกอาหารแห่งอนาคต

อาหารแห่งอนาคต คือทางรอดของมนุษย์เมื่อโลกนี้ทรุดโทรมลง ซึ่งเป็นผลจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ฟลายอิ้ง สปาร์ค ผู้นำเทคโนโลยีจากอิสราเอลได้ร่วมกับไทยยูเนี่ยน ตั้งโรงงานผลิตหนอนแมลงวันมะม่วง เป้าหมายเพื่อใช้เป็นโปรตีนทางเลือก ทั้งมนุษย์และสัตว์เลี้ยง

อีราน โกรนิช ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฟลายอิ้ง สปาร์ค(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ฟลายอิ้ง สปาร์ค คือบริษัทฟู้ดเทคชั้นนำจากอิสราเอล และเข้ามาบริษัทลูกในประเทศไทย แห่งแรกของโลก วงเงินลงทุน จดทะเบียน 14 ล้านดอลลาร์ โดยมีบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ทียู ร่วมถือหุ้นด้วยประมาณ 8 % เพื่อจัดตั้งโรงงานผลิตหนอนแมลงวันผลไม้ หรือแมลงวันทอง ซึ่งเป็น นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต จากโปรตีนแมลง ณ จังหวัดเพชรบุรี พื้นที่รวม 7,000 ตารางเมตร

“หนอนแมลงวันมะม่วง”   โปรตีนทางเลือกอาหารแห่งอนาคต “หนอนแมลงวันมะม่วง”   โปรตีนทางเลือกอาหารแห่งอนาคต “หนอนแมลงวันมะม่วง”   โปรตีนทางเลือกอาหารแห่งอนาคต “หนอนแมลงวันมะม่วง”   โปรตีนทางเลือกอาหารแห่งอนาคต “หนอนแมลงวันมะม่วง”   โปรตีนทางเลือกอาหารแห่งอนาคต “หนอนแมลงวันมะม่วง”   โปรตีนทางเลือกอาหารแห่งอนาคต

การดำเนินช่วง 1 ปี แรกในปัจจุบัน โรงงานได้ศึกษาแมลงวันผลไม้ในประเทศ ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ คือแมลงวัน มะม่วง แมลงวันแตงซึ่งตอมมะระ แมลงวันฝรั่ง และแมลงวันพริก ซึ่งผลการศึกษาพบว่า แมลงวันมะม่วงมีความเหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาจากขนาดของตัวหนอนที่เลี้ยงได้ขณะนี้ 16-17 มิลลิกรัม คาดว่าจะขยายได้ ถึง 19 มิลลิกรัม มีอัตราการให้โปรตีน การผลิตไข่ สูงกว่า และเป็นสายพันธุ์ที่สะอาด บริสุทธิ์ที่สุด เหมาะสมที่จะเป็นอาหารโปรตีนในอนาคตทั้งมนุษย์และสัตว์

ปัจจุบัน ฟลายอิ้ง สปาร์คสามารถผลิตหนอนได้ 120 กิโลกรัม(กก.)ต่อวันเป้าหมายต้องการผลิตได้ 1 ตันต่อวัน เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณท์ สำหรับนำไปใช้ในกลุ่มอาหารสัตว์และเวชสำอางก่อน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1. โปรตีน สำหรับผสมในอาหารสัตว์เลี้ยง 2. โปรตีนผง สำหรับผสมอาหารสัตว์น้ำ และ 3. น้ำมัน เพื่อใช้ในกลุ่มสกินแคร์ โดยโปรตีน และโปรตีนผง มีราคา 8-10 ดอลาร์ต่อ กก.

ผลผลิตที่ได้ชิปเม้นท์แรกจะออกในเดือน มิ.ย. นี้ จะจำหน่ายขายให้กับ ทียู ก่อน แต่ ฟลายอิ้ง สปาร์ค พร้อมที่จะจำหน่ายให้กับลูกค้ารายอื่นที่สนใจด้วย ซึ่งมีติดต่อเข้ามาแล้วจากญี่ปุ่น และ Megachem (Thailand) คาดว่าช่วงแรกๆ บริษัทจะมีรายได้ประมาณ 20-25 ล้านดอลลาร์ และเมื่อกำลังการผลิตได้ตามเป้าหมายจะส่งผลให้บริษัทมีรายได้มากขึ้นกว่า10 เท่าตัว

โดยในอนาคตบริษัทจะผลิตโปรตีนจากแมลงวันผลไม้เพื่อเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ด้วย เพื่อทดแทนโปรตีนจากสัตว์ ซึ่งผู้บริโภคจะมีความต้องการมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับพื้นที่ทางการเกษตรที่ลดลง ได้ส่งผลให้ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์สูงขึ้น ต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง และกระบวนการเลี้ยงเกิดแก๊สมีเทน ที่ส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ

 

“หนอนแมลงวันมะม่วง”   โปรตีนทางเลือกอาหารแห่งอนาคต

 

ต่างกับโปรตีนทางเลือกที่ได้จากแมลง ที่ใช้ระยะเวลาสั้น ประหยัดน้ำได้ 99 % ไม่สร้างมลภาวะที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ต้นทุนต่ำสามารถขยายกำลังการผลิตได้ตามความต้องการ ให้โปรตีนมากกว่าโปรตีนจากสัตว์ อย่างมหาศาล ที่สำคัญคือมีคอลเรสเตอรอล 0 % เหมาะสมกับต่ออาหารเพื่อสุขภาพอย่างสุดๆ

"ทางบริษัทได้พัฒนาเทคโนโลยีอาหารอย่างจริงจังตลอดช่วงหลายปี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร “Feeding the World without Consuming the Earth” ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนที่ให้ประโยชน์กับมนุษย์เท่านั้น แต่ยังส่งผลดีกับโลกใบนี้ด้วย”

ทั้งนี้กระบวนการเลี้ยงแมลงวันผลไม้ นั้นจะเลี้ยงในระบบปิดเริ่มจากการนำไข่มาเลี้ยงในถาดซึ่งเป็นรังและอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสม ประกอบด้วยยีสต์ น้ำตาล รำข้าวสาลี ซึ่งมีวิตามินกว่า14ชนิด ไม่มีไนโตรเจน ซึ่งเป็นข้อดีเมื่อเทียบกับรำข้าวของไทย

การเลี้ยงแมลงวันผลไม้ มะม่วงนี้จะมีวงจร 21 วัน นับว่าวันเก็บไข่ แล้วนำมาแช่น้ำ 2 วันก่อนตักลงในถาด อัตรา 7 ml ต่ออาหาร 4 กก. ซึ่ง 1 ml จะมีไข่ประมาณ 15,000-19,000 ฟอง หลังจากนั้นจะใช้เวลาประมาณ 5 วัน เพื่อฟักไข่กลายเป็นตัวหนอนที่เริ่มกระโดดได้ ช่วงนี้จะต้องตักไปเลี้ยงในถาดที่มีผงขี้เลื่อย โดยจะเลี้ยงต่อให้ครบ 7 วัน หนอนจะตัวใหญ่ขึ้น และสามารถเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบเป็นโปรตีน โปรตีนผง และน้ำมันได้เลย

แต่เมื่อทิ้งไว้ประมาณ 3-20 ชั่วโมงขึ้นไปหนอนจะเริ่มเข้าดักแด้  สร้างดักแด้ระยะนี้จะต้องย้ายเข้าตู้และเลี้ยงด้วยน้ำ ซึ่ง ดักแด้ 1 ml จะมีแมลงวันทอง 15 ตัว โดยจะใช้เวลา 10-13 วันดักแด้จะกลายเป็นตัวเต็มวัย และวางไข่อีกครั้ง

สำหรับเหตุผลที่เลือกลงทุนไทยประเทศไทยนั้น เพราะมีสภาพอากาศที่เหมาะสม มีแมลงที่หลากหลาย มีความพร้อมด้านแรงงาน มีพื้นที่กว้างพอที่จะสร้างโรงงานขนาดใหญ่ได้ และวัฒนธรรมของคนไทยที่ยอมรับในการบริโภคแมลง เป็นอาหาร ในขณะที่ พาทเนอร์อย่างทียู เป็นผู้นำโปรตีนทางเลือก ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาลงทุน