'พลังงานสะอาด' กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน
สถาบันไทยพัฒน์ บุกเบิกการพัฒนาฐานข้อมูลความยั่งยืนของธุรกิจ และเป็นผู้ริเริ่มการประเมินข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย ครั้งแรกในปี2558
โดยขณะนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง 9 ปี สำหรับปี 2566 นี้ ได้ทำการคัดเลือกกลุ่ม ESG100 จากฐานข้อมูล 888 หลักทรัพย์จดทะเบียน โดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับESG ตามที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เผยแพร่ไว้ต่อสาธารณะ ปรากฏว่า
'บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)' เป็นหนึ่งในหุ้น ESG100 ประจำปี 2566 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 (2565-2566) และเป็น 1 ใน 8 บริษัทกลุ่มธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคที่ได้รับการคัดเลือก จากกลุ่มพลังงานฯ ทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์ฯ 67 บริษัท เนื่องจากดำเนินงานด้าน ESG อย่างต่อเนื่อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ปรากฏการณ์ ‘เอลนีโญ’ อาจทำ ‘ศก.ไทย’ ร้อนระอุ
'ไฮโดรเจน' พลังงานสะอาดทางเลือกใหม่ เร่งไทยสู่เป้าหมาย Net Zero
“พลังงานสะอาด”จังหวะเคลื่อน คนสร้างเมือง - เมืองสร้างความยั่งยืน
แผนการดำเนินงาน 5 ปี ตามแนวคิด ESG
ทั้งนี้ มีการศึกษาเพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบใบรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) สำหรับใช้เป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าที่ 7 การเข้าถึงพลังงานสะอาด (SDG 7: Affordable and Clean Energy)
โดยนำแนวคิดเรื่อง ESG มาพัฒนาเป็นแผนการดำเนินงาน 5 ปี สู่ความยั่งยืน (2565-2569)
- มิติสิ่งแวดล้อม C – ไฟฟ้าสะอาด (Clean Electricity) ผ่านการดำเนินธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการรักษาสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ ขณะที่คงศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีเสถียรภาพ
- มิติสังคม K – เพื่อนบ้านที่ดี (Kind Neighbor) ด้วยการทำงานอย่างมีสำนึกรับผิดชอบ สร้างคุณค่าให้กับชุมชน สังคม เคารพต่อสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากลตลอดห่วงโซ่ธุรกิจและ
- มิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ P – พันธมิตรที่ยั่งยืน (Partnership for Life) มุ่งเสริมศักยภาพให้พร้อมรับมือกับความท้าทายและสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ผ่านการลงทุนในโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน พร้อมทั้งนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
ตั้งเป้าปี 2567 เพิ่มกำลังการผลิตไฟจากพลังงานสะอาด 95%
ภายในปี 2567 จะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็น 4,800 เมกะวัตต์ โดย 95% จะผลิตจากพลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นพลังงานสะอาดเพิ่มเติมจากปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 3,627 เมกะวัตต์ โดย 93% ของกำลังการผลิตมาจากพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และพลังงานลม
ทั้งนี้ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดต้องดำเนินการควบคู่กับการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในชุมชนและสังคม