เทคโนโลยีเปลี่ยน“ขยะ”เป็นวัตถุดิบใหม่ สกัดกากอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน

เทคโนโลยีเปลี่ยน“ขยะ”เป็นวัตถุดิบใหม่  สกัดกากอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน

ปี 2565 ภาพรวมขยะประมาณ 37 ล้านตัน ในจำนวนนี้มีขยะ 3 ล้านตันเป็นขยะอันตรายนำไปสู่การ"ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัย และพัฒนาการผลักดันเพิ่มมูลค่า กากอุตสาหกรรมให้เป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่"

 ระหว่าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) ,สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเปลี่ยนขยะอันตรายเป็นวัตถุดิบใหม่ด้วยกระบวนการรีไซเคิลจะสามารถลดขยะและช่วยโลกได้อีก

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสอท. กล่าวว่า ไทยมีความจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน เนื่องจาก1.ความพร้อมเข้าสู่โมเดล  New S-curve  หรือ เป็นรูปแบบการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี 2.เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ อัตราเด็กเกิดใหม่ลดลง สวนทางกับจำนวนผู้เสียชีวิตทำให้ภายในปี 2075 จากประชากรประมาณ 75 ล้านคนจะเหลือ 33 ล้านคน 

3.กติกาการค้าใหม่ที่สอดคล้องกับ ESG :   Environment, Social, และ Governance คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแล หรือ BCG: เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy)

อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมผู้ก่อกำเนิดของเสีย (waste generator) อุตสาหกรรมรับขนส่งของเสีย (waste transporter) และอุตสาหกรรมผู้รับบำบัด กำจัดของเสีย (waste processor) จึงต้องนำแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ ผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนของเสีย หรือ Circular Material Hub (CMH) สำหรับเป็นช่องทางการนำของเสียหรือวัสดุไม่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงานผ่านสตาร์ทอัพ (Startup) โดยอาศัยแนวคิดการเปลี่ยนของเสียจากอุตสาหกรรมหนึ่ง ไปสู่การเป็นวัตถุดิบหรือ Materials ให้อีกอุตสาหกรรมหนึ่ง สอดคล้องกับหลักการ End of Waste

          “ดังนั้น อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้องเน้นเปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง แก้ปัญหาไม่เป็นภาระ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีว่าด้วยการนำของเสียกลับมาเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าใหม่ ซึ่งต้องมี เทคโนโลยี มาตราฐานใบรับรองที่จะเป็นแต้มต่อ ชักจูงให้ทุกคนสามารถทำตามได้”

การผลักดัน End of waste ของประเทศไทยได้ทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิด 1. การนำกากของเสียอุตสาหกรรมไปเพิ่มมูลค่า 2.การร่วมวิจัยและพัฒนาการเพิ่มมูลค่า กากของเสียอุตสาหกรรมเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำและยั่งยืน 3.ร่วมพัฒนา และปฏิรูปมาตรฐาน และนำเสนอให้มีการปรับปรุง กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์

ภาคเอกชนที่ต้องอยู่ภายใต้กฎข้อบังคับของราชการซึ่งจะมีส่วนสนับสนุนความต้องการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จได้ 

จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ของเสียด้านอุตสาหกรรม ใช้ระบบอนุญาตต้องมีการกำกับดูแล และมีภาระ ซึ่งมีบางกลุ่มที่มีศักยภาพสูงแต่บางกลุ่มเป็นไปในทางตรงกันข้าม แต่ต้องผลักดันให้การรีไซเคิลเกิดขึ้น ซึ่งมีแนวความคิดให้ปลดล็อกให้หมด ไม่ต้องขออนุญาตมากเหมือนแต่ก่อน ซึ่งงานวิจัยต่างดๆจะช่วยสนับสนุนได้ เช่น การจดทะเบียนเครื่องจักรเพื่อให้อยู่ในตลาดได้ เป็นที่ยอมรับและสามารถยกระดับภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศได้อีกด้วย

   ท่ามกลางความพยายามและความตั้งใจที่มีอยู่จะสามารถเปลี่ยนไปสู่การปฎิบัติจริงได้ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายด้านขณะเดียวกันการลงมือปฎฺิบัติอาจสร้างเศรษฐกิจใหม่ขึ้นอีกได้ด้วยเช่นกัน 

จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กล่าวว่า ต้องสร้างความเข้าใจแล้วค่อยๆเปลี่ยนในเชิงจิตวิทยา ลดคำว่าของเสียในบริบทนี้ มีการศึกษาวิจัยว่าของเหลือทิ้ง มีโอกาสในการมาทำเป็นวัสดุอื่นๆได้หรือไม่ ตรวจสอบความเป็นไปได้ สามารถเกิดเศรษฐกิจใหม่ได้อีกแบบ จากโครงการนำร่อง ต้องสร้างความเชื่อมโยงคนให้เกิดกระบวนการที่ทำให้เกิดประโยชน์ได้ สร้างให้เกิดกิจการการลงทุนต่อ การสร้างคน และขับเคลื่อนต่อจนสามารถต่อยอดได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต

    นานมาแล้ว ที่ภาคอุตสาหกรรมสร้างขยะไว้ แต่หากเปลี่ยนมุมมองใหม่ ไม่เห็นว่าขยะเป็นของต้องทิ้งแต่มองว่าเป็นทุนที่ต้องมีการจัดการ ไม่เพียงการแก้ปัญหาขยะได้ แต่ในทางธุรกิจก็ได้เกิดทุนใหม่ ที่อาจเป็นผลกำไรที่ดีงานในอนาคต ซึ่งไม่รวมถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ทุกคนในสังคมจะได้อานิสงค์ด้วย เทคโนโลยีเปลี่ยน“ขยะ”เป็นวัตถุดิบใหม่  สกัดกากอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน