โลกร้อนขึ้น 1.5 องศา ฉุดจีดีพี 2.9% พลังงาน-อาหาร-เกษตรเสี่ยงสูงสูญเสีย

โลกร้อนขึ้น 1.5 องศา ฉุดจีดีพี 2.9% พลังงาน-อาหาร-เกษตรเสี่ยงสูงสูญเสีย

อุณภูมิโลกที่สูงขึ้น 1.5-2 ํc อาจไม่ได้สร้างความรู้สึกร้อนขึ้น หรือ หนาวน้อยลงสำหรับบุคคลทั่วไป แต่ในแง่วัฎจักรตามธรรมชาติอุณหภูมิทุกองศาสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่น่าเชื่อ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)

 เปิดเผยรายงาน"ภัยพิบัติเอเชียแฟซิฟิก 2566” หรือ “Asia-Pacific Disaster Report 2023” 

สาระสำคัญส่วนหนึ่งชี้ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันที หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 ํ c และ 2 ํc องศา คือความเสี่ยงจากภัยพิบัติจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change จะเกิดขึ้นมากและรุนแรงขึ้น

“ ปี 2565 เพียงปีเดียว เกิดภัยพิบัติกว่า 140 ครั้งในภูมิภาคนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 7,500 ราย ส่งผลกระทบต่อผู้คนกว่า 64 ล้านคน และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์”

ในรายงานได้แบ่งข้อมูลออกเป็นบทต่างๆ ซึ่งในส่วนของบทที่2 ที่ว่าด้วย “ค่าเสียหายหากไม่ดำเนินการใดๆ” (The Cost of Inaction) สาระโดยสรุปชี้ว่า  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้คุกคามต่อความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ซึ่งจะกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งความล้มเหลวเพื่อรับมือกับปัญหาทำให้สิ่งแวดล้อมเลวร้ายลงรวมถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ 

ภัยพิบัติจากสภาพอากาศเป็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่ยากจะเอาชนะได้ และอาจทำให้มูลค่าจีดีพีโลกหายไปถึง 18% ในปี 2048 หรือ อีกราว 25 ปีจากนี้ หากไม่ทำอะไรเลย ซึ่งมากกว่าสิ่งที่โควิด-19ฝากไว้ นอกจากนี้ ความเสียหายที่ว่าซึ่งครอบคลุมเศรษฐกิจ การลงทุนและการบริโภค จะสร้างความเสียหายอย่างยาวนานขึ้น 

"ความสูญเสียจะเฉลี่ยในรูปแบบต่างๆทั้งความแห้งแล้ง อุทกภัย คลื่นความร้อน พายุโซนร้อน สึนามิ และแผ่นดินไหว ทั้งหมดนี้สามารถคำนวนเป็นมูลค่าได้ราว  9.24 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 2.9%ของจีดีพีแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กรณีที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.5ํC  และความสูญเสียจะเพิ่มไปได้อีกราว 9.53แสนดอลลาร์ หรือ 3% ของจีดีพี หากอุณภูมิโลกสูงขึ้น 2ํC และมีโอกาสแตะไปถึงระดับ 

9.8 แสนล้านดอลลาร์ - 1 ล้านล้านดอลลาร์  หรือ เลวร้ายสุดคือ  ฉุดจีดีพี 3.1% 

รายงานยังระบุอีกว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลคุกคามต่อความมั่นคงด้านอาหารอย่างมีนัยสำคัญ เพราะผลกระทบต่อภาคเกษตรและทำให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งถ่างออกไปอีก ท่ามกลางสัดส่วนรายได้ของคนยากจนที่จะลดลงไป จากข้อมูลชี้ว่าเอเชียยังมีครัวเรือนถึง 67%ที่เผชิญความหิวโหย หรือ ราว 552 ล้านคน 

“การเกษตรรวมถึง การประมง ปศุสัตว์ และยังข้ามไปสู่ภาคเศรษฐกิจอื่นๆของระบบการทำการเกษตร ตั้งแต่ข้าวและข้าวสาลี ซึ่งภูมิภาคนี้เป็นแหล่งผลิต และเผชิญอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นจะทำให้ความมั่่นคงด้านน้ำลดลง ผลผลิตต่อไร่ลดลง และราคาอาหารจะสูงขึ้นในที่สุด " 

รายงาน ระบุถึงผลกระทบด้าน“พลังงาน” ซึ่งสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงมีผลต่อปริมาณน้ำ ทั้งแบบที่“น้อยลงมาก”และ“มากเกินไป” ทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน  (Thermal power plants) ซึ่งใช้น้ำหล่อเย็นต้องเผชิญความเสี่ยงต่างๆที่เขื่อนเกือบทุกแห่งกังวลอยู่

“ข้อมูลอ้างอิงจากIEA [ องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency] ระบุว่าหากอุณภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 ํcประสิทธิภาพพลังงานน้ำในเอเชียและแปซิฟิกจะลดลง3.9% แต่หากอุณภูมิเพิ่มขึ้น 2ํ Cประสิทธิภาพจะลดลง 5%

โลกร้อนขึ้น 1.5 องศา ฉุดจีดีพี 2.9% พลังงาน-อาหาร-เกษตรเสี่ยงสูงสูญเสีย

พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า  ในประเทศไทยนั้นมีสิ่งที่น่ากังวลอยู่พอสมควรอย่าง น้ำท่วมจะมากขึ้น หรือ พื้นที่ที่ฝนไม่ตกก็จะยิ่งแล้งมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพมากแหล่งหนึ่งของโลก หากเกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในพืชและสัตว์ ทั้งทางบกและทางทะเลก็มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นที่จะเผชิญภัยธรรมชาติ

       “ต้องร่วมมือกันทุกประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ตามที่ทุกประเทศได้ประกาศไว้ถือเป็นทางรอดทางเดียวที่จะบรรเทาให้เบาบางลงได้”

ในส่วนเอเชียแปซิฟิกจะได้รับผลกระทบมากกว่าภูมิภาคอื่นรวมถึงอาเซียน โดยคาดว่าประชากรในเมืองจะได้รับผลกระทบจาก เกราะความร้อนรุนแรงมากขึ้นและมีวันที่อากาศร้อน30 วันต่อปี อย่างในเมืองใหญ่ เช่น โตเกียว กรุงเทพ คนที่มีความพร้อมน้อยจะได้รับผลกระทบมากสุด

จากข้อมูลรายงานและความเห็นของผู้เชี่ยวชาญกำลังชี้ว่า ทฤษฎี“ผีเสื้อขยับปีก” เหมือนปัญหาอุณภูมิโลกสูงขึ้น เพราะผลกระทบที่รุนแรง บานปลาย และยาวนาน กำลังตั้งคำถามกับทุกคนในโลกว่า “จะไม่ทำอะไรเลยหรือเพื่อสกัดไม่ให้โลกเราร้อนขึ้น”