คนใช้ทิชชูเพิ่มขึ้นทุกปี! คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ชูตรา CE CFP ทำสินค้าดีต่อโลก

คนใช้ทิชชูเพิ่มขึ้นทุกปี! คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ชูตรา CE CFP ทำสินค้าดีต่อโลก

ปี 2023 ความต้องการกระดาษทิชชูทั่วโลกมีจำนวนประมาณ 44 ล้านตัน ตลาดกระดาษทิชชูทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ไทยทำเครื่องหมาย CE CFP แสดงถึงความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

KEY

POINTS

  • ปี 2023 ความต้องการกระดาษทิชชู่ทั่วโลกมีจำนวนประมาณ 44 ล้านตัน
  • ตลาดกระดาษทิชชู่ทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ
  • CE

ระหว่างปี 2021 ถึง 2023 การบริโภคกระดาษทิชชู (กระดาษชำระ) ทั่วโลกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับแรงผลักดันจากการตระหนักถึงสุขอนามัยและความสะอาดที่เพิ่มขึ้น ในปี 2023 ความต้องการกระดาษทิชชูทั่วโลกมีจำนวนประมาณ 44 ล้านตัน ซึ่งหมายถึงการใช้กระดาษทิชชูหลายพันล้านแผ่นต่อวัน สะท้อนถึงบทบาทสำคัญในการใช้งานทั้งในครัวเรือนและเชิงพาณิชย์ ในอนาคต ตลาดกระดาษทิชชูทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยปริมาณการบริโภคคาดว่าจะถึง 55 ล้านตันภายในปี 2032

สำหรับในประเทศไทย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ได้จัดทำสัญลักษณ์ Carbon Footprint of Product แบบ Circular Economy (CE CFP) เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตและการบริโภคสินค้า โดย Kimberly-Clark Professional แผนกธุรกิจสถาบันภายใต้ บริษัท คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ประเทศไทย ได้สร้างความสำเร็จครั้งสำคัญในอุตสาหกรรม ด้วยการเป็นบริษัทแรกในกลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษทิชชู่ที่ได้รับการรับรองสำหรับสัญลักษณ์นี้

การรับรอง CE CFP นี้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาและนวัตกรรมของ คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค โดยมุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรักษามาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยการรับรองครั้งนี้ได้รับการประกาศในงานสัมมนา “Green Life Cycle: Insight Better Care for A Better World” ซึ่งเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความท้าทายและทางออกด้านสิ่งแวดล้อม ระหว่างผู้แทนจากภาครัฐและภาคธุรกิจ เมื่อไม่นานมานี้

ข้อกำหนดเครื่องหมาย CE CFP

ข้อกำหนดในการรับรองเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน แบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน ประเภทผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยวัสดุรีไซเคิล

  • ต้องมีวัสดุรีไซเคิลเป็นสัดส่วนในองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์โดยน้ำหนักไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (ไม่ปัดเศษทศนิยม) ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์ทั้งหมด (ในกรณีของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ให้คำนวณโดยไม่นับรวมบรรจุภัณฑ์)
  • วัสดุรีไซเคิลต้องเป็นวัสดุที่ผ่านการบริโภคแล้ว หรือวัสดุที่ยังไม่ผ่านการบริโภค ซึ่งไม่ได้มาจากโรงงานที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.) เดียวกัน

2. ผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน ประเภทที่เกิดจากการปรับสภาพ (Recondition), การปรับปรุงใหม่ (Refurbish), การผลิตใหม่ (Remanufacturing), การหมุนเวียนให้คุณค่าเพิ่ม (Upcycle) หรือการยกระดับ (Upgrade) ซึ่งได้ผ่านการรับรองให้เป็นผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียนจากหน่วยงานที่ อบก. ประกาศกำหนดว่าเป็นหน่วยงานที่มีมาตรฐานในการรับรองผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียนเหล่านั้น

ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

ปิยะพร ปฏิมาวิรุจน์ Sales Leader คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค โปรเฟสชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าในการตัดสินใจนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ในธุรกิจ ที่ปัจจุบันคำนึงถึงมากกว่าแค่ประสิทธิภาพ แต่ยังคำนึงถึงห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน บริษัทจึงมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน

ล่าสุดเราได้ผ่านเกณฑ์สัญลักษณ์ CE CFP แสดงถึงคำมั่นสัญญาในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งในกระบวนการผลิตและบริโภคสินค้า ด้วยความยั่งยืนที่กลายเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค ความคิดริเริ่มนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและเพิ่มยอดขายในอนาคต

“Kimberly-Clark เล็งเห็นว่า การผนวกความยั่งยืนเข้ากับธุรกิจสามารถสร้างความไว้วางใจและ customer loyalty ในหมู่ผู้บริโภคยุคใหม่ ที่กำลังมุ่งเน้นการเลือกซื้อสินค้าที่สะท้อนถึงคุณค่าความยั่งยืนได้ เราเชื่อมั่นว่าความสะอาดและความยั่งยืน สามารถทำให้เกิดขึ้น ไปพร้อมกันได้ จึงมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพียงแต่ตอบโจทย์ด้านสุขอนามัย แต่ยังต้องรับผิดชอบ ต่อสังคมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย

ซึ่งการได้รับการรับรองตราสัญลักษณ์ Carbon Footprint of Product แบบ Circular Economy (CE CFP) เป็นก้าวสำคัญที่ตอกย้ำความเป็นผู้นำนวัตกรรม ด้านสุขอนามัย ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมของเรา และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม”

คนใช้ทิชชูเพิ่มขึ้นทุกปี! คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ชูตรา CE CFP ทำสินค้าดีต่อโลก

Better Care for A Better World

ศสิพงศ์ บุญแต้ม Marketing Manager คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค โปรเฟสชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ‘Better Care for A Better World’ เป็นคำมั่นสัญญาที่เรายึดมั่นมาโดยตลอด

"เราไม่ได้แค่พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ แต่ยังให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เราเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่จำเป็น ไม่ใช่แค่เพื่อองค์กรหรือลูกค้าของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อโลกที่ยั่งยืน ในอนาคตอีกด้วย Better Care for a Better Worldสะท้อนถึงวัฒนธรรม จุดมุ่งหมาย และค่านิยมของ Kimberly-Clark โดยใส่ความเอาใจใส่เข้าไปในทุกสิ่งที่ทำ"

คนใช้ทิชชูเพิ่มขึ้นทุกปี! คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ชูตรา CE CFP ทำสินค้าดีต่อโลก

กรมโลกร้อนแนะลงทุนในเทคโนโลยีปกป้องโลก

เพชรดา อ้อชัยภูมิ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการผลิตและการบริโภคยั่งยืน กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม กล่าวบนเวทีสัมมนา “Green Life Cycle: Insight Better Care for A Better World” ว่า หากอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น ระบบต่างๆ ของโลกจะเผชิญกับแรงกดดันอย่างมาก ส่งผลให้เกิดความเสียหายและผลกระทบในวงกว้าง

"ดังนั้น สิ่งแรกที่เราต้องทำเมื่อเผชิญกับภาวะโลกร้อน คือการปรับตัวและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ความรับผิดชอบของเรา เริ่มต้นจากการลงทุนในวิธีการและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนเพื่อปกป้องโลกและส่งมอบอนาคตที่ดีให้กับคนรุ่นถัดไป ไม่ว่าจะเป็นการปรับกระบวนการผลิตหรือการนำเทคโนโลยีที่ยั่งยืนมาใช้

การสร้าง DNA สีเขียว ในองค์กรเป็นสิ่งจำเป็น และควรมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม"

สิ่งสำคัญที่สุดคือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้พลังงานและน้ำ รวมถึงส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด โดยทุกองค์กรควรดำเนินการเหล่านี้ควบคู่ไปกับการลดของเสียและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การเปลี่ยนผ่านไปสู่กระบวนการที่ยั่งยืนไม่ใช่สิ่งที่ทำได้คนเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน

คนใช้ทิชชูเพิ่มขึ้นทุกปี! คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ชูตรา CE CFP ทำสินค้าดีต่อโลก

ภาคธุรกิจเตรียมรับ พ.ร.บ. Climate Change

ดร.กิตติศักดิ์ พฤกษ์กานนท์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม เน้นย้ำว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่เพียงเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย แต่ยังเป็นโอกาส ให้ธุรกิจพัฒนาและแข่งขันได้ในยุคที่ตลาดให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม

“ภาครัฐและภาคเอกชนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อปกป้องและป้องกันประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ซึ่งถือเป็นภาพรวมของการทำงานที่สัมพันธ์กับกฎหมายในระดับโลก เรามีการเริ่มต้นดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี 2005 โดยได้มีการประเมินผลกระทบและพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ"

อย่างไรก็ตาม ประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นต้นเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรมาก จึงได้เริ่มมีการบังคับใช้แนวทาง เช่น การใช้คาร์บอนเครดิต ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 10 ปี การดำเนินงานยังไม่ทันต่อสถานการณ์ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ และความลำบากต่อการดำรงชีวิตของประชากรในอนาคต

ทุกประเทศจึงต้องร่วมมือกันในการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อเป้าหมายที่ยั่งยืน สำหรับประเทศไทยเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2035 คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 30-40% ซึ่งตัวเลขที่ต้องลดในระยะเวลานี้ได้ถูกรวบรวมและจะถูกนำเสนอภายในปีนี้

สิ่งที่ทำให้เป้าหมายนี้แตกต่างคือการเปลี่ยนจากนโยบายที่อนุญาตให้มีการชดเชยเป็นการบรรลุเป้าหมาย "Net Zero" ซึ่งหมายถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีการชดเชย ตัวอย่างเช่น หากโรงงานผลิตก๊าซเรือนกระจก 20 กรัม แต่มีการลดลงมาเหลือ 10 กรัม โดยใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทน เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือลม แผนเหล่านี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปกป้องสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน