'ดิทโต้' ดูแลป่าชายเลน 1 แสนไร่ หนุนชุมชน สร้างระบบนิเวศยั่งยืน

'ดิทโต้' ดูแลป่าชายเลน 1 แสนไร่ หนุนชุมชน สร้างระบบนิเวศยั่งยืน

ดิทโต้ เดินหน้าโครงการป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ดูแลพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มอีกจำนวน 62,781.72 ไร่ จากเดิม 48,166.75 ไร่ รวมพื้นที่ปลูกป่าชายเลน 110,948.47 ไร่ บรรลุตามเป้าหมายตามที่ตั้งไว้

Key Point : 

  • ประเทศไทย มีพื้นที่ป่าชายเลน 2.86 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่าชายเลยสมบูรณ์ราว 1.73 ล้านไร่ โดย ป่าชายเลนสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 9.4 ตันต่อไร่ต่อปี
  • เมื่อปี 2565 กรม ทช. ได้จัดทำ 'โครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต' ระยะเวลา 10 ปี เนื้อที่ 300,000 ไร่ แบ่งปันคาร์บอนเครดิต ให้บุคคลภายนอกและชุมชน
  • ล่าสุด ดิทโต้ หนึ่งในบริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ เดินหน้าดูแลพื้นที่ป่าชายเลนปลูกใหม่และร่วมกับชุมชน บรรลุตามเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ 1 แสนไร่

 

 

จากเป้าหมายของไทยในการเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050 และ Net zero ในปี ค.ศ. 2065 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้จัดทำ 'โครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต' ระยะเวลา 10 ปี เนื้อที่ 300,000 ไร่ พร้อมแบ่งปันคาร์บอนเครดิตที่ได้ให้แก่บุคคลภายนอกและชุมชนเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน และท้องถิ่น

 

'ป่าชายเลน' เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ รวมถึงเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญที่ช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก 'โครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต' มีระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2565 – 2574 เนื้อที่ 300,000 ไร่ และมีการออกระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการปลูกและบำรุงป่าชายเลน สำหรับบุคคลภายนอกและชุมชน ปี พ.ศ. 2565 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่น/ชุมชน ในการยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจก

 

\'ดิทโต้\' ดูแลป่าชายเลน 1 แสนไร่ หนุนชุมชน สร้างระบบนิเวศยั่งยืน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

อีกทั้ง ยังได้ดำเนิน 'โครงการป่าชายเลนสำหรับชุมชน' ซึ่งขณะนี้มีชุมชนที่ขึ้นทะเบียนป่าชายเลนสำหรับชุมชนแล้ว จำนวน 58 ชุมชน เนื้อที่ 94,031.23 ไร่ มีองค์กรผู้ร่วมพัฒนาที่เข้าร่วม 'โครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต สำหรับบุคคลภายนอก' แล้ว จำนวน 14 องค์กร เนื้อที่ 41,031.04 ไร่ และสำหรับโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต สำหรับชุมชน ได้อนุมัติให้ชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ ร่วมกับบริษัทแล้ว จำนวน 54 ชุมชน รวมเนื้อที่ 90,629.41 ไร่

 

ป่าสมบูรณ์ ชุมชนยั่งยืน

 

สำหรับ จ.กระบี่ ปัจจุบันมีป่าชุมชน 24 แห่ง พื้นที่ราว 30,000 ไร่ โดยอำเภอเกาะลันตา เป็น 1 ใน 8 อำเภอของ จ.กระบี่ มีจำนวน 53 เกาะ ถูกเรียกว่า 'หมู่เกาะแห่งความสุข' เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน ป่าโกงกาง และหญ้าทะเล หนึ่งในตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงการร่วมกันดูแลพื้นที่ป่าของชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์ คือ ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา ซึ่งมีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน พื้นที่ป่าชุมชนมากกว่า 3,000 ไร่ ขึ้นทะเบียนป่าชุมชนแล้ว 5 หมู่บ้าน และอีก 2 หมู่บ้านอยู่ระหว่างการพูดคุยกันในชุมชน

 

\'ดิทโต้\' ดูแลป่าชายเลน 1 แสนไร่ หนุนชุมชน สร้างระบบนิเวศยั่งยืน

 

นพรัตน์ ศรีพรหม นายอำเภอเกาะลันตา เผยว่า เป้าหมาย 2-3 ปีข้างหน้า ต.คลองยาง จะเป็นตำบลที่ทำเรื่องของคาร์บอนเครดิตทั้งตำบล และเป็นตำบลที่สร้างคุณประโยชน์และความยั่งยืนให้แก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และขยายไปสู่ตำบลอื่นๆ ในเกาะลันตาต่อไป การที่ได้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ผลที่ได้ คือ ทำให้ชาวบ้านในชุมชน ได้หันมาอนุรักษ์ ร่วมกันฟื้นฟูกับภาครัฐ ประโยชน์ที่จะได้ต่อไป คือ อำเภอของเราเป็นอำเภอท่องเที่ยว ก้าวต่อไปเมื่อมีการพัฒนากระบวนการคาร์บอนเครดิต ฟื้นฟูทรัพยากร ชาวบ้านมีส่วนร่วม และเกิดความหวงแหน เพราะไม่มีใครรู้ประโยชน์จากป่าชายเลนมากไปกว่าคนในชุมชน นำไปสู่แหล่งท่องเที่ยวและพัฒนาสู่ความภาคภูมิใจของคนในชุมชน เป็นเรื่องของภาครัฐ ประชาชน เห็นพ้องในการขับเคลื่อนไปในทิศทางที่เหมาะสม

 

ดิทโต้ ร่วมดูแลป่าชุมชน

 

สำหรับ บริษัท สยาม ทีซี เทคโนโลยี จำกัด ภายใต้ บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ดิทโต้ นับเป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับสิทธิ์ปลูกและดูแลรักษาป่าชายเลนเพื่อประโยชน์คาร์บอนเครดิต ระยะเวลา 30 ปี ที่ผ่านมา ดิทโต้มีพื้นที่ปลูกป่าชายแลนทั้งในส่วนของทางบริษัทได้รับสิทธิ์โดยตรงและร่วมกับชุมชน รวมทั้งสิ้น 48,166.75 ไร่ โดยในส่วนที่ได้รับสิทธิ์ในนามสยามทีซีเทคโนโลยี นั้นเป็นป่าชายเลนที่ต้องปลูกใหม่จำนวน 21,658.19 ไร่ และได้รับสิทธิ์ดูแลป่าชายเลนซึ่งมีสภาพป่าอยู่แล้วร่วมกับชุมชน อีก14 ชุมชนในจังหวัดกระบี่และจังหวัดพังงา จำนวน 26,508.56 ไร่

 

ล่าสุด ได้รับสิทธิ์ดูแลพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มอีกจำนวน 62,781.72 ไร่ จาก 39 ชุมชนในพื้นที่ 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัด นครศรีธรรมราช สตูล ตรัง กระบี่ พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร ดังนั้น ทำให้ดิทโต้ได้รับสิทธิ์ดูแลพื้นที่ป่าชายแลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต รวมทั้งสิ้น 110,948.47 ไร่ บรรลุตามเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ 1 แสนไร่

 

\'ดิทโต้\' ดูแลป่าชายเลน 1 แสนไร่ หนุนชุมชน สร้างระบบนิเวศยั่งยืน

 

ฐกร รัตนกมลพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DITTO เปิดเผยว่า สำหรับในการเข้าร่วมโครงการของชุมชนนั้น ดิทโต้ ได้ให้การสนับสนุนในด้านงบประมาณและเทคโนโลยีในการบริหารจัดการและดูแลรักษาป่าเพื่อให้ป่ามีความสมบูรณ์ และยังจะให้การสนับสนุนชุมชนในด้านอื่นๆ อีกทั้ง ได้มอบทุนให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการรุ่นแรก 14 ชุมชน ชุมชนละ 2 แสนบาท รวมเป็นเงิน 2.8 ล้านบาท และมอบทุนให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการใหม่ เนื่องในวันสากลเพื่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าชายเลน 26 กรกฎาคม ของทุกปี อีก 39 ชุมชน ชุมชนละ 2 แสนบาท รวมเป็นเงิน 7.8 ล้านบาท รวมเงินสนับสนุนให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 53 ชุมชนเป็นเงินกว่า 10 ล้านบาท เพื่อให้ชุมชนนำไปใช้ในกิจกรรมดูแลรักษาป่าต่อไป

 

สร้างระบบนิเวศ สร้างรายได้

 

ประนอม หวังเสล่ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 บ้านโคกยูง ต.คลองยาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ เล่าว่า พื้นที่หมู่ 3 มีจำนวน 289 ครัวเรือน ประชากรมากกว่า 1,400 คน ส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกร ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน รองลงมา คือ ประมง และรับจ้างทั่วไป โดยในชุมชน มีทั้งพื้นที่ป่าชายเลน และป่าที่เป็นแหล่งใช้สอย ซึ่งแต่เดิมชาวบ้านช่วยดูแลป่าชายเลน ปลูกกันเอง รักษากันเอง เพื่อให้สิ่งแวดล้อมยังสมบูรณ์ด้วยจิตอาสา

 

“ในพื้นที่ป่าซึ่งเป็นแหล่งใช้สอย ส่วนใหญ่ปลูกต้นแสมแดง หากชุมชนจะตัดต้นไม้ 1 ต้น ต้องปลูกทดแทนอย่างน้อย 1 ต้น และต้องขออนุญาตจากผู้นำชุมชนก่อน เพื่อออกหนังสืออนุญาตให้ตัด โดยจะมีพิจารณาว่าตัดไปทำประโยชน์อะไร และห้ามนำไม้ออกนอกพื้นที่ ต้องใช้ในพื้นที่ชุมชนเท่านั้น โดยสามารถตัดได้ครั้งละไม่เกิน 50 ต้น ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง ทั้งนี้ หลังจากมีหน่วยงานเอกชนเข้ามาสนับสนุน ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ช่วยให้ได้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น มีงบประมาณคืนให้ชุมชน ผลัดเปลี่ยนกันมาดูแลทุกครัวเรือน”

 

\'ดิทโต้\' ดูแลป่าชายเลน 1 แสนไร่ หนุนชุมชน สร้างระบบนิเวศยั่งยืน

 

อภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (รรท.อทช.) กล่าวว่า ชุมชนมีแรงกาย แรงใจในการปลูก ฟื้นฟูป่า แต่สิ่งที่ขาด คือ งบประมาณ การปลูกป่าต้องใช้งบประมาณ ไม่ว่าจะการเตรียมพื้นที่ ค่ากล้าไม้ บำรุงรักษา ดังนั้น กรม ทช. เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมการสนับสนุน โดยให้ทางบริษัทเข้ามาคุยกับชุมชนเอง ทำสัญญาขึ้นทะเบียนร่วมกัน โดยสัดส่วนแบ่งปันคาร์บอนเครดิต คือ ภาครัฐ 10% และ ผู้เข้าร่วมโครงการ 90% อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่มีสิทธิในพื้นที่ ชุมชนสามารถดำเนินชีวิต ทำมาหากินได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องช่วยดูแลพื้นที่ให้สมบูรณ์ ไม่ทำลายป่า ระบบนิเวศต้องคืนมาสู่ป่าชุมชน