เอกชนจี้ภาครัฐฯ สร้างเบสไลน์สินค้าเกษตรรับมือข้อกีดกันภาษีคาร์บอน
เอกชน เร่งภาครัฐสร้างเบสไลน์คาร์บอนสินค้าเก็บตั้งรับข้อกีดกันด้านภาษี ขณะกรมวิชาการเกษตร ตั้งกองพืชเศรษฐกิจใหม่และการบริหารก๊าซเรือนกระจก ปรับปรุงพันธุ์ รับรองผลักดันขายคาร์บอนเครดิต
นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ในการเสวนา “ความมั่นคงทางอาหารภายใต้ปรากฎการณ์ E Nino และโอกาสการค้าตลาดคาร์บอนเครดิต ในการผลิตพืชของไทย” ว่า เอลนีโญ (E Nino) ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้ มี 3 เรื่องที่น่าห่วง คือ
1. น้ำมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งในปีนี้จะรุนแรงกว่าทุกครั้งและยาวนานกว่า 3 ปี เมื่อกรมชลประทานประกาศงดทำนาปรัง รายได้ของเกษตรกรก็จะลดลง ต่อเนื่อง
ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐต้องเตรียมการการแก้ไข นอกจากจะแก้โจทย์ว่าน้ำมีไม่เพียงพอกับความต้องการแล้ว ต้องหารือกันถึงว่าจะลดการใช้น้ำด้วย ทั้งนี้เพราะกรมอุตุนิยมวิทยา ได้วิจัยแล้วพบว่าหากลดการใช้น้ำลง 10 % ในทุกกิจกรรม จะทำให้น้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันใช้ได้ยาวนานขึ้นอีกหลายปี แต่เมื่อเอลนีโญ เข้ามาแล้ว มาตรการระยะสั้นจะต้องดูอุปสงค์ของการใช้น้ำบริหารจัดการให้เข้มงวดที่สุด ส่วนระยะยาวต้องพิจารณานำน้ำมาใช้ทั้งน้ำผิวดิน และใต้ดิน
2. ระดับราคาสินค้าจะสูงขึ้น ซึ่งดีกับเกษตรกร แต่กลุ่มที่ยากจนจะลำบากในการเข้าถึงสินค้า ต้นทุนสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมจะสูงขึ้น ปัจจัยการผลิตแพง และเกิดปัญหาทะเลาะเบาแว้งในพื้นที่ และ 3. เรื่องผลกระทบระยะยาวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การฟอกขาวปะการัง ไฟไหม้ป่า PM 2.5 ที่จะเกี่ยวพันกับประเทศเพื่อนบ้านและรุกลามเป็นปัญหาการเมืองต่อไป
ภาคการเกษตรที่ถูกเพ่งเล็งเป็นทั้งตัวการที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และตัวเก็บคาร์บอนเครดิต การปรับกิจกรรมการเกษตรให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง เป็นสิ่งที่พึงกระทำ ซึ่งต้องเริ่มต้นตั้งแต่การปรับปรุงพันธุ์ การบริหารจัดการฟาร์ม รวมไปถึงการดูแลหลังการเก็บเกี่ยว ในส่วนของพันธุ์นั้นต้องเริ่มวิจัยหาพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป ซึ่งงบประมาณทางด้านวิจัยมีจำกัด แต่ต่อให้ทุ่มเงินมากเท่าไรก็จะไม่เพียงพอจึงต้องใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ดังนั้นการวิจัยต่อไปหลังจากนี้ควรตั้งเป้าหมาย ตั้งโจทย์ให้ชัดเจน
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า วิกฤติอากาศ ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบทั้งมีน้ำน้อยและน้ำมาก แต่ตอนนี้ ที่กังวลคือภัยแล้ง ซึ่งจากสถิติ 30 ปี ประเทศที่สามารถฝ่าภัยแล้งไปได้ จะใช้มาตรการลดการใช้น้ำ นำน้ำมาใช้ซ้ำ ซึ่งไทยต้องเรียนรู้เทคโนโลยีเหล่านั้น ส่วนภาคการเกษตรต้องเริ่มลดการใช้น้ำ ข้าวตัวการสำคัญถึงเวลาแล้วต้องทำเปียกสลับแห้ง และหนทางที่ไทยไม่อยากกล่าวถึงคือการนำเทคโนโลยีตัดแปรพันธุกรรม หรือจีเอ็มโอมาใช้
สำหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ผลกระทบจากภัยแล้งอยากให้มองไปถึงข้าวโพด ที่ไทยผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ 8 ล้านตันต่อปี ไทยผลิตได้ 5 ล้านตันต่อปี ที่เหลือ 3 ล้านตันต้องนำเข้า จึงอยากให้ภาครัฐสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังนาให้มากขึ้นเพราะเป็นพืชใช้น้ำน้อยเมื่อเทียบกับการทำนาปรัง ซึ่งปัจจุบันได้ผลผลิตข้าวโพดหลังนาเพียง 1 ล้านตันเท่านั้น นอกจากนี้สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ยังเป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าข้าวสาลี และราคายังสูงขึ้น
“นโยบายรัฐไทย ไม่เอื้อต่อการทำปศุสัตว์ต่อเนื่อง จากวัตถุดิบตลอดห่วงโซ่ยังมีอุปสรรคต่อการนำเข้าและการผลิตในประเทศ รวมทั้งปัจจุบันยังมีโจทย์ใหม่คือการปล่อยคาร์บอน ที่รัฐบาลต้องสร้างฐานข้อมูลขั้นต้น หรือเบสไลน์( baseline )ของแต่ละสินค้า เพื่อนำมายืนยันว่าสินค้าที่ผลิตขึ้นมาได้สร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เท่าไร หากต่ำกว่ามาตรฐานก็ถือว่าผ่าน หากสูงไปก็ต้องหาคาร์บอนเครดิตมาทดแทน เช่น ไก่ 1 ชิ้นต้องแสดงคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ทั้งที่เป็นวัตุดิบอาหารสัตว์ กระบวนการเลี้ยงและกระบวนการแปรรูป
ในกรณีที่สินค้าของไทยไม่สามารถแสดงฉลากคาร์บอนได้ ก็ส่งออกในประเทศที่เข้มงวดไม่ได้ เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ที่ได้เริ่มนำมาใช้แล้ว กลายเป็น เงื่อนไขด้านภาษีที่ไทยต้องเร่งแก้เร่งปรับตัวให้เร็วที่สุดทั้ง เช่นเดียวกับภาคเอกชนที่ต้องร่วมมือกันระดมเงินเพื่อลงทุนศึกษาวิจัย เพราะทั้งหมดคือธุรกิจ คือนาคตที่จะช้าไม่ได้การรอหน่วยงานภาครัฐนั้นจะไม่ทันต่อเหตุการณ์ โดยอาจจะเริ่มการเก็บข้อมูลใน 15 จังหวัดก่อน แล้วค่อยชยายนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน ทั้งพันธุ์ ดิน การใช้น้ำ การใช้ปุ๋ย การจัดการฟาร์ม เป็นต้น
นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ในขณะนี้กรมวิชาการเกษตรมีการวิจัยพัฒนาพนธุ์พืชใช้น้ำน้อย ทนแล้ง ทนน้ำท่วม ทนแมลงและทนต่อโรคระบาด มีเป้าหมายต้องลดการใช้น้ำลง 10 % จึงก็จะภาวะเอลนีโญ่ไปได้ ควบคู่ไปกับการบูรณาการกับกน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความรู้กับเกษตรกรไปด้วยซึ่งปัจจุบันได้แนะนำและส่งเสริมเกษตรกรไปบ้างแล้ว เช่นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ท่อนพันธุ์อ้อยโรงงาน ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล็มน้ำมัน เป็นต้น
นอกจากนี้ในยังจะลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU)กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย
ทั้งนี้งานวิจัยหลังจากนี้งบประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาท จะพัฒนาปรับปรุงพันธุ์โดยใช้ตลาดนำ เป้าหยเพื่อรับมือกับปัญหาโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่รุนแรง ลดการสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ สร้างคาร์บอนเครดิต ลดPM 2.5 เพื่อผลักดันภาคการเกษตรเข้าสู่ตลาดคาร์บอน โดยผลวิจัยต้องนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ ตั้งกองพืชเศรษฐกิจใหม่และการบริหารก๊าซเรือนกระจก เพื่อดำเนินการเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ
นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรMOU กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรืออบก. เนื่องจากรมวิชาการเกษตรต้องการองค์ความรู้ พัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีศักยภาพตรวจรับรองคาร์บอนได้ และมีเบสไลน์ ของคาร์บอนในแต่ละสินค้า ร่วมกับภาคเอกชน ทั้งข้าวโพด อ้อย ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มะม่วงเป็นต้น
ส่วนเบสไลน์คาร์บอนในสินค้านั้นได้เริ่มเก็บข้อมูลในส่วนสินค้าที่ผลิตได้จากสวนของกรมวิชาการเกษตรเองแล้วซึ่งสามารถควบคุมพันธุ์ ปัจจัยการผลิต และจะเร่งขยายทำเบสไลน์ในพื้นที่อื่นๆต่อไป
ร้อยตำรวจเอก ดร. นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ประเทศที่ส่งเสริมงานวิจัย ถ้ามุ่งมั่นก็จะผลักดันประเทศไปได้ ขับเคลื่อนประเทศไปได้ เช่นเอธิโอเปีย ที่ส่งออกดอกกุหลาบ ผักในยังตลาดสหภาพยุโรป ดังนั้นไทยควรศึกษาจากประเทศเหล่านี้แล้วนำมาต่อยอด รวมทั้งเร่งถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านคาร์บอนสู่เกษตรกรเพื่อขับเคลื่อนไปพร้อมๆกัน
นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) กล่าวว่า ความมั่นคงอาหาร เอลนีโญ เป็นความกังวลแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือปัญหาโลกเดือดที่จะทำให้เกิดท่วมและแล้งมากกว่าเดิมในอีก 1-2 ปีข้างหน้า การแก้ปัญหาโดยใช้ตำราเดิมๆ ไม่สามารถจะโจทย์ในอนาคตได้
การเตรียมรับมือปัญหาที่จะเกิดขึ้นจำเป็นต้องปรับแผนใหม่ทั้งหมด ในส่วนของการปลูกข้าว ต้องลืมการปลูกข้าวแบบเดิม และมองถึงความยั่งยืน ทั้งนี้เพราะภาคการเกษตรมีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะนาข้าวกว่า30 ล้านตันต่อปี การใช้ปุ๋ยเคมี มีส่วนในการปล่อยก๊าซเช่นกัน จึงถูกเพ่งเล็ง อีกทั้งยังมีการเผากากพืชการเกษตร สร้างPM 2.5 ภาคปศุสัตว์ยังพบว่าวัว 1 ตัว ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3 ตัน
เหล่านี้เริ่มเป็นกระแสกับกลุ่มรักษ์โลก บางกลุ่มหันมาบริโภคมังสาวิรัต เลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ ประเทศผู้นำเข้ากำหนดเงื่อนไขทางการค้า ให้การผลิตต้องมีส่วนช่วยกู้โลกได้ด้วย
ดังนั้น กรมวิชาการเกษตรต้องมองไปข้างหน้า การวิจัยและส่งเสริมต้องสอดรับกับมาตรฐานที่เกิดขึ้นมากมาย เป้าหมายคือสินค้าเกษตรต้องเป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศ คาร์บอนต่ำ จึงจะขายได้และยังมีประโยชน์ทางอ้อมคือการขายคาร์บอนเครดิต เพราะในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคพลังงานแม้จะลดคาร์บอนอย่างถึงที่สุดแล้ว แต่ยังไม่ผ่านมาตรฐาน จำเป็นต้องซื้อ
ซึ่งเหล่านี้เป็นโอกาสของไทย ปัจจุบันการสร้างคาร์บอนเครดิตของไทยที่ขึ้นทะเบียนมียอุ่เพียง 2 ล้านตันคาร์บอนต่อเดอืนเท่านั้น ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องกานที่มากถึง 16 ล้านตันคาร์บอน คาร์บอนเครดิตที่มีพาวเวอร์มากคือการดูดกลับ รองลงมา คือ ปล่อยคาร์บอนน้อย ดีมาก คือไม่ปล่อยเลย และดีสุดการเก็บคาร์บอน หรือการปลูกต้นไม้นั่นเอง ส่วนที่ต้องลงทุนมากที่สุดคือการสร้างเครื่องเก็บคาร์บอน ที่ซาอุขายพ่วงกับการขายน้ำมัน
นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันไม่ใช่วาระที่จะกล่าวถึงกลยุทธรับมือภาวะโลกร้อน แต่ต้องวางมาตรการทางรอด เพราะปัญหาคาร์บอนฟุตพริ้นท์เกี่ยวข้องกับทุกห่วงโซ่การผลิต และทุกภาคเอกชนต้องการคาร์บอนเครดิต ขณะที่ไทยยังไม่มีกฎหมายกำไนด ยังอยู่ในภาคสมัครใจ
ซึ่งไม่ทันกับสถานการณ์ทางการค้า ที่กดดันบังคับให้ทุกสินค้าต้องรายงานผลคาร์บอน และจะเป็นผลที่เข้มงวดมากขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า ที่น่ากังวลคือ CBAM คือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป กำหนดสินค้าส่งไปจะต้องมี คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ถ้าสูงไปจะถูกปรับคารบอนเครดิตกว่า3,000 บาทต่อตัน ทำให้สินค้าของไทยแพงขึ้น ไม่สามารถแข่งขันได้
นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังเข้มงวดส่งเจ้าหน้าที่มาขอดูKPI การผลิตสินค้าในไทยทุกไตรมาส ถ้าไม่ได้ก็งดนำเข้า