'วาฬ' ฮีโร่กู้วิกฤตโลกร้อน แหล่งกักเก็บคาร์บอนขนาดใหญ่
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ พบว่า มหาสมุทรนั้นเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าชั้นบรรยากาศถึง 50 เท่า และสัตว์ที่ช่วยกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมหาศาลก็คือ ‘วาฬ’ นั่นเอง
- วาฬเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนที่ใหญ่โตและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะวาฬที่มีขนาดใหญ่ ปกติวาฬจะมีอายุขัยโดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 60 ปี ซึ่งในช่วงชีวิตหนึ่งสามารถสะสมก๊าซคาร์บอนได้ถึง 33 ตัน
- ซากวาฬลงสู่มหาสมุทร เรียกกลไกนี้ว่า ‘carbon sink’ อีกหนึ่งกลไกที่ดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ชั้นบรรยากาศได้มีประสิทธิภาพมาก
- ปัจจุบัน วาฬที่มีอยู่ราว 1.3 ล้านตัว หากเพิ่มให้เป็น 4-5 ล้านตัวได้ จะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 1.7 ล้านล้านตันต่อปี ขณะที่ค่าใช้จ่ายการอนุรักษ์วาฬตกอยู่ที่คนละ 500 บาทต่อปี
จากการวิจัยพบว่าตลอดชีวิตของวาฬซึ่งมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 60 ปีนั้นสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 33 ตัน ซึ่งเมื่อมันตาย ร่างของมันที่กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์นั้นก็จะจมลงสู่ใต้ทะเลลึก
ขณะที่ถ้าเทียบกันกับต้นไม้อายุประมาณ 60 ปีนั้น สามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 1.3 ตัน ซึ่งพบว่าวาฬกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าต้นไม้ถึง 25 เท่าเลยทีเดียว
นอกจากความสามารถในการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว มูลของวาฬยังมีทั้งธาตุเหล็กและไนโตรเจนซึ่งเป็นอาหารชั้นดีให้กับแพลงก์ตอนพืช ซึ่งแพลงก์ตอนพืชนั้นผลิตออกซิเจนได้มากถึง 50%ของชั้นบรรยากาศโลก และสามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างน้อย 37,000 ล้านตันต่อปีหรือมากกว่าป่าแอมะซอนถึง 4 เท่า ไม่เพียงเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ฝูงวาฬบรูด้านับ 10 ตัว โผล่อวดโฉมเกาะอาดัง
ดับเบิ้ลหายาก! 'วาฬเผือก' โผล่ทะเลกระบี่คือ 'วาฬโอมูระ' สัตว์หายากของโลก
ทำไม? วาฬ ถึงเป็นฮีโร่กู้โลก
มนุษย์รู้จักวาฬมานานแสนนานแล้ว Aristotle นักปราชญ์ชาติกรีกในสมัยพุทธกาลได้เคยหลงผิดคิดว่าวาฬเป็นปลา และความหลงผิดนี้ได้ติดตามมาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2236 John Ray นักชีววิทยาชาวอังกฤษก็ได้เป็นบุคคลแรกที่ตระหนักความจริงว่าวาฬมิใช่ปลาแต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพราะมันออกลูกเป็นตัวและเลี้ยงลูกอ่อนของมันด้วยนมตามปกติวาฬจะตั้งครรภ์นาน 1 ปี และเวลาคลอดลูกส่วนหางของลูกจะโผล่ออกมาก่อนลูกวาฬสีน้ำเงิน (blue whale) ที่คลอดใหม่ๆ มีลำตัวยาวประมาณ 6 เมตร และหนักประมาณ 2 ตัน
เนื่องจากนมวาฬมีโปรตีนและไขมันสูง ลูกปลาวาฬจึงเจริญเติบโตเร็ว นักชีววิทยายังได้สังเกตเห็นอีกว่า หากเราเจาะครรภ์วาฬก่อนคลอดลูก เราจะพบว่าลูกวาฬในท้องมีขนตามตัว แต่ขนเหล่านี้ได้หลุดจากร่างของตัวอ่อนไปก่อนที่มันจะถูกคลอดออกมา
เมื่อดูเผินๆ วาฬมีลำตัวที่ดูคล้ายตอร์ปิโดหรือในทางตรงกันข้าม ตอร์ปิโดก็ดูคล้ายวาฬ มันมีศรีษะใหญ่ ไม่มีคอ ตาของมันมีขนาดเล็ก รูจมูกของมันอยู่บนหลัง มันหายใจได้เช่นคนโดยผ่านรูจมูก 2 รู ตามธรรมดาวาฬชอบกินสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลาหมึก แมวน้ำ และปลาต่างๆ เป็นอาหาร เวลาว่ายน้ำมันใช้หางโบกขึ้นลงๆ ทำให้ว่ายน้ำได้เร็ว โดยเฉพาะวาฬพิฆาต (Orcunus orca) นั้นสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 56 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนความสามารถด้านการดำน้ำลึกนั้น
นักชีววิทยาได้สังเกตเห็นว่า วาฬสีน้ำเงิน (Physeter catadon) ดำน้ำได้ลึกถึง 3 กิโลเมตร การดำน้ำได้ลึกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าวาฬสามารถกลั้นลมปราณได้นานเป็นชั่วโมงและออกซิเจนมิได้อยู่ที่ปอดของมันเพียงแห่งเดียวแต่อยู่ในส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อด้วย การมีออกซิเจนในตัวมากเช่นนี้ ทำให้เนื้อวาฬมีสีแดงเข้มจัดกว่าเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ
เร่งอนุรักษ์ปลาวาฬ ช่วยลดก๊าซคาร์บอน
ทุกวันนี้วาฬกำลังถูกไล่ล่าฆ่ามากมาย ซึ่งวาฬบางตัวได้รับเสียงรบกวนจากเรือ จากเครื่องยนต์ในทะเลหรือจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2541 H. Caswell แห่ง Woods Hole Oceanographic Institution ในสหรัฐอเมริกาได้รายงานการสำรวจวาฬ right whale ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือว่า หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงวาฬนี้จะสูญพันธุ์ ในอีก 200 ปีข้างหน้า
จากการคำนวณพบว่าอัตราการอยู่รอดของวาฬพันธุ์นี้ได้ลดน้อยลงในทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2523 นั้น พบว่า จำนวนประชากรของวาฬได้เพิ่มขึ้น 5.3% แต่หลังจากนั้น จำนวนก็ได้ลดลง 2.4% ทุกปี และเขาได้พบสาเหตุสำคัญทำให้โลกต้องสูญเสียวาฬมากที่สุดว่า เกิดจากการที่วาฬถูกเรือชน และเมื่ออัตราการเกิดลด เพราะวาฬผสมพันธุ์กันในตระกูลเดียวกัน และมลภาวะของทะเลมีมากขึ้นทุกวัน จำนวนวาฬจึงได้ลดลงทุกปี
ทั้งที่ เมื่อวาฬตายลงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านั้นจะจมลงไปยังก้นมหาสมุทรพร้อมกับร่างของวาฬและถูกเก็บอยู่ในนั้นเป็นเวลาหลายร้อยปี เรียกกลไกนี้ว่า ‘carbon sink’ เป็นอีกหนึ่งกลไกที่ดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ชั้นบรรยากาศได้มีประสิทธิภาพมาก
ซากวาฬที่จมลงสู่ทะเลลึกยังมีประโยชน์ เพราะสามารถกลายมาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลลึก จากการวิจัยยังพบอีกด้วยว่า ซากวาฬ 1ตัวนั้นสามารถเป็นแหล่งอาหาร และที่อยู่สำหรับสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลได้มากถึง 200 ชนิด
ในปัจจุบัน นักวิจัยเลยให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์วาฬเป็นอย่างมากเพราะมีข้อมูลว่าจำนวนวาฬทั่วโลกนั้น ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 1.3 ล้านตัวเท่านั้น และยังมีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ เราทุกคนก็มีส่วนช่วยด้วยได้ด้วยการลดภัยอันตรายที่จะเกิดกับวาฬทั้งเรื่องการล่าวาฬหรือ ลดการทิ้งพลาสติกหรือขยะลงสู่ท้องทะเล
'วาฬ' แก้วิกฤตภาวะโลกร้อนได้มากกว่าต้นไม้
รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ในหัวข้อ Nature’s Solution to Climate Change ระบุว่า ‘วาฬ’ หรือที่นิยมเรียกว่าวาฬ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในมหาสมุทร คือพระเอกอีกคนหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยกู้วิกฤตภาวะโลกร้อน
"หากต้นไม้มีชีวิตอยู่ถึง 100 ปี สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 2.4 ตัน ซึ่งยังคงเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าความสามารถของวาฬ"
นอกจากนี้ วาฬ ยังเป็นสิ่งมีชีวิตสารพัดประโยชน์ต่อโลก เพราะมูลของวาฬที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กยังเป็นปุ๋ยชั้นดีให้แก่พืชในท้องทะเล และเป็นอาหารให้ไฟโทแพลงก์ตอน (Phytoplankton) หรือแพลงก์ตอนพืช ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างมาก ในฐานะผู้ผลิตปฐมภูมิของห่วงโซ่และผู้ผลิตออกซิเจนมากถึงร้อยละ 50–80 ในชั้นบรรยากาศโลก
นอกจากนี้ แพลงตอนในมหาสมุทรยังสามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างน้อย 37,000 ล้านตันต่อปี หรือมากกว่าป่าอะเมซอนถึง 4 เท่า
IMF กล่าวว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระดับนี้ต้องใช้ต้นไม้ที่เจริญเติบโตเต็มที่ถึง 1.7 ล้านล้านล้านต้นในการดูดซับ คิดเป็นป่าอเมซอนถึง 4 ผืน
'ปั๊มวาฬ' กระบวนการดูดซับคาร์บอนช่วงเวลาที่วาฬมีชีวิตอยู่
'วาฬ'ยังถือเป็นพันธมิตรสำคัญต่อการปกป้องโลก มันเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด จึงกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์มหาศาลไว้ในร่างกาย แล้วเมื่อพวกมันตายและจมสู่ใต้ทะเล ซากของพวกมันจะจมอยู่เช่นนั้นเป็นเวลาหลายศตวรรษ
ไม่เพียงเท่านั้น วาฬจะช่วยดูดซับคาร์บอนในช่วงเวลาที่มันมีชีวิตอยู่ ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า 'ปั๊มวาฬ' โดยวาฬที่หาอาหารในทะเลลึก จำเป็นต้องว่ายขึ้นมาสู่ผิวน้ำ เพื่อหายใจและขับถ่าย มูลของวาฬมีสารอาหารสูง และเป็นปุ๋ยสำหรับการเติบโตของแพลงก์ตอนพืช ซึ่งช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เหมือนต้นไม้ในป่า
แต่เช่นเดียวกับฉลาม ประชากรวาฬลดหายไปมาก สายพันธุ์วาฬขนาดใหญ่ 6 จาก 13 สายพันธุ์ จัดเป็นสัตว์ที่เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ ตามข้อมูลขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF
'สัตว์ปก' มีอิทธิพลต่อการกักเก็บคาร์บอนของป่า
อย่างไรก็ตาม นอกจาก วาฬ แล้ว สัตว์ปกก็มีความสำคัญในการช่วยโลกไม่แพ้กัน โดยในงานศึกษาตีพิมพ์เมื่อปี 2016 เขารายงานว่า หมาป่าที่อาศัยอยู่ในป่าเขตหนาวของแคนาดา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในคาร์บอน ซิงค์ที่สำคัญที่สุดของโลก มีอิทธิพลโดยตรงต่อศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของป่า
หมาป่าทำเช่นนี้ได้ ผ่านการควบคุมพฤติกรรมการหาอาหาร และจำนวนประชากรของสัตว์กินพืช ที่ส่งผลต่อชนิดและปริมาณของพืชที่เติบโต
ในระบบนิเวศที่แตกต่าง การมีสัตว์กินพืชขนาดใหญ่จำนวนมาก อาจเป็นผลดีมากกว่า เช่น ช้างป่าแอฟริกัน ที่ถือเป็น 'คนสวน' ที่ช่วยในการกักเก็บคาร์บอนในสภาพแวดล้อมเขตร้อน ด้วยการหาอาหารแล้วขับถ่าย ซึ่งมูลของมันก็ช่วยในการเติบโตของต้นไม้ขนาดใหญ่ ที่จะช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีกว่าต้นไม้ขนาดเล็ก
ส่วนบริเวณขั้วโลกเหนือ หรืออาร์กติก วัวชะมด มี 'อิทธิพลสูง'ในการยับยั้งปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ด้วยการปกป้องดินที่ถูกแช่แข็ง วิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลวัตการปลดปล่อยคาร์บอนหรือการกักเก็บคาร์บอน สามารถเปลี่ยนไปได้จากการดำรงอยู่หรือการหายไปของสัตว์
อ้างอิง : BBC NEWS ไทย ,nationalgeographic ,EveryGreen