'5 ยุทธศาสตร์-6 กลไก' แก้โลกเดือด นับถอยหลัง สู่เป้าหมาย Net Zero

'5 ยุทธศาสตร์-6 กลไก' แก้โลกเดือด นับถอยหลัง สู่เป้าหมาย Net Zero

ทส. เดินหน้า 5 ยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนภายในประเทศ NDC Action Plan 2021 – 2030 6 พร้อม 6 กลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานต้องครอบคลุมทุกมิติ สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และ Net Zero ในปี 2065

KEY

POINTS

  • อนาคตอีกไม่ถึง 6 ปี เรียกว่าเป็น นาฬิกาสภาพอากาศ ที่กำลังนับถอยหลังชี้ชะตาโลก หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศา นับเป็นจุดตัดสำคัญ อาจส่งผลให้วิกฤติโลกรวนเลวร้ายถึงจุดที่กลับตัวไม่ได้
  • การประชุม COP28 มีการพูดคุยกันถึง 4 ประเด็นสำคัญ คือ การเร่งเปลี่ยนผ่านพลังงาน การปรับตัว การเงิน และความมีส่วนร่วม 
  • ขณะที่ประเทศไทย มีการเตรียมพร้อม 5 ยุทธศาสตร์ สู่การขับเคลื่อนภายในประเทศ NDC Action Plan 2021 – 2030 พร้อมด้วย 6 กลไกครอบคลุมทุกมิติ เพื่อเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และ Net Zero ในปี 2065 

คลื่น 4 ลูกที่กระทบกับโลกในช่วงที่ผ่านมาและต่อจากนี้ ได้แก่ คลื่นลูกแรก “โควิด-19” ต่อจากโควิด คือ “การถดถอยทางเศรษฐกิจ” จากการหยุดชะงัก คลื่นลูกที่สาม คือ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ที่จะกระทบกับโลกใบนี้ และ คลื่นลูกที่สี่ คือ “การเสื่อมสลายของความหลากหลายทางชีวภาพ” 

 

ขณะนี้ ทั่วโลกเรียกได้ว่ากำลังเร่งหาหนทางในการแก้ไขปัญหา Climate Change เพราะอนาคตอีกไม่ถึง 6 ปี เรียกว่าเป็น นาฬิกาสภาพอากาศ ที่กำลังนับถอยหลังชี้ชะตาโลก หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศา นับเป็นจุดตัดสำคัญ อาจส่งผลให้วิกฤติโลกรวนเลวร้ายถึงจุดที่กลับตัวไม่ได้

 

จตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวในช่วง Special Talk : Climate Action Trend 2024 การขับเคลื่อนนโยบาย สู้ภาวะโลกรวน อย่างยั่งยืน ภายในงาน Next Step Thailand 2024 : Tech & Sustain ก้าวต่อไปของนวัตกรรมและความยั่งยืน จัดโดย สปริงนิวส์ ถึงการประชุม COP28 ล่าสุด ซึ่งพูดคุยกันอยู่ 4 เรื่อง คือ

“การเร่งเปลี่ยนผ่านพลังงาน” ลดและยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ภายใน 2050 เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน 3 เท่า ในปี 2030 และ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 2 เท่า ในปี 2030

“การปรับตัว” ให้ความสำคัญกับการปรับตัว ต่อผลกระทบจาก Climate Change รวมถึงฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก 

“การเงิน” เน้นย้ำความสำคัญของการเงิน เพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเริ่มดำเนินงานของกองทุนใหม่ด้าน Loss and Damage

“ความมีส่วนร่วม” การสร้างความเข้มแข็งในความร่วมมือทั้งภายในและระหว่างประเทศ ระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและการยกระดับการดำเนินงานด้าน Climate Chang   

 

\'5 ยุทธศาสตร์-6 กลไก\' แก้โลกเดือด นับถอยหลัง สู่เป้าหมาย Net Zero

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

การทบทวนและยกระดับการดำเนินการทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ พบว่า ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตาม Pathway 1.5 องศา ควรเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน 3 เท่า และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 2 เท่า เริ่มลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 43% ในปี 2030 และ 60% ในปี 2035 เป็นต้น   

 

เมื่อดูการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยรายสาขาปี 2562 พบว่า มาจากภาคพลังงาน 69.96% (260.78 ล้านตัน) ภาคเกษตร 15.23% (56.77 ล้านตัน) ภาคอุตสาหกรรม 10.28% (38.3 ล้านตัน) ภาคของเสีย 4.43% (16.88 ล้านตัน) ขณะที่ ป่าไม้ที่ดูดกลับ ได้เพียง 91.99 ล้านตัน ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีไม่เกิน 1% ของโลก แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่สูงขึ้น ไทยจะเป็นประเทศ 1 ใน 10 ของโลกที่ได้รับผลกระทบ

 

5 ยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนประเทศ   

จากประเด็นระดับโลก สู่การขับเคลื่อนภายในประเทศ NDC Action Plan 2021 – 2030 ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์   ได้แก่

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 ขับเคลื่อนและติดตามผลการลดก๊าซเรือนกระจกรายสาขา
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนา/เพิ่มประสิทธิภาพการใช้เครื่องมือ/กลไก สนับสนุการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจก
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างศักยภาพการมีส่วนร่วม/เครือข่าย ความร่วมมือ รัฐ เอกชน ประชาชน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 เตรียมความพร้อมการดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวของประเทศ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการดำเนินความร่วมมือการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ 

 

\'5 ยุทธศาสตร์-6 กลไก\' แก้โลกเดือด นับถอยหลัง สู่เป้าหมาย Net Zero

กลไกขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Net Zero

ปลัด ทส. กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่เราขาด คือ การบังคับเชิงกฎหมาย เราพูดเชิงเรื่องของภาคสมัครใจซึ่งเป็นเรื่องยาก การไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และ Net Zero ในปี 2065 โดย 6 กลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานต้องครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่

“นโยบาย” 

  • บูรณาการเป้าหมาย Net Zero 
  • ขับเคลื่อน BCG Model 
  • จัดทำ NDC Action Plan 
  • กลไกเชิงสถาบันในการกำกับดูแล 

“การเงิน/การลงทุน” 

  • แหล่งเงิน CC (GCF , GEF , EF) 
  • แรงจูงใจ (BOI) 
  • Thailand Taxonomy (ธปท.) 
  • การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement)  

“เทคโนโลยี/นวัตกรรม” 

  • Carbon removal technology (CCS, CCUS, DAC, etc.)
  • Green hydrogen
  • Innovation

“องค์กร/กฎหมาย/ระเบียบ”

  • ผลักดัน พ.ร.บ. Climate Change
  • ขับเคลื่อนการดำเนินงานกรม CCE

“กลไกตลาดคาร์บอนเครดิต” 

  • RE&CC exchange platform (FTIX) โดย TGO และ FTI
  • ปลูกป่า (Carbon Sink) + ชุมชน

“การมีส่วนร่วม”

  • Domestic partnership (MoUs)
  • Private sector Network
  • Global partnership (E-Bus)

ขณะเดียวกัน ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.... กฎหมายฉบับนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ 

 

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นสาเหตุของภัยพิบัติต่างๆ อาจนำปสู่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่า 12.4 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2050 เรื่องที่สำคัญที่สุดตอนนี้ คือ ความเสี่ยง 10 ปีข้างหน้า คือ โดย 4 ประเด็นแรก คือ สภาพอากาศที่รุนแรงแบบสุดขั้ว การเปลี่ยนแปลงขั้นวิกฤติต่อระบบโลก , การสูญเสียความหลากหลาย และการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นต้องช่วยกัน 

 

“วันนี้ ทส. วางกลไกตั้งแต่ระดับท้องถิ่น เพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจตรงกัน และมองว่าอนาคตอีกไม่ถึง 6 ปี นาฬิกาสภาพอากาศนับถอยหลังชะตาโลก สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ ไม่ใช่แค่ป่วยธรรมดา แต่ถึงขั้นอยู่ไม่ได้ เวลาเราเหลือน้อย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศา เป็นจุดตัดสำคัญ วิกฤติโลกรวนจะเลวร้ายถึงจุดที่กลับตัวไม่ได้ ดังนั้น วันนี้ทุกคนต้องช่วยกันมุ่งหาหนทางแก้ปัญหา เป็นเรื่องที่ไม่มีพรมแดน ไม่มีแบ่งแยก มีแต่ต้องร่วมมือกันทำงาน” ปลัด ทส. กล่าว 

 

\'5 ยุทธศาสตร์-6 กลไก\' แก้โลกเดือด นับถอยหลัง สู่เป้าหมาย Net Zero

 

อบก. สร้างส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก

ด้าน เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวในช่วง SUS-TREND เทรนด์ความยั่งยืนกู้โลก ว่า เทรนด์ในวันนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นสำคัญ คือ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้เกิดการอพยพ สูญเสียทรัพย์สิน มีปัญหาด้านอาหาร น้ำ และสูญเสียธรรมชาติ พันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ หากย้อนกลับไปพบว่า ทวีปเอเชีย อุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศา ในช่วง 100 ปี ส่วนประเทศไทยสูงขึ้นประมาณ 1 องศาในช่วง 40 ปี ฤดูร้อนเพิ่มมากขึ้น และฤดูหนาวลดลง 
 

สำหรับ อบก. สนับสนุน ให้ทุกคนวัดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ หรือที่เรียกว่า Carbon Footprint for All ในการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3 แพลตฟอร์ม ได้แก่ “CFO Platform” รายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกสำหรับองค์กร  และ 2 แอปพลิเคชั่น คือ “Net Zero Man” เครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์ในชีวิตประจำวัน และ “Zero Carbon TH” เครื่องมือคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์สำหรับอีเวนต์


“ในยุคนี้เป็นยุคคนรุ่นใหม่ มีดิจิทัลเข้ามาเกี่ยว การนำสิ่งเหล่านี้มาวัดการมีส่วนร่วมก๊าซเรือนกระจก ใช้ไม่ยาก สามารถคำนวณได้ว่าปีหนึ่งเราปล่อยเท่าไร สามารถไปซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยจากโครงการที่มาตรฐานและได้รับการรับรอง และสามารถออกใบรับรองได้ โดยผู้ที่ดูแลเรื่องมาตรฐานคือ อบก.” เกียรติชาย กล่าวทิ้งท้าย