พ.ร.บ. ประมงฉบับใหม่ โทษลด ไอ้โง่ห้ามใช้ เก็บภาษีนำเข้า20 บาท/กก.

พ.ร.บ. ประมงฉบับใหม่ โทษลด ไอ้โง่ห้ามใช้ เก็บภาษีนำเข้า20 บาท/กก.

พระราชบัญญัติพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือไอยูยู แต่กลับมีผลกระทบต่อห่วงโซ่การประมงของไทย การปรับปรุงเปลี่ยนสาระสำคัญของกฎหมาย จึงต้องดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำประมง

KEY

POINTS

  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. ...หลังมีผลบังคับใช้มาเป็นเวลานานกว่า 8 ปี จำเป็นต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ว่ายังคงมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
  • กรมประมงยินดีและพร้อมที่จะรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ.... เพื่อจะนำมาพิจารณาในร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง ในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป”
  • สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. ... เป้าหมายคุ้มครองอาชีพ  ลดอัตราโทษตามบริบทของไทย  ห้ามใช้เครื่องมือไอ้โง่  
  • เก็บค่าธรรมเนียมในการนําเข้าเพิ่มเติมอีก กิโลกรัมละ 20 บาท  

 จากการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. ... ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทางทะเลเสนอ เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ส่งเสริมการทำการประมงให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ชาวประมงและประชาชน ที่เกี่ยวข้อง นั้น

  นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า การแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. ...ครั้งนี้ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในการเสนอกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างถูกต้องและครบถ้วน เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของการประมง โดยยึดหลักการเพื่อป้องกันมิให้มีการทำประมงผิดกฎหมาย และเพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ การบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม และสามารถทำการประมงได้อย่างยั่งยืน 

พ.ร.บ. ประมงฉบับใหม่ โทษลด ไอ้โง่ห้ามใช้ เก็บภาษีนำเข้า20 บาท/กก.

พ.ร.บ. ประมงฉบับใหม่ โทษลด ไอ้โง่ห้ามใช้ เก็บภาษีนำเข้า20 บาท/กก.

 โดยยังคงให้ความสำคัญถึงพันธกรณีระหว่างประเทศ เนื่องจากพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้มาเป็นเวลานานกว่า 8 ปี จำเป็นต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ว่ายังคงมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และเป็นภาระแก่ประชาชน การพัฒนาตามหลักสากล

 

รวมถึงบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 77 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2560 ประกอบกับผู้ประกอบการชาวประมงซึ่งได้รับความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพ มีข้อเรียกร้องว่าได้รับผลกระทบในการบังคับใช้ พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 รัฐบาลโดยรัฐสภาจึงได้รับข้อเสนอและนำมาเข้าสู่กระบวนการพิจารณา 

โดยเริ่มจากการศึกษาและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการบังคับใช้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ซึ่งรัฐสภา ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาการศึกษาและเสนอแนะการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ กิจการประมงให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้ประกอบการประมงและกิจการประมงทั้งระบบ โดยองค์ประกอบของคณะกรรมาธิการฯ นั้นมาจากผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองต่าง ๆ และผู้แทนจาก ทั้งฝ่ายพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ซึ่งต้องทำการศึกษากฎหมายประมง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พร้อมให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ แก่รัฐสภา และหลังจากการทำการศึกษาเป็นระยะเวลา 60 วัน คณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอมติของคณะกรรมาธิการฯ ต่อรัฐสภาว่า มีความจำเป็นในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 โดยใช้ร่างฯ ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ที่ได้เคยเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในรัฐบาลที่ผ่านมา เป็นร่างหลักในการพิจารณา โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ร่วมกันจัดทำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากการศึกษา วิเคราะห์ ในการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กิจการประมงทั้งระบบ อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ นำเสนอต่อประธานรัฐสภา ได้มีการยุบสภา และมีการตั้งรัฐบาลใหม่ และครม. ไม่สามารถร้องขอให้รัฐสภานำร่างฯ มาพิจารณาได้ทันภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกภายหลังการเลือกตั้ง ร่างฯ นั้น จึงเป็นอันต้องตกไป

ต่อมารัฐบาลปัจจุบัน โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายฟื้นชีวิตอุตสาหกรรมประมงให้กลับมาเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประชาชนอีกครั้ง ด้วยการแก้ไขข้อกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายให้เหมาะสมอันเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลให้อยู่กับประเทศอย่างยั่งยืน  รัฐสภาจึงได้มีมติเห็นชอบที่จะให้ทุกพรรคได้ศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ จึงมีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและเสนอแนะการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการประมงให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้ประกอบการประมงและกิจการประมงทั้งระบบ

พ.ร.บ. ประมงฉบับใหม่ โทษลด ไอ้โง่ห้ามใช้ เก็บภาษีนำเข้า20 บาท/กก.

ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ดังกล่าวนี้ มีความเห็นสรุปยืนยันความจำเป็นในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย โดยให้นำฉบับของสภาฯ ชุดที่แล้วมาเป็นพื้นฐาน และเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. ...ต่อสภาผู้แทนราษฎร

 

จากนั้นในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเอกฉันท์รับหลักการและรับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ของคณะรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎร รวม 8 ฉบับ ซึ่งสภาฯ ได้มีมติให้ใช้ร่างพระราชบัญญัติ ที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรีเป็นร่างหลักในการพิจารณา เนื่องจากเป็นร่างฯ ที่ผ่านการพิจารณาของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียภาคเอกชน รวมทั้งผ่านการรับฟังความเห็นของประชาชนมาแล้ว

โดยมีร่างพระราชบัญญัติ อีก 7 ฉบับ ประกอบการพิจารณา และปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการพิจารณารายมาตราของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จึงยังไม่สามารถสรุปผลลัพธ์สุดท้ายของการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น ปัจจุบันประเทศไทยยังคงบังคับใช้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 อย่างเข้มงวดเช่นเดิม

 

“อย่างไรก็ตาม กรมประมงเน้นย้ำว่า สำหรับกระบวนการแก้ไขกฎหมาย ยังต้องผ่านการอภิปราย เป็นรายมาตราอย่างละเอียดถี่ถ้วนในสภาฯ จนกว่าจะได้ข้อสรุป ทั้งนี้ หากองค์กรภาคเอกชน หรือสาธารณชนมีมุมมองและข้อกังวลในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กรมประมงยินดีและพร้อมที่จะรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ.... เพื่อจะนำมาพิจารณาในร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง ในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป”

ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. ... ประกอบด้วย

พ.ร.บ. ประมงฉบับใหม่ โทษลด ไอ้โง่ห้ามใช้ เก็บภาษีนำเข้า20 บาท/กก.

- โดยมุ่งหมายให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการประมง การคุ้มครองการประกอบอาชีพการประมง การมีส่วนร่วมของ ประชาชน

- แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคําว่า “ทะเลชายฝั่ง” โดยเพิ่มเติมการกำหนดเขตทะเลชายฝั่งให้มีระยะ น้อยกว่า1.5 ไมล์ทะเล“ประมงพื้นบ้าน” เดิมจํากัดแต่การทำประมงในเขตทะเล ชายฝั่งเท่านั้น ให้สามารถออกทำการประมงได้ตามศักยภาพของชาวประมง

-แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตทำการประมง โดยให้จํากัดเหตุอันเป็น ลักษณะต้องห้ามเฉพาะกับเรือลำที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเท่านั้น รวมถึงลดระยะเวลาการห้ามขอรับ ใบอนุญาต เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวประมงและเจ้าของเรือประมงซึ่งมีเรือประมงในครอบครองหลายลำ

- การดัดแปลงเครื่องมือทำการประมง กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง แต่ประสิทธิภาพทำการประมงต้องไม่สูงกว่าปริมาณสัตว์น้ำสูงสุดที่จัดสรรให้ตามใบอนุญาต และต้องไม่กระทบกระเทือนต่อตัวอ่อนสัตว์น้ำ

-การออกประกาศการห้ามจับหรือนําตัวอ่อนสัตว์น้ำบนเรือประมง จะกําหนดให้แตกต่างกันตามชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ หรือให้ใช้เฉพาะในบริเวณใดบริเวณหนึ่งก็ได้

-ห้ามการล่าสัตว์น้ำชนิดที่เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์น้ำที่หายากหรือ ใกล้สูญพันธุ์

- ห้ามใช้เครื่องมือการจับสัตว์น้ำลักษณะคล้ายคลึงเครื่องมือลอบพับได้หรือไอ้โง่

-ให้สามารถใช้เครื่องมืออวนล้อมจับที่มีช่องตาอวนเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร ทำการ ประมงในเวลากลางคืนได้นอกเขต 12 ไมล์ทะเล

- กรณีเรือประมงในน่านน้ำไทยที่แจ้งเข้าออกท่าเทียบเรือไม่ต้องแสดงจำนวนรายชื่อและ หนังสือคนประจำเรือ

-แก้ไขเพิ่มเติมการขนถ่ายสัตว์น้ำโดยเรือประมงให้กระทำได้ต่อเมื่อได้รับ อนุญาตจากอธิบดี

- ปรับลดอัตราโทษให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากเดิมกำหนดโทษตามขนาดของเรือประมง การลดโทษลงให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมกับสังคมและเศรษฐกิจ และบริบท

-แก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชกำหนดสำหรับใบอนุญาตให้นําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ โดยให้คิดค่าธรรมเนียมในการนําเข้าเพิ่มเติมอีก กิโลกรัมละ 20 บาท เป็นต้น