‘ปลูกต้นไม้’ ผิดที่ ไม่มีประโยชน์ แถมทำให้ ‘โลกร้อน’ มากกว่าเดิม
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า "การปลูกต้นไม้" ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมสามารถทำให้เกิด “ภาวะโลกร้อน” ได้ แนะควรทำการฟื้นฟูป่าในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
การฟื้นฟู “ป่าเสื่อมโทรม” และ “การปลูกป่าทดแทน” เป็นเครื่องมือหนึ่งในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่นิยมทำกันทั่วโลก เพราะเราต่างรู้กันดีว่า “ต้นไม้” ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดภาวะโลกร้อนได้ดี แต่ดูเหมือนว่าในบางกรณีที่มีต้นไม้หนาแน่นเกินไปแสงแดดสะท้อนกลับจากพื้นผิวโลกน้อยลง นั่นหมายความว่าโลกก็ดูดซับความร้อนได้มากกว่าเดิม
ซูซาน คุก-แพตตัน หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยกล่าวกับเอเอฟพีว่า การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมบ้างพื้นที่ จะส่งผลร้ายต่อสภาพภูมิอากาศมากขึ้น โดยการวิจัยนี้เป็นครั้งแรกที่เห็นว่า อัตราส่วนสะท้อนมีความสำคัญต่อการเกิดภาวะโลกร้อน และการสร้างอิทธิพลความเย็น (Cooling Effect) ของต้นไม้
โครงการฟื้นฟูป่าที่ไม่ได้คำนึงถึงอัตราส่วนสะท้อน จะมีการประเมินค่าประโยชน์ทางสภาพอากาศของต้นไม้เพิ่มเติมไว้สูงเกินไป 20-80%
“อัตราส่วนสะท้อน” ตัวช่วยโลกเย็น
นักวิทยาศาสตรู้ว่าการฟื้นฟูป่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ “อัตราส่วนสะท้อน” หรือ “แอลบีโด” ซึ่งเป็นปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ที่สะท้อนกลับจากพื้นผิวดาวเคราะห์ แต่ผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ได้ว่าเกิดขึ้นอย่างไร โดยการศึกษาใหม่ที่ได้ตีพิมพ์ ในวารสาร Nature Communications ช่วยไขความลับดังกล่าว
“อัตราส่วนสะท้อน” หรือ “แอลบีโด” สามารถพบได้มากที่สุดในพื้นที่แช่แข็งของโลก เช่น เกาะกรีนแลนด์ และทวีปแอนตาร์กติกา โดยเฉพาะหิมะและน้ำแข็งที่ใสเหมือนกระจก มีแอลบีโดสูงพอที่จะสะท้อนแสงอาทิตย์ได้มากถึง 90%
ในขณะเดียวกัน ป่าไม้ก็มักจะมีสีเข้มกว่าพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งหมายความว่าป่าดูดซับแสงแดดได้มากขึ้นและกักเก็บความอบอุ่นไว้ ทำให้มีอัลเบโด้ต่ำ
ดังนั้นแอลบีโดจึงเปรียบเสมือนสารทำความเย็นที่สำคัญของโลก เช่นเดียวกับผืนดินและมหาสมุทรที่ดูดซับความร้อนส่วนเกินและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อน
“ป่าร้อนชื้น” เหมาะสมกับการ “ฟื้นฟูป่า”
การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหลายประเทศให้คำมั่นว่าจะปลูกต้นไม้หลายพันล้านต้น เพื่อเป็นเครื่องมือป้องกันภาวะโลกร้อน แต่ไม่ใช่ว่าทุกความพยายามจะสร้างประโยชน์ให้กับโลกได้อย่างเท่าเทียมกัน
สำหรับภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เช่น ป่าแอมะซอน และพื้นที่แอ่งรอบลุ่มน้ำคองโก นับเป็นพื้นที่กักเก็บคาร์บอนสูงและการเปลี่ยนแปลงของอัลเบโดต่ำ จึงเป็นรูปแบบสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสำหรับการฟื้นฟูพื้นที่ป่า แต่สำหรับพื้นที่ประเภททุ่งหญ้าเขตอบอุ่นและทุ่งหญ้าสะวันนา ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งจะที่ปลูกป่าทดแทน
แม้คุก-แพตตัน จะเน้นย้ำว่าการฟื้นฟูป่าไม้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อผู้คนและโลกของเราอย่างมากมาย เช่น ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ เป็นแหล่งน้ำสะอาดและอากาศบริสุทธิ์ แต่ให้ปลูกป่าในตำแหน่งที่ดีที่สุด ในพื้นที่สภาพภูมิประเทศที่ไม่เหมาะสม ก็จะได้ผลออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 20% เมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของอัลเบโด
“ไม่ได้มีเงิน เวลา ทรัพยากร และแรงงานพอที่จะปลูกต้นไม่ได้ทุกที่ ดังนั้นเราจึงใช้ประโยชน์สูงและได้รับผลตอบแทนจากสภาพภูมิอากาศสูงสุดต่อการลงทุนที่มีจำกัด ในทุกไร่ที่เราปลูก” เธอกล่าวเสริม