'พิมพ์ภัทรา' สั่งอุตสาหกรรมจังหวัด จี้สถานประกอบการ แยกสารเคมีอันตราย

'พิมพ์ภัทรา' สั่งอุตสาหกรรมจังหวัด จี้สถานประกอบการ แยกสารเคมีอันตราย

“พิมพ์ภัทรา” ชี้ ไฟไหม้โกดังพระราม 2 เหตุความร้อนจัด สารเคมีติดไฟเอง กำชับ กรมโรงงานฯ และอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ เตือนสถานประกอบการ ให้แยกสารเคมีอันตรายออกจากกัน หวั่นเกิดเหตุซ้ำ เพราะอากาศร้อนจัดต่อเนื่อง 

จากเหตุการณ์ สารเคมีรั่วไหลในโกดังเก็บสารเคมี จนเกิดกลุ่มควันสีขาวที่โรงงาน ย่านพระราม 2 ในช่วงเวลาประมาณ 02.10 ของวันที่ 25 เมษายน 2567 โดยเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ให้ตรวจสอบถึงสาเหตุ

\'พิมพ์ภัทรา\' สั่งอุตสาหกรรมจังหวัด จี้สถานประกอบการ แยกสารเคมีอันตราย

และได้รายงานให้ทราบว่า สถานที่เกิดเหตุคือ อาคารเก็บสารเคมีของบริษัท เพรสซิเดนท์เคมีภัณฑ์ จำกัด ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ส่วนกลุ่มควันสีขาวเกิดจาก สารเคมี 2 ถังในอาคารหลังดังกล่าว  เจ้าหน้าที่จึงทำการขนย้ายสารเคมีในกลุ่มเดียวกันออกมาด้านนอกอาคาร และใช้น้ำในการควบคุมควันที่เกิดขึ้น และเมื่อเจ้าหน้าที่ทำการเปิดบรรจุภัณฑ์เมื่อสารเคมีกระทบอากาศทำให้เกิดไฟลุกไหม้ภายในถัง จึงเร่งควบคุมเพลิงเพื่อไม่ให้สารเคมีแพร่กระจาย โดยใช้เวลาประมาณ 45 นาที

รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการตรวจสอบชนิดของสารเคมีพบในที่เกิดเหตุ คือสารไทโอยูเรียไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ไม่เข้าข่ายวัตถุอันตรายตามพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 เป็นสารเคมีตามประเภทที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (self-heating)  และความร้อนเกิดจากตัวสารทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศที่อุณหภูมิรอบตัว สามารถลุกติดไฟได้เมื่อมีความร้อนสะสมต่อเนื่องภายในถึงอุณหภูมิที่สามารถลุกติดไฟได้ด้วยตนเอง (auto-ignition temperature) ทั้งนี้ จากการสันนิษฐานสาเหตุเบื้องต้นเกิดจากการสะสมความร้อนภายในบรรจุภัณฑ์ของสารไทโอยูเรียไดออกไซด์ทำให้ภายในบรรจุภัณฑ์มีอุณหภูมิสูงจนทำให้มีกลุ่มควันเกิดขึ้น

“ดิฉันได้กำชับไปทาง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมโรงงาน และอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัด ว่า ให้เร่งแจ้งเตือนสถานประกอบการที่มีการจัดเก็บสารเคมี ให้เพิ่มความระมัดระวัง และตรวจสอบสถานที่จัดเก็บให้เป็นไปตามข้อกำหนด ทั้งโรงงาน และสถานที่ครอบครองจัดเก็บวัตถุอันตราย หรือสารเคมี โดยต้อง ตรวจสอบสารเคมีที่จัดเก็บ เช็ก MSDS เอกสารข้อมูลความปลอดภัย ว่ามีสารเคมีที่มีคุณสมบัติลักษณะเดียวกันนี้ คือ เกิดปฏิกิริยา หรือติดไฟเองได้ หากอุณหภูมิการจัดเก็บสูง ต้องแยกออกจากกัน และเช็กสภาวะแวดล้อม จัดเก็บในที่อุณหภูมิที่เหมาะสม เนื่องจากปัจจุบันสภาวะอากาศมีอุณหภูมิสูงต่อเนื่อง” 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์