'ทีพีไอพีพี' ชี้หากตลาดคาร์บอนเกิด นำไทยร่วมมือลดโลกร้อนสู่เป้า Net Zero
"ทีพีไอพีพี" ชี้ตลาดยุโรปกำหนดภาษีคาร์บอน หากไทยทำได้ช่วยให้คนไทยหันมาช่วยกันลดคาร์บอนมากขึ้น เดินหน้าดันนวัตกรรมมุ่งเป้าสู่โรงไฟฟ้าสีเขียวปี 2569 สู่ Green Power Plant เต็มตัว หนุนไทยสู่เป้าหมาย Net Zero
"กรุงเทพธุรกิจ” ได้จัดสัมมนา Go Green 2024:The Ambition of Thailand “ร่วมเปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทย” โดยมีวิทยากรภาครัฐและภาคเอกชนมาร่วมเสนอแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไปสู่เศรษฐกิจและสังคมสีเขียว
นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) บรรยายพิเศษหัวข้อ "Green Energy: The Secret Code of Success พลังงานสะอาด รหัสลับสู่ความสำเร็จ" ว่า การจะคาร์บอไนซ์เซชั่น บริษัทฯ ตั้งโปรแกรมผ่าน Journey to Net Zero
โดยนิยาม TPI ที่ย่อมาจาก T: Technology ซึ่งทั้งกลุ่มบริษัทฯ จะใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดเพื่อจะดำเนินธุรกิจ P : Products ซึ่งสินค้าที่จะผลิตยั่งยืนและดีที่สุดเพื่อตอบทุกโจทย์ของชีวิตลูกค้า และ I : Innovation หรือนวัตกรรมเพื่อให้กลุ่มบริษัทฯ มีความยืนยัน โดยจะผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะผลิตสินค้าให้ดีที่สุด
"ทั้งหมดจะเริ่มต้นที่ Innovation บริษัทฯ สัญญาจะเป็นผู้นำด้านธุรกิจขยะสู่พลังงาน และเป็นโรงไฟฟ้าสีเขียว 100% และเติบโตไปพร้อมกับ CSR สร้างความยั่งยืนไปพร้อมกับนโยบาย BCG ความยั่งยืน ซึ่งวิสัยทัศน์จะยืนยันเป็นผู้นำด้านขยะพลังงานที่ใหญ่ที่สุด ด้วยเทคโนโลยีที่ลำสมัยที่สุด"
นายภัคพล กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทฯ เตรียมสร้างโซลาร์ฟาร์ม ซึ่งจะแล้วเสร็จเดือนพ.ค. 2567 นี้ในเฟสแรกจนถึงต้นปีหน้าจะเสร็จครบ และโซลาร์รูฟปัจจุบันติดตั้งเสร็จแล้ว และจะ COD ปลายปีนี้ เพื่อขายไฟฟ้าให้บริษัทแม่ สำหรับการเปลี่ยนผ่านจากถ่านหินเป็นโรงไฟฟ้าขยะ จะแบ่งเป็น 6 เฟส โดยเฟส 1-3 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนเฟส 4-6 จะแล้วเสร็จต้นปีหน้า
"จากการเติบโตที่ผ่านมาเริ่มจากพลังงานความร้อนทิ้ง 60 เมกะวัตต์ ส่งผลให้ปัจจุบันมีกว่า 440 เมกะวัตต์ จาก 220 เมกะวัตต์ที่มาจากถ่านหิน ปลายปีนี้จะรวมเป็น 477 เมกะวัตต์ เพิ่มโรงไฟฟ้าขยะเป็น 250 เมกะวัตต์ พลังงานความร้อนทิ้งเหลือ 40 เมกะวัตต์ ถ่านหินจะลดเหลือ 150 เมกะวัตต์ และเริ่มมีโซลาร์เข้ามา 37 เมกะวัตต์ ดังนั้น ปีค.ศ. 2026 จะมีกำลังการผลิตถึง 540 เมกะวัตต์ ซึ่งจะไม่เหลือถ่านหินและไม่มีไฟฟ้าแม้แต่หน่วยเดียวที่มาจากถ่านหินเลยและก้าวสู่ Green Power Plant เต็มตัว"
อย่างไรก็ตาม หลายคนบอกว่าเรื่องของคาร์บอนฟังแล้วดูดี แต่อาจดูภาพไม่ออก บริษัทฯ ได้บริหารจัดการบ่อขยะที่ จ.ครราชสีมา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 ทำให้ขยะหายไปช่วยให้พื้นที่นำพื้นที่ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน อาทิ โรงพยาบาล สถานที่ท่องเที่ยว สวนสาธารณะ เป็นต้น ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับบ่อขยะที่จ.ชลบุรี ที่เทศบาลตำบลให้บริษัทฯ เข้าไปช่วยเหลือ
ทั้งนี้ จากความทะเยอทะยานของประเทศไทย เริ่มจากที่ไทยเคยพูดไว้ตั้งแต่เวที COP27 ที่ตั้งเป้าความเป็นกลางทางคาร์บอนปี ค.ศ. 2050 และเน็ตซีโร่ ปี ค.ศ. 2065 ซึ่งภาคพลังงานในไทยสร้างคาร์บอนที่ 257 ล้านตัน ซึ่ง ปี ค.ศ. 2025 จะต้องเลิกการใช้โรงไฟฟ้าจากน้ำมันและเริ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน 68% ปี ค.ศ. 2040 ของการผลิตไฟฟ้า และปี ค.ศ. 2550 จะต้องเพิ่มเป็น 74% มาจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อที่ปี จะเริ่มการใช้กรีนไฮโดรเจน 100% ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อเป็น เน็ตซีโร่ ปี ค.ศ. 2065
ดังนั้น การจะไปถึงเป้าหมายอาจมีอุปสรรค โดยเฉพาะราคาคาร์บอน ยุโรปกำหนดราคาที่ 90 ยูโร ส่วนจีนกำหนดราคา 7 ดอลลาร์ ซึ่งประเทศไทยปัจจุบันยังไม่มีราคา เพราะยังไม่มีตลาดค้าขายคาร์บอน ถึงมีก็เล็กน้อย ซึ่งจะขอยืมคำพูดของนักธุรกิจต่างชาติเคยพูดว่า ศิลธรรมไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โอกาสธุรกิจตางหากที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต่างประเทศมีตลาดคาร์บอนเพราะมีการกำหนดภาษีคาร์บอน
ซึ่งทราบล่าสุดว่าไทยอยู่ระหว่างร่าง พ.ร.บ. ซึ่งการที่จะทำให้คนมีตลาดคาร์บอน ให้คนลดคาร์บอน และมีความสนใจเรื่องของความยั่งยืน จะต้องมีการเก็บภาษีคาร์บอน และตลาดซื้อขายคาร์บอนก็จะเกินขึ้น ทำให้คนช่วยกันลดคาร์บอนมากขึ้น