'อีเอ' เปิดแผนโกกรีน หวังเป็นตัวกลางนำทุกภาคส่วนมุ่งสู่ Net Zero
"อีเอ" อยากเป็นผู้นำพามุกคนมุ่งไปสู่อุตสาหกรรมกรีน วันนี้มีโซลาร์ และวินแล้ว อยากพาสนามบินไปสู่กรีนแอร์พอร์ต พาภาครัฐสู่กรีน อินเวสต์เมนท์
"กรุงเทพธุรกิจ” ได้จัดสัมมนา Go Green 2024:The Ambition of Thailand “ร่วมเปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทย” โดยมีวิทยากรภาครัฐและภาคเอกชนมาร่วมเสนอแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไปสู่เศรษฐกิจและสังคมสีเขียว
นายวสุ กลมเกลี้ยง Executive Vice President บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) บรรยายพิเศษหัวข้อ “Green Energy: The Secret Code of Success พลังงานสะอาด รหัสลับสู่ความสำเร็จ” ว่า ประเทศไทยจะวิชั่นอย่างไรให้โกกรีน ซึ่งปัจจุบันสภาพภูมิอากาศโลกตลอด 10 ปีมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ไทยน่าจะสูงกว่า 45 องศาแล้ว ทั้งปัญหาภัยแล้ง ที่หลักๆ มาจากการปล่อยคาร์บอนของโลก ดังนั้น จึงไม่สามารถเลี่ยงความรับผิดชอบได้ เพราะเป็นเรื่องของทุกคน จากการปล่อยคาร์บอนมากขึ้น ทุกประเทศจะต้องช่วยกันโดยเริ่มจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
อย่างไรก็ตาม มีการกำหนดมาตรฐาน CBAM การจัดตั้งคาร์บอนเครดิต เป็นต้น เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักและลดคาร์บอนมากขึ้น โดยบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการรีพอร์ทคาร์บอนฟุตพริ้นท์มากขึ้น จากการที่ประเทศไทยตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050 และจะมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ปี 2065 จึงต้องพยายามลดอุหภูมิโลก โดยการเปลี่ยนเชื้อเพลิงพอสซิลเป็นเชื้อเพลิงสะอาดมากขึ้น
ทั้งนี้ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยน จากการรวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ปริมาณการปล่อยคาร์บอนเริ่มลดลงเหลือ 243 ล้านตันในปีที่ผ่านมา โดยภาคพลังงานมีการปล่อยคาร์บอนมากสุดถึง 81.6 ล้านตัน เนื่องจากประเทศไทยมีพลังงานไฟฟ้ามากเกินไป โดยไทยเป็นศูนย์ประกอบรถยนต์มาหลายปี และเมื่อมีการสนับสนุนอีวี3.0 มาสู่ อีวี3.5 ส่งผลให้ยิ่งต้องใช้พลังงานมากยิ่งขึ้น
"ภาคที่ต้องโฟกัส คือ การสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะภาคขนส่งที่มีขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันมีราว 1.2 ล้านคัน หากเปลี่ยนทั้งหมดจะช่วยลดคาร์บอนได้มาก โดยรถอีวีทรัคจะลดคาร์บอนได้ถึง 37% ส่วนอีวีบัสจะลดได้ 34% หากนับจำนวนรถขนาดใหญ่เชิงพาณิชย์ทั้ง 1.2 ล้านคัน จะลดคาร์บอนได้ถึง 50 ล้านตัน"
ทั้งนี้ ปัจจุบัน EA มีอีวีบัสกว่า 2 พันคัน ซึ่งปีนี้จะมีอีวีทรัค และเรืออีวี ดังนั้น หากภาครัฐสนับสนุนจะช่วยได้เยอะ อีกทั้ง ปัจจุบันวันนี้พูดถึงคือ กรีนดีเซล ที่สามารถใช้ได้ทั่วไปทั่วโลกจึงเป็นโอกาสของไทย
นอกจากนี้ EA อยู่ระหว่างสนับสนุนสนามบินหลายแห่งในไทย เพื่อช่วยภาคท่องเที่ยวกว่า 74 ล้านคน โดยการนำโซลาร์และระบบกักเก็บพลังงาน (ESS)ไปติดตั้ง แล้วยังสนับสนุนรถอีวีในสนามบิน ติดตั้งสถานีชาร์จให้ ส่วนเครื่องบินปัจจุบันยังใช้พลังงานจากน้ำมันกว่า 300 ล้านตันต่อปี ซึ่งตอนนี้เริ่มมีการใช้น้ำมันเพื่อการยั่งยืนเพิ่มขึ้น โดยปี ค.ศ. 2040 จะต้องถึง 40%
"กรีนออยด์ เป็นโอกาสของไทย เพราะเรามีน้ำมันปาล์มอันดับ 3 ของโลก สามารถนำไปผลิตเป็นกรีนดีเซลได้ แต่ก็เกิดยากเพราะบอกว่าเป็นน้ำมันทำลายป่า ดังนั้น การสนับสนุนการท่องเที่ยวสีเขียว จะช่วยขับเคลื่อนไทยแลนด์อีโคโนมีได้ ซึ่งปัจจุบัน EA ได้ร่วมมือกับสนามบินภูเก็ต ในการติดตั้งโซลาร์ที่สนามบิน พร้อมกับนำรถอีวีวิ่งรับส่งนักท่องเที่ยวด้วย สุดท้ายเราถือเป็นภาคเอกชนเล็กๆ ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อจะพาประเทศไปสู่ กรีน โซไซตี้ ได้มากขึ้น"
ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านยากสุดคืออีโคโนมิกรีเทิร์น ปัจจุบันในการใช้เงินมักจะถามว่าจะได้เงินคืนเมื่อไหร่ หากมีความชัดเจนจะได้มากขึ้น เช่น โซลาร์มีราคาลดลงคนจึงติดมากขึ้น และเมื่อราคาอีวีลดลงก็จะเห็นการใช้มากขึ้น ดังนั้น EA มองว่าเราอยากเป็นผู้นำพาคนอื่นไปสู่อุตสาหกรรมกรีน วันนี้มีโซลาร์ และวิน แล้ว ก็อยากพาสนามบินไปสู่กรีนแอร์พอร์ต พาภาครัฐสู่กรีนอินเวสต์เมนท์