เกษตรฯ ประกาศเวที เอฟเอโอ มุ่งขับเคลื่อนเกษตรยั่งยืน
กระทรวงเกษตรฯ แสดงความมุ่งมั่นขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืนในเวทีสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะ National Dialogue Convenor ของประเทศไทย เปิดเผยในการประชุม Food Systems Transformation Progress Review ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก ว่า ได้ร่วมกับของ National Dialogue Convenor ของประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
เพื่อทบทวน และรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนระบบเกษตร และอาหารที่ยั่งยืน และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อประสานการดำเนินงานร่วมกัน นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก เมื่อปี พ.ศ.2564 (UN Food System Summit 2021) และการประชุม UN Food Systems Summit +2 Stocktaking Moment
โดยนับตั้งแต่การเข้าร่วมกิจกรรมของการประชุม UN Food System Summit ตั้งแ5ต่ปี 2021 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดเวทีพูดคุยสาธารณะ (Dialogues) ร่วมกับภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สถาบันการวิจัย รวมถึงหน่วยงานในระดับนานาชาติ หน่วยงานสหประชาชาติ เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนงานและแนวทางในการปรับเปลี่ยนการจัดการระบบเกษตรและอาหารและไปสู่ความยั่งยืน ยืดหยุ่น และเป็นธรรม
ซึ่งนับว่าประสบผลสำเร็จในก้าวแรกที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีเครือในการขับเคลื่อนประเด็นระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืนไปอย่างกว้างขวาง ขยายเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการประชุม UN Food Systems Summit +2 Stocktaking Moment เมื่อปีที่ผ่านมา เครือข่ายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมส่ง ตัวอย่างการดำเนินงานและกิจกรรมที่ดีในการช่วยขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืนและสามารถเป็นตัวอย่างให้แก่ประเทศสมาชิก
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังคงสนับสนุนการดำเนินงานอย่างจริงจังที่จะขับเคลื่อน และหาแนวทางพลิกโฉมระบบเกษตรอาหารที่ยั่งยืน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับการสนับสนุนจาก FAO และ UN Country Team อย่างดีมาโดยตลอด รวมถึงการดำเนินการต่อจากนี้ นับว่าเป็นความท้าทายในการเดินทางร่วมกันของเครือข่าย เพื่อสานพลังการขับเคลื่อน และทลายกำแพงกั้นระหว่างกันของ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังคงมุ่งมั่นขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งมั่นสร้างรายได้ สร้างโอกาส และสร้างคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยเน้นการบริหารจัดการภาคเกษตรที่ครบถ้วนทุกด้าน ตั้งแต่ดิน น้ำ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ กลไกราคา แหล่งเงินทุน นวัตกรรม และกรรมสิทธิ์ที่ดินของเกษตรกรผู้ปลูกพืช ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ และกลุ่มประมง
และที่สำคัญอีกประเด็น คือ การจัดการทรัพยากรทางการเกษตร ทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Go Green) ด้วย BCG /Carbon Credit จะต้องทำการเกษตรที่ลดภาระต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดการเผา โดยหวังว่านโยบายเหล่านี้ของไทย สามารถสนับสนุน เจตนารมณ์ของไทยในการดำเนินงานตาม Declaration on Sustainable Agriculture, Resilient Food Systems, and Climate Action ที่ประเทศไทยได้ร่วมลงนามเมื่อการประชุม COP28 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023
การประชุมครั้งนี้ร่วมด้วยนางสาวหลิน หยาง รองเลขาธิการบริหาร UNESCAP นายจอง จิน คิม รองผู้อำนวยการใหญ่ FAO และผู้แทน FAO ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และนายสเตฟาโนส โฟทู ผู้อำนวยการ UNFSS Coordination Hub
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์