กรมส่งเสริมการเกษตร รวมพลัง กัมพูชา ใช้ IPM จัดการศัตรูพืช

กรมส่งเสริมการเกษตร รวมพลัง กัมพูชา ใช้ IPM จัดการศัตรูพืช

กรมส่งเสริมการเกษตร ติดตามโครงการระบบการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานผ่านการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ในกัมพูชาภายใต้ กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง พบถ่ายทอดองค์ความรู้จากส่วนกลางลงสู่ส่วนภูมิภาค ผ่านนักส่งเสริมการเกษตร ส่งตรงถึงเกษตรกรในระดับพื้นที่

นางดวงสมร พฤฑฒิกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวภายหลังการเข้าพบและประชุมร่วมกับ Mr. Chea Sokhon รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ป่าไม้ และประมง แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา พร้อมคณะนักวิชาการเกษตรด้านอารักขาพืช ทั้ง 2 ประเทศ ว่า ได้หารือถึง โครงการระบบการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานผ่านการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม (Regional Participatory Implementation of Integrated Pest Management System : IPM) ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong – Lancang Cooperative Special Fund)

กรมส่งเสริมการเกษตร รวมพลัง กัมพูชา ใช้ IPM จัดการศัตรูพืช

ซึ่ง กรมส่งเสริมการเกษตร ป่าไม้ และประมง หรือ DEAFF (Department of extension for agriculture, forestry and fisheries) ของกัมพูชา ได้ส่งเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมการอบรมทางวิชาการและฝึกปฏิบัติในโครงการฯ ทั้งนี้กัมพูชาได้แบ่งการจัดการพื้นที่เกษตร ออกเป็น 4 โซน คือ พื้นที่โซนเหนือแม่น้ำโขง เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชสำคัญ เช่น มันสำปะหลัง ยางพารา มะม่วงหิมพานต์ อะโวคาโด

พื้นที่นที่โตนเลสาบ เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชสำคัญ เช่น ข้าว และปลาน้ำจืด

พื้นที่ชายฝั่ง เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชสำคัญ เช่น ทุเรียน มะม่วง พริกไทย และการทำประมง และพื้นที่โซนใต้แม่น้ำโขง เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชสำคัญ เช่น ข้าว ผัก

 โดยมี DEAFF เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลงานด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร ซึ่งภารกิจคล้ายคลึงกับกรมส่งเสริมการเกษตร ของประเทศไทย ผลการดำเนินการของเจ้าหน้าที่กัมพูชาชุดดังกล่าว ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้จากส่วนกลางลงสู่ส่วนภูมิภาค ผ่านนักส่งเสริมการเกษตร ส่งตรงถึงเกษตรกรในระดับพื้นที่ รวมทั้งวางแผนนำกล้องจุลทรรศน์พร้อมชุดถ่ายภาพ ที่ประเทศไทยเป็นผู้จัดหาภายใต้โครงการฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการตรวจสอบ วินิจฉัยโรค และแมลงศัตรูพืช ไปสาธิตการใช้งานให้กับผู้เข้ารับการอบรม ณ ศูนย์ฝึกอบรมด้านการเกษตร Ta Saang (Ta Saang Agricultural Extension and Training Center: AETC) เมืองสวายเรียง

กรมส่งเสริมการเกษตร รวมพลัง กัมพูชา ใช้ IPM จัดการศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร รวมพลัง กัมพูชา ใช้ IPM จัดการศัตรูพืช

นอกจากนี้คณะกรมส่งเสริมการเกษตรของไทย ได้ลงพื้นที่ติดตามงานจุดที่มีการนำองค์ความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) ไปปรับใช้ ณ แปลงเกษตรกร เมืองสวายเรียง (Svay Rieng) จำนวน 2 จุด จุดแรก คือ Vegetable Agricultural Cooperative at Svay Village แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนผลิต และส่วนการตลาด โดย Mr. Luck Buntheun เกษตรกรต้นแบบ หัวหน้าทีมส่วนผลิต และประธานของกลุ่มได้ให้ข้อมูลว่า แต่เดิมเกษตรกรในชุมชนทำการเกษตรด้วยวิถีเดิม แต่ด้วยความเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้า และต้องการผลักดันการทำการเกษตร ประกอบกับทางรัฐบาลกัมพูชาได้มีความร่วมมือกับรัฐบาลนิวซีแลนด์ และได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วมจัดทำแผนงานเพื่อส่งเข้าประกวดจนได้เป็นเกษตรกร Champion และได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น รถไถเดินตาม โรงเรือนเพาะปลูก และองค์ความรู้ด้านวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญของประเทศนิวซีแลนด์ เช่น การผลิตตามมาตรฐาน GAP การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (IPM)

จากความรู้ที่ได้รับ และประสบการณ์ด้านการเกษตรกว่า 13 ปี Mr. Luck จึงทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรและคนในชุมชนรายอื่น ๆ ส่งผลให้ปัจจุบันทางกลุ่มมีสมาชิก จำนวน 85 ราย มีการเก็บค่าสมาชิกแรกเข้า รายละ 5 ดอลลาร์สหรัฐ โดยเพาะปลูกพืชผักเป็นหลัก เช่น ผักโขม แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักสลัด เป็นต้น ผลจากการรวมกลุ่มส่งผลให้สามารถรวมตัวกันซื้อปัจจัยการผลิตได้ในราคาที่ถูกลง เป็นการลดต้นทุนการผลิตให้กับสมาชิกได้

 

นอกจากนี้ ยังรวมผลผลิตในการจำหน่ายและมีการทำ Contact Farming ทำให้มีตลาดรับซื้อที่แน่นอน และทางกลุ่มสามารถนำส่งพืชผลทางการเกษตร ได้ถึงจำนวน 1 - 2 ตันต่อวัน นอกจากนี้ ทางกลุ่มยังมีการจัดทำแปลงพยากรณ์ โดย Mr. Luck จะทำหน้าที่สำรวจแปลงเพาะปลูกทุกวัน และหากเกิดความผิดปกติของแปลงปลูก จะดำเนินการแจ้งต่อสมาชิกทราบ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคพืช ผ่านช่องทาง Telegram Messenger และมีการจัดเวทีประชุมกลุ่มเป็นระยะ เพื่อร่วมกันวางแผนการผลิต รับทราบปัญหา และร่วมกันแก้ไขปัญหา กรมส่งเสริมการเกษตร รวมพลัง กัมพูชา ใช้ IPM จัดการศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร รวมพลัง กัมพูชา ใช้ IPM จัดการศัตรูพืช สำหรับจุดที่สอง คือ Natural Coconut Farm โดยมี Mr. Geir Savon สมาชิกกลุ่ม ทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบส่วนการตลาด ได้ให้ข้อมูลว่า ได้ปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกข้าว เป็นสวนมะพร้าวน้ำหอม พันธุ์ต้นเตี้ย เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยนำเข้าพันธุ์จากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ด้วยเหตุผลจากราคาผลผลิตข้าวไม่แน่นอน ประกอบกับ Mr. Geir ได้เข้ารับการอบรมความรู้ที่หลากหลาย และทางครอบครัวได้สืบทอดภูมิปัญญาชาวบ้านจากรุ่นสู่รุ่นในการผลิตมะพร้าวน้ำหอมให้ได้คุณภาพ

ซึ่งภายในสวนมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน เพื่อเปรียบเทียบการผลิตใน 2 วิธีการ โดยแปลงที่ 1 ปลูกตามวิถีปกติ คือ การปลูกลงดิน รดน้ำ ให้ปุ๋ยตามความต้องการของพืช และแปลงที่ 2 ใช้วิธีการตามภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ มีการเจาะลำต้น ใส่ท่อ PVC ลึกเข้าไปในลำต้นประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อใส่เกลือเข้าสู่ลำต้นโดยตรงในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ 2 - 3 เดือนต่อครั้ง สำหรับผลการทดลองยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย เพื่อประเมินคุณภาพผลผลิตทั้ง 2 แปลง และให้มีหลักวิชาการรับรองถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นดังกล่าวที่แน่ชัด

 

“จากการลงพื้นที่ติดตามงาน คณะนักวิชาการเกษตรด้านอารักขาพืชจากประเทศไทยได้เสนอแนะให้ DEAFF เปิดให้บริการด้านการวินิจฉัยพืชแก่เกษตรกร พร้อมประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับ เพื่อสร้างการรับรู้ และการมีส่วนร่วมในการเข้าใช้ประโยชน์ของกล้องจุลทรรศน์ พร้อมชุดถ่ายภาพ ณ ศูนย์ AETC เมืองสวายเรียง เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์แก่เกษตรกรกัมพูชาอย่างสูงสุด หรือนำออกให้บริการด้านการวินิจฉัยพืชนอกสถานที่ ตามกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงการใช้ประโยชน์ของอุปกรณ์และองค์ความรู้การศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (IPM) อย่างแท้จริง รวมทั้งเรื่องการจัดการแปลงของเกษตรกรที่ต้องปรับปรุงให้สะอาด เรียบร้อย เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช

และความสำเร็จที่สำคัญของเกษตรกรชาวกัมพูชาที่พบ คือ การหมั่นสำรวจแปลงปลูกอยู่เสมอ เพื่อให้รู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของพืช ป้องกันการรุกลามของแมลงศัตรูพืช ซึ่งจะทำให้ผลผลิตที่ตั้งใจปลูกของเกษตรกรได้รับความเสียหายน้อยที่สุด และเกษตรกรไทยควรให้ความสำคัญการสำรวจมากขึ้น” นางดวงสมร กล่าว

กรมส่งเสริมการเกษตร รวมพลัง กัมพูชา ใช้ IPM จัดการศัตรูพืช

 

ทั้งนี้ ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็น 1 ใน 5 ประเทศเป้าหมาย ในโครงการระบบการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานผ่านการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม (Regional Participatory Implementation of Integrated Pest Management System) ภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong – Lancang Cooperative Special Fund) ที่มุ่งสนับสนุนองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน และเสริมสร้างเครือข่ายด้านอารักขาพืชในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง

กรมส่งเสริมการเกษตร รวมพลัง กัมพูชา ใช้ IPM จัดการศัตรูพืช

ซึ่งเมื่อผู้รับผิดชอบงานด้านอารักพืชของแต่ละประเทศที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (IPM) ตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง เหมาะสม ได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดสู่เจ้าหน้าที่ และเกษตรกรในประเทศของตนเอง เพื่อประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ของแต่ละประเทศต่อไป นอกจากนี้ ทางโครงการยังได้สนับสนุนชุดอุปกรณ์สำหรับการตรวจสอบ วินิจฉัยโรค และแมลงศัตรูพืช (กล้องจุลทรรศน์ พร้อมชุดถ่ายภาพ) จำนวน 2 ชุด ให้แต่ละประเทศที่เข้าร่วมโครงการด้วย