มกอช.ถกเวที EWG-OA สร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อาเซียน

มกอช.ถกเวที EWG-OA สร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อาเซียน

มกอช. ร่วมประชุม EWG-OA พิจารณามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศสมาชิกอาเซียน และระเบียบปฏิบัติตรวจรับรองสินค้าอินทรีย์ที่อาจส่งผลกระทบกับไทย

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นประธานการประชุม Expert Working Group for Organic Agriculture (EWG-OA) ครั้งพิเศษที่ 5 และการประชุม EWG-OA ครั้งที่ 8 ณ กรุงบันดาเสรีเบกาวัน เนการาบรูไน ดารุสซาลาม โดยมีนางอรทัย ศิลปนภาพร ที่ปรึกษา มกอช. ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมการประชุม

มกอช.ถกเวที EWG-OA สร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อาเซียน

นายพิศาล กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาและติดตามสถานะการเทียบเคียงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศสมาชิกอาเซียนกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของอาเซียน (ASEAN Standard for Organic Agriculture: ASOA) ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาในขั้นตอนการประเมินแบบกลุ่ม (Group Validation) ต่อมาตรฐานของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ที่มีประเทศไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินลำดับที่ 1 และ 2 และผู้แทนสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ชี้แจงข้อกำหนดที่ไม่สอดคล้องกับ ASAOA แล้ว

นอกจากนี้ ที่ประชุมร่วมพิจารณาร่างข้อตกลงการยอมรับร่วมด้านผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Organic Agriculture Products; MRA OAP) และร่างภาคผนวก เรื่อง ระเบียบปฏิบัติสำหรับการตรวจรับรองสินค้าอินทรีย์ (ASEAN Certification Scheme for Organic Agriculture) ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่อาจส่งผลกระทบกับประเทศไทย เช่น วันที่มีผลบังคับใช้หลังจากลงนามในข้อตกลงการยอมรับร่วม ซึ่งมีด้วยกัน 2 ทางเลือกได้แก่

มกอช.ถกเวที EWG-OA สร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อาเซียน

ทางเลือกที่ 1 ประเทศสมาชิกลงนามร่วมกันและมีผลบังคับใช้ทันที และทางเลือกที่ 2 จะมีผลบังคับใช้หลังจากให้สัตยาบัน ซึ่งประเทศไทยและประเทศสมาชิกส่วนใหญ่เห็นชอบให้ลงนามทางเลือกที่ 1 ซึ่งจะดำเนินการได้รวดเร็วกว่าทางเลือกที่สองที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายและขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี

มกอช.ถกเวที EWG-OA สร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อาเซียน

 

“ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนให้ความเห็นชอบต่อร่าง MRA OAP ทั้งฉบับเรียบร้อยแล้ว โดยแผนการดำเนินงานต่อไปนั้น จะพิจารณาภาคผนวกเรื่องระเบียบปฏิบัติสำหรับการตรวจรับรองสินค้าอินทรีย์ที่ยังไม่แล้วเสร็จ และขั้นตอนตรวจสอบด้านกฎหมาย (legal scrubbing) และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry: AMAF) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป”