เกษตรกร ร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รายได้งาม

เกษตรกร ร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รายได้งาม

สศก. วิเคราะห์โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ปี 2567 ลดปริมาณวัสดุเหลือใช้ สู่การสร้างรายได้ กว่า 3,000 บาทต่อเดือนสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชน

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นโครงการสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดำเนินการโดยกรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ลดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และสร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชน และมีเป้าหมายในการพัฒนาระบบการจัดการวัสดุเหลือใช้โดยยึดแนวคิดระบบธุรกิจปิดวงจร และระบบการจัดการวัตถุดิบเหลือใช้สู่โรงงานแปรรูป


เกษตรกร ร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รายได้งาม เกษตรกร ร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รายได้งาม รวมทั้งส่งเสริมความรู้และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแก่เกษตรกรกลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ

ในการนี้ จากการติดตามผลการดำเนินโครงการฯ ของสศก. โดยศูนย์ประเมินผล ผ่านระบบประเมินผลและติดตามโครงการเชิงนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รอบ 8 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2567) พบว่า

เกษตรกร ร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รายได้งาม

กรมส่งเสริมการเกษตร  สามารถดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรแก่เกษตรกรแล้ว 16,499 ราย (ร้อยละ 107 ของเป้าหมาย 15,400 ราย)

กรมปศุสัตว์  ดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นอาหารสัตว์ และให้ยืมเครื่องจักรกลอาหารสัตว์ (Motor Pool) แก่เกษตรกรแล้ว 4,432ราย (ร้อยละ 90 ของเป้าหมาย 4,940 ราย) และมีเกษตรกรมาใช้บริการศูนย์บริการอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ (Feed Center) แล้ว 1,108 ราย (ร้อยละ 106 ของเป้าหมาย 1,050 ราย)

กรมการข้าว  ดำเนินการเพิ่มศักยภาพการจัดการฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อความยั่งยืนแก่แปลงต้นแบบแล้ว 20 ไร่ (ร้อยละ 50 ของเป้าหมาย 40 ไร่)

นอกจากนี้ จากการลงพื้นที่ติดตามโครงการฯ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย อุดรธานี นครราชสีมา และสระบุรี พบว่า วิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกษตรกรจำนวนกว่า 17 แห่ง ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมปศุสัตว์ เช่น การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย  และการใช้เครื่องจักรกลผลิตอาหารสัตว์ ช่วยลดปริมาณวัสดุเหลือใช้ในแปลง โดยเฉพาะฟางในนาข้าว ลดปัญหาการเผา ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกร

มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายเห็ดฟางจากฟางข้าวและกากมันสำปะหลัง และผลิตปุ๋ยหมักจำหน่ายให้แก่สมาชิก ผลจากการเข้าร่วมโครงการช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2,713 บาทต่อเดือน อีกทั้งกลุ่มเกษตรกรยังมีการผลิตถ่านไบโอชาร์จากกิ่งเงาะ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนและใช้ปรับปรุงดินในแปลงเกษตรอีกด้วย โดยจากตัวอย่างของกลุ่มเพาะเห็ดฟางกองเตี้ยบ้านโนนดู่ ตำบลโนนจานอำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวนสมาชิกกลุ่ม 40 ราย ดำเนินการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร คือ ฟางข้าวและกากมันสำปะหลังโดยการนำมาเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย ส่งผลให้กลุ่ม มีรายได้เพิ่มขึ้น 2,462 บาท/เดือน

รวมถึงตัวอย่างกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง ตำบลหนองนกเขียน อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี จำนวนสมาชิก 35 ราย รับผิดชอบโดยกรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร คือ ฟางข้าวโดยการนำมาเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ส่งผลให้กลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น 3,000 บาท/เดือน เป็นต้น

เกษตรกร ร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รายได้งาม

 

ทั้งนี้ ภาพรวมเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการในระดับมากที่สุด และการต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นการทำดินปลูกจากวัสดุหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่ง สศก. มีแผนจะติดตามผลการดำเนินงานโครงการในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร และนครสวรรค์ ช่วงเดือน กรกฎาคม - สิงหาคม 2567 และจะติดตามภาพรวมของโครงการฯ ทั้งหมดในระยะต่อไป