คปก. ดัน 'โฉนดต้นไม้ในเขตปฏิรูปที่ดิน' ส่งเสริมการปลูกยกระดับมูลค่าที่ดิน

คปก. ดัน 'โฉนดต้นไม้ในเขตปฏิรูปที่ดิน' ส่งเสริมการปลูกยกระดับมูลค่าที่ดิน

ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ระบุว่าภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ครั้งที่ 5/2567 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เตรียมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการศึกษาแนวทางการจัดทำ (ร่าง)

กรอบการดำเนินงาน หลักเกณฑ์เงื่อนไข ขั้นตอน และรูปแบบโฉนดต้นไม้ในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรยั่งยืนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นการยกระดับมูลค่าที่ดินและสินทรัพย์ในพื้นที่ ส.ป.ก.

เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรจากการปลูกไม้มีค่าในอนาคต เช่น การซื้อขายคาร์บอนเครดิต การค้าเนื้อไม้ทั้งในและต่างประเทศ (EUDR) และเป็นแหล่งเรียนรู้/ท่องเที่ยวในเขตปฏิรูปที่ดิน เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นการขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยใช้ไม้เศรษฐกิจอายุ 3 ปีขึ้นไป มีความสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร และเป็นพันธุ์ไม้ 58 ชนิด ตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 หรือ พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 หรือเป็นพันธุ์ไม้ตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินมูลค่าต้นไม้เป็นหลักทรัพย์ อีกด้วย

ทั้งนี้มีการพิจารณาการขออนุญาตใช้ที่ดินเพื่อสาธารณูปโภคและกิจการอื่น ๆ ในเขตปฏิรูปที่ดินให้มีวางกรอบแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนเหมาะสมกับการขอใช้งานพื้นที่ เพื่อป้องกันการเสียโอกาสของเกษตรกรในการมีที่ดินทำดิน รวมถึงได้เร่งรัด ส.ป.ก ในแต่ละจังหวัดในการประกาศเขตพื้นที่ชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกเกษตรกรในพื้นที่ให้มีที่อยู่อาศัยที่ถูกต้อง และนำรายได้จากการเช่าพื้นที่ของกองทุนมาต่อยอดสู่การช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนาภาคการเกษตรในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป สำหรับภารกิจของ ส.ป.ก. ในด้านการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร

รวมถึงมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการจำแนกผู้มีสิทธิที่จะเข้ามาใช้พื้นที่ ซึ่งการประชุมในวันนี้ได้เน้นย้ำในเรื่องกฎระเบียบและความเหมาะสมในการขอใช้พื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อป้องกันการเสียประโยชน์ของเกษตรกรให้ได้มากที่สุด ในส่วนของภารกิจอื่น ๆ ของกระทรวงเกษตรฯ ไม่ว่าจะโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง

ซึ่งเป็นโครงการที่จะนำไปสู่โครงการใช้ปุ๋ยแม่นยำ ถูกสูตร ถูกที่ ถูกเวลา เพื่อพัฒนาคุณภาพข้าวเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ เพิ่มโอกาสทางการแข่งขันทางการตลาด หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ซึ่งได้มอบหมายกรมประมงดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อตัดวงจบการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำแล้ว เพื่อเร่งบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร