“ขยะ”หัตถการความงาม ความสวยที่ต้อง“อัปไซเคิล
เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย เปิดตัวโครงการเพื่อความยั่งยืนครั้งแรกของโลก จับมือพาร์ทเนอร์คลินิก ร่วมจัดการขยะจากหัตถการความงาม เดินหน้าคลินิกสีเขียว เผยช่วงนำร่องลดคาร์บอนฟุตพรินต์ไปแล้วถึง 787 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์
KEY
POINTS
- ครั้งแรกของโลกกับโครงการเพื่อสร้างความยั่งยืนสู่สังคมและโลก ด้วยการจัดการขยะที่เกิดจากหัตถการความงามผ่านการรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้ง
- เมิร์ซ ผนึกความร่วมมือกับพันธมิตรที่ช่วยผลักดันความยั่งยืน ได้แก่ บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด, แบรนด์ควอลี่ และ บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด
- นำร่องเฟสแรกร่วมกับ 12 คลินิกสีเขียว เทียบเคียงการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ไปแล้วถึง 787 กิโลกรัม
การทำหัตถการความงามต่างๆ ของมนุษย์ นำพาซึ่ง“ขยะ” จากผลิตบรรจุภัณฑ์ประมาณ 120,000 ล้านชิ้น(MERZAESTHETICS*120,000 ล้านชิ้นคือขยะที่เกิดจากอุตสาหกรรมความงามทั่วโลก ในแต่ละปีที่มา: TRVST)คิดเป็น 70 % ของขยะในอุตสาหกรรม เฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางผู้ผลิตหลายรายมีความพยายามในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสิ่งแสดล้อม รวมทั้งมีโครงการเก็บคืนบรรจุภัณฑ์ไปทำลายทิ้งรวมทั้งรีไซเคิล อัฟไซคลิ่ง นำกลับไปใช้ใหม่โดยไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
ขณะที่อุตสหกรรมควา งามของประเทศไทย จัดว่าไม่เป็น 2 รองใคร ปัจจุบันกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นเมืองหลวงด้านศัลยกรรมความงามของเอเชียตะวันออกเชียงใต้ และในเอเชียเราเป็นรองแค่เพียงประเทศเกาหลีใต้ โดยมีปัจจัยเอื้อคือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์และความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของโซเชียลมีเดีย ทุกคนจึงสามารถเข้าถึงการทําศัลยกรรมความงามได้มากขึ้น
ตลอดระยะเวลา 9 ปี ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ทำให้เกิดขยะจากหัตถการความงาม(Aesthetics Waste) เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย จึงมีความคิดริเริ่มที่จะจัดการกับขยะหัว Ultherapy Transducer ซึ่งมากจนสามารถนำมาเรียงสูงถึง 3,900 เมตร และบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่หนักรวม 18 ตัน โดยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจากการเติบโตของยอดขายและการที่ผู้บริโภค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
รับสมัคร! แรงงานวัยใส ยกระดับ DQ เข้าคอร์สออนไลน์ ก่อนเริ่มทำงาน
'27 ปี หนี้ครู' ทำไม? แก้แล้วหนี้ไม่หมด ทำได้จริง หรือขายฝันพรรคการเมือง
'ขยะจากหัตถการ' สามารถนำมาเรียงสูงได้ถึง 3,900 เมตร
“เภสัชกรหญิง กิตติวรรณ รัตนจันทร์” ผู้บริหารสูงสุดบริษัท เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทยและสิงคโปร์ เปิดเผยว่าจากยอดขาย Ultherapy Transduce เดือนละ 1,000 ชิ้นเมื่อรวมกับผลิตภัณฑ์ความงามอื่นๆด้วยแล้วทำให้ เมิร์ซ เอสเรติกส์ มีรายได้รวมไม่ต่ำกว่า2,000ล้านบาทต่อปี และเติบโตต่อเนื่องมาโดยตลอด ยิ่งขายได้มากตามเทรนด์ของอุตสหกรรมความงามนั่นหมายความว่า “ขยะ”ก็จะมากตามไปด้วยเช่นกัน
โครงการ Merz Aesthetics Set Zero Aesthetics Waste เกิดขึ้นพร้อมแนวคิดกระบวนการ“เก็บกลับ ปรับโฉม ส่งคืนคุณ” ซึ่งคือการรับคืนและจัดการกับขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีรีไซเคิล(Recycle) และ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วหมดไปด้วยวิธีอัปไซเคิล (Upcycle)เพื่อนำกลับมาสร้างประโยชน์ใหม่อีกครั้ง
โดยกระบวนการนี้ได้นำหลักการลดการฝังกลบขยะสู่พื้นผิวโลกให้เป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill)มาปรับใช้ ด้วยความตั้งใจที่จะนำทรัพยากรกลับมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้เหลือขยะไปสู่หลุมฝังกลบน้อยลงและเป็นศูนย์ในที่สุด
ซึ่งในเฟสแรก เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย ร่วมมือกับ 12 พาร์ทเนอร์คลินิกและพันธมิตรด้านการจัดการขยะ ได้แก่ บริษัทรีไซเคิลเดย์ จำกัด และแบรนด์ควอลี่ พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ ถังอเนกประสงค์ “มานะ” ซึ่งผลิตมาจากหัว Ultherapy Transducer ที่ใช้แล้วจากพาร์ทเนอร์คลินิกต่างๆ ของเมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย นำมาผ่านกระบวนการ upcycleให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งและยังสามารถนำไปใช้ได้ประโยชน์จริงในชีวิตประจำวัน
เฟสแรก ผนึก12 คลินิกสีเขียว ลดคาร์บอนฯ 787 กิโลกรัม
ในปัจจุบัน มีคลินิกสีเขียวที่เข้าร่วมโครงการ Merz Aesthetics Set Zero Aesthetics Waste ในช่วงก่อนเปิดตัวโครงการจำนวน 12 คลินิกจากลูกค้าที่มีอยู่ 300-400 ราย ที้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยเป็นคลินิกระดับแนวหน้าที่มีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางคลินิกยินดีและได้ร่วมกันช่วยคัดแยกและนำส่งขยะที่เกิดจากหัตถการความงาม แบ่งเป็นหัว Ultherapy Transducer ที่นำไปผ่านกระบวนการ upcycle เป็นถังอเนกประสงค์ “มานะ” มากกว่า 1,936 หัวและบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่ถูกนำไปรีไซเคิลมากกว่า 131 กิโลกรัม
" เราตั้งเป้าว่าจะมีคลินิกที่เข้าร่วมโครงการได้ปีละ 60 แห่ง ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการเริ่มต้น เชื่อว่าในอนาคตจะมีคลินิกเข้าร่วมโครงการมากขึ้นสามารถช่วยกันลดคาร์บอนฟุตพรินต์จากขยะที่เกิดจากหัตถการความงามได้มากขึ้นและช่วยลดโลกร้อนไปได้อีกด้วย"
ทั้งนี้ เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทยได้จัดทำเว็บไซต์ติดตามผลการดำเนินงานของโครงการนี้ที่ www.merzaestheticssetzerowaste.com โดยข้อมูลล่าสุด โครงการนี้เทียบเคียงการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ไปแล้วถึง 787กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ ในช่วงนำร่องโครงการ และภายในปี 2570 เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย ตั้งเป้าที่จะขยายความร่วมมือกับคลินิกคู่ค้าสีเขียวเพิ่มขึ้นถึง 180 แห่ง ซึ่งจะสามารถช่วยกันลดคาร์บอนฟุตพรินต์จากขยะที่เกิดจากหัตถการความงามเท่ากับ 9,000กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์
ชนัมภ์ ชวนิชย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีไซเคิลเดย์ จำกัด กล่าวว่า รีไซเคิลเดย์ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการลดและจัดการขยะจากหัตถการความงามอย่างยั่งยืนของ เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย โดยเราจะนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่ยาวนานในด้านการจัดการและรีไซเคิลขยะมาตรฐานสากล มาช่วยผลักดันให้ เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนได้ในอนาคต
ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ นักออกแบบและผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ควอลี่ กล่าวว่า แนวคิดความยั่งยืนเป็นหลักการสำคัญของควอลี่ในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนไปพร้อมกับการรักษ์โลก จึงเป็นที่มาของถังอเนกประสงค์ “มานะ” ซึ่งผลิตมาจากหัว Ultherapy Transducer ที่ใช้แล้วจากพาร์ทเนอร์คลินิกต่างๆ ของเมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย นำมาผ่านกระบวนการ upcycle ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งและยังสามารถนำไปใช้ได้ประโยชน์จริงในชีวิตประจำวัน
'เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย' มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่โครงการด้านความยั่งยืนของเราได้ดำเนินการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง ผ่านการดำเนินการจัดการขยะที่เกิดจากหัตถการความงามอย่างถูกต้องทั้งการรีไซเคิลและการนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ เราต้องขอขอบคุณพาร์ทเนอร์คลินิกและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกๆ ท่านอีกครั้ง และขอเชิญชวนคลินิกคู่ค้าเข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนให้กับวงการเวชศาสตร์ความงามและทำให้โลกของเราน่าอยู่มากขึ้น