‘การเงินสีเขียว’ วิถีความยั่งยืน แรงเคลื่อนธุรกิจสู่เป้าหมาย Net Zero
“การเงินสีเขียว”มีส่วนสำคัญมากเพื่อการบรรลุเป้าหมาย Net Zero สำหรับภาคธุรกิจที่ต้องมุ่งสู่ความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปัจจุบันไปจนถึงอนาคต
ธุรกิจการเงินอย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ แบงค์กรุงศรี ได้กำหนดวิสัยทัศน์ที่เชื่อมโยงประชาคมโลกกับประเทศไทยโดยใช้เครือข่ายการเชื่อมโยงกับบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น หรือ ธนาคารแห่งโตเกียว MUFG ซึ่งมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนไว้อย่างชัดเจน
ไพโรจน์ ชื่นครุฑ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจองค์กร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวในงานสัมมนา Carbon Neutrality Vision and Sustainable Finance Pathway ว่า การตระหนักถึง ESG( E - Environment : สิ่งแวดล้อม, S - Social สังคม และ G - Governance) โดยวางเป้าหมายไว้ที่ ปี 2573 จะบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอน ผ่านการให้บริการทางการเงินทั้งหมดภายต้องเป็นการเงินสีเขียวในปี 2593
ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ธนาคารจึงได้สนันสนุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อความยั่งยืน ได้แก่
- ผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน -สินเชื่อ/ตราสารหนี้เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน
- ผลิตภัณฑ์ทางการเงินส่งเสริมความยั่งยืน -สินเชื่อ/ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน
- ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการใช้เงิน -สินเชื่อ/ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม -สินเชื่อ/ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม -สินเชื่อ/ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน
- โปรแกรมสนับสนุน SMEe ดอกเบี้ย 3.5% นาน 2 ปี
ยังมีการกำหนด Sustainable Policies ทำให้การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ปล่อยสินเชื่อที่มีผลต่อธรรมชาติไม่ได้ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน
- พิจารณาความเสี่ยงระดับสูง เช่น การสร้างเขื่อน
- พิจารณาธุรกรรมที่มีความเสียง เช่น สารอุตสหกรรม
- ให้การสนับสนุน ESG Finance
ทั้งนี้ธนาคารยังสนับสนุนทางการเงินแก่โรงไฟฟ้าถ่านหินให้ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2573 เพิ่มการสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการธุรกิจเพื่อสังคมและความยั่งยืนจำนวน 100,000 ล้านบาท
ด้านภาคธุรกิจที่ต้องใช้บริการทางการเงินเพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนอย่างบริษัท ไทยยูเนียน กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ซึ่งดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2559 โดยให้ความสำคัญต่อทูน่าในทะเล ภาวะโลกร้อน และเรื่องของแรงงาน อย่างกลยุทธ์ SEACHANGE 2030แผนความยั่งยืนปรับโฉมอุตสาหกรรมอาหารทะเลด้วยโซลูชั่นสําหรับผู้คนและโลก เพื่อป้องกันผลกระทบร้ายแรงต่อโลกและผู้คน และต้องลดก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก (GHG) อย่างรวดเร็ว
ยงยุทธ เสฎฐวิวรรธน์ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการบริหารการเงินกลุ่มและศูนย์บริการ ร่วมทางการเงิน บริษัท ไทยยูเนียน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความยั่งยืนในด้านทรัพยากรเป็นเรื่องสำคัญมาก จึงกำหนดการปล่อยมลพิษลดลงครึ่งหนึ่งก่อนปี 2573 และบรรลุศูนย์สุทธิภายในปี 2593
โซลูชั่นการผลิตอาหารนั้น มีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกือบ 26% ทั่วโลก และอุตสาหกรรมอาหารทะเลเป็นส่วนสําคัญของภาคนี้โดยใช้ความสำคัญกับความยั่งยืนจากปลาที่จับตามธรรมชาติเส้นทางสู่การปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยการอนุมัติเป้าหมายลดการปล่อยมลพิษตามหลักวิทยาศาสตร์ในระยะสั้นและระยะยาวรวม 42%
“มีการกำหนดขอบเขต 1, 2 และ 3 โดยขอบเขตที่ 1 เป็นกิจกรรมที่เป็นเจ้าของ/ควบคุม ขอบเขตที่ 2 เป็นแหล่งพลังงานที่ซื้อมา และขอบเขตที่ 3 เป็นกิจกรรมที่ไม่มีเจ้าของและไม่มีการควบคุม”
ดังนั้นจึงมีแนวทางจัดการในด้านของความยั่งยืนที่สำคัญได้แก่ 1.การจัดหา ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการตัดไม้ทําลายป่าทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน ลดการใช้พลังงานจากการดําเนินงานในฟาร์ม ใช้ส่วนผสมอาหารสัตว์ทางเลือก สํารวจเชื้อเพลิงและเทคโนโลยีที่ไม่มีคาร์บอนและคาร์บอนต่ำ
2. การผลิต เลิกใช้ถ่านหินในการใช้พลังงาน ติดตั้งพลังงานหมุนเวียน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานการใช้วัตถุดิบ
3. ผู้บริโภค ของเสียขับเคลื่อนบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลและลดความต้องการวัตถุดิบ
4. ลูกค้า สนับสนุนลูกค้า GHG เป้าหมายและเป้าหมายการปล่อยมลพิษ 5.ให้ความสำคัญกับห่วงโซ่อุปทาน ต้องมีการทำสินค้าคาร์บอนต่ำ อย่างการติดโซลาร์ ทำให้ใช้พลังงานน้อยลง ลดคาร์บอนได้มากขึ้น
“ไทยยูเนียนร่วมมือกับแบงค์กรุงศรี ว่าด้วยเงินกู้และพันธบัตรที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนของสหภาพไทยมีกลยุทธ์มี ดังนี้ การใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญและเครือข่ายของ MUFG โดยกรุงศรีทําหน้าที่เป็น Bookrunner และ Arranger แต่เพียงผู้เดียว และ Joint Sustainability-linked Bonds Advisor ร่วมกับ MUFG ทํางานอย่างใกล้ชิดกับไทยยูเนียน”
ธนาคารต้องตรวจเช็คว่า ผู้ขอสินเชื่อมีการทำเรื่องของความยั่งยืนหรือไม่ เพราะมีผลต่อการปล่อยเงินกู้ รวมถึงการคำนวนต้นทุนในเรื่องของความยั่งยืนเป็นเรื่องของผู้ขอสินเชื่อต้องทำความเข้าใจด้านความยั่งยืน ซึ่งจะเป็นโอกาสในการแข่งขันให้อีกหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุนต่ำลงด้านการใช้พลังงานต่างๆ โอกาสใหม่ในการเกิดธุรกิจที่มั่นคงสามารถสร้างความยั่งยืนได้ในอนาคต