'วิสัยทัศน์ เพื่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม' สู่ธุรกิจที่ยั่งยื่น
ความยั่งยืนไม่ ไม่ได้เป็นแค่เรื่องของสิ่งแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียว เรื่องสุขภาพของมนุษย์ก็เป็นส่วนสำคัญในด้านการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืนในการพัฒนาธึรกิจควบคู่กับสิ่งแวดล้อม
นัฏฐ์ภัสสร ธรรมศิรารักษ์ ผู้อำนวยการแผนกโครงการปฏิบัติการและการจัดซื้อของดานอนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “Danone Impact Journey มุ่งเน้นไปที่สามเสาหลัก ได้แก่ สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเป้าหมายในการลดผลกระทบต่อโลก สุขภาพ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนผ่านการพัฒนาโภชนาการในผลิตภัณฑ์ และสุดท้ายคือการสนับสนุนผู้คนและชุมชน โดยการส่งเสริมความหลากหลายและช่วยเหลือชุมชนที่อยู่รอบตัว
นอกจากนี้ วัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้จะต้องมาจากแหล่งที่ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ ความพยายามด้านความยั่งยืนไม่ได้มีเป้าหมายเพียงแค่การบรรลุตามที่ตั้งไว้ แต่ยังต้องการสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่อุตสาหกรรม เช่น โครงการ Triple Zero ที่ดำเนินการในโรงงานของดานอนที่นิคมอุตสาหกรรมบางพลี ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน การปล่อยน้ำเสีย และขยะให้เป็นศูนย์ รวมทั้งการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนด้วยการใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้หรือย่อยสลายได้ 100% ภายในปี 2573 ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานในอุตสาหกรรมและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
ความสำเร็จที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนของดานอน คือการเป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายแรกในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน B Corp ซึ่งยืนยันถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
แดนิช ราห์มัน ผู้จัดการทั่วไปของดานอน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดานอน ประเทศไทย กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ดานอนได้ยึดมั่นในปรัชญา Dual Project ซึ่งเน้นการสร้างคุณค่าทั้งสำหรับผู้ถือหุ้นและสังคม โดยเชื่อว่าการผสานสองสิ่งนี้จะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ปรัชญานี้เป็นเสาหลักในการกำหนดทิศทางขององค์กร และได้รับการสนับสนุนโดยกรอบการดำเนินงาน Danone Impact Journey (DIJ) ที่เน้นสามเสาหลัก ได้แก่ สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชุมชน ความมุ่งมั่นเหล่านี้นำมาซึ่งการได้รับการรับรองมาตรฐาน B Corp ระดับโลก
ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันถึงเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ที่จะยังคงเดินหน้าสานต่อพันธกิจด้านความยั่งยืน เพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในวงกว้างต่อไป
ยูดี ปราดานา ผู้อำนวยการบริหาร B Market Builder เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่าความสำคัญของมาตรฐาน B Corp ว่า มาตรฐาน B Corp ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรับรององค์กรที่ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นการพิสูจน์ว่าธุรกิจเหล่านี้ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานด้านประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบ และความโปร่งใส ตั้งแต่การดูแลสวัสดิการพนักงาน การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ไปจนถึงการเลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมาตรฐาน B Corp จะกระตุ้นให้ธุรกิจมุ่งมั่นพัฒนาความยั่งยืน เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งพนักงาน ชุมชน ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม
ตรีสุวิชช์ อาริยวัฒน์ ผู้จัดการโครงการ ASEAN Circular Economy Stakeholder Platform จากศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ถึงแนวทางสำคัญว่า การบรรลุความยั่งยืนในภาคธุรกิจจะเกิดขึ้นได้เมื่อองค์กรบูรณาการแนวทางนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์หลัก พร้อมตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน การเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ด้วยการเน้นเศรษฐกิจหมุนเวียน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ และการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน รวมถึงการนำเทคโนโลยีและการวางแผนเชิงกลยุทธ์มาใช้ จะช่วยให้รับมือกับความท้าทายด้านความยั่งยืนที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกได้อย่างแท้จริง
เชอรี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ นักแสดงที่มีบทบาทในการสนับสนุนแนวทางการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน กล่าวว่า ในบทบาทของผู้บริโภคว่า เชอรี่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกจะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือของทุกภาคส่วน รวมถึงผู้บริโภค การเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับค่านิยมของเรา และมีแหล่งที่มาตรวจสอบได้ว่าไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อบริษัทว่าคุณค่าที่เรายึดถือคืออะไร พฤติกรรมผู้บริโภคสามารถสร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในภาคธุรกิจ และผลักดันให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างแท้จริงในสังคม