“คนตัวเล็ก”เติบโตอย่างยั่งยืน หนุนแคมเปณ เปลี่ยนพฤติกรรม

“คนตัวเล็ก”เติบโตอย่างยั่งยืน  หนุนแคมเปณ เปลี่ยนพฤติกรรม

“คนตัวเล็ก เป็นเสียงสะท้อนให้แก่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และภาครัฐได้อย่างดีในการทำให้เกิดการรักษ์โลก ที่ไม่ใช่เพียงมองเรื่องสิ่งแวดล้อม

KEY

POINTS

  • การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดคงทำได้ยาก แต่สามารถทำในเรื่องเล็กๆ ได้ อย่าง การนำกล่อง หรือถุงผ้าออกไปซื้อของที่ตลาดสด หรือ การนำแก้วส่วนตัวไปแล้ว และการแยกขยะ
  • นโยบายหรือกฎหมายที่รัฐประกาศใช้ต้องมีความสอดคล้องกับกลไกทางสังคมที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั่วไป
  • การส่งเสริมความยั่งยืนให้คนรุ่นใหม่ อาจจะต้องจัดโครงการประกวด ทำแคมเปณเพื่อสิ่งแวดล้อม และวัดผลได้ หรือสร้างกิจกรรมที่จะทำให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วม เปิดโอกาสทำงานเชิงพื้นที่ 

“คนตัวเล็ก เป็นเสียงสะท้อนให้แก่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และภาครัฐได้อย่างดีในการทำให้เกิดการรักษ์โลก ที่ไม่ใช่เพียงมองเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนเป็นเพียงทรัพยากร แต่มองสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนเป็นการสร้างวิถีชีวิตที่ดีให้แก่ผู้คน”

มุมมองของ “พั่น พิมพ์รมัย หาราชัย" มหาบัณฑิตป้ายแดง จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” และอดีตเจ้าของธุรกิจ GreenHerich ธุรกิจที่ให้บริการ Refill และ Reuse สินค้ารักษ์โลก ธุรกิจเพื่อสังคมที่มีแรงบันดาลใจมาจากการส่งเสริมการลดขยะพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง และลดการสร้างขยะพลาสติกที่มีปริมาณมากจนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

'ไบโอชาร์' จากชีวมวล ลดคาร์บอน นวัตกรรมสู้โลกร้อน สู่ Net Zero

'AI กําลังปรับปรุงการดูแลสุขภาพ' เพื่อความยั่งยืนมากขึ้น

เปลี่ยนมุมมองดูแลสิ่งแวดล้อม

แม้ปัจจุบัน “ร้าน GreenHerich” จะหยุดกิจการไว้ช่วงนี้ เนื่องจาก “พั่น พิมพ์รมัย” ต้องไปดูแลคุณแม่ที่ป่วย ควบคู่กับการเรียนปริญญาโท และการเป็นอาสาสมัคร แต่การเปิดร้าน GreenHerich 2 แห่ง และให้บริการ Mobile Refill Service เติมสินค้าตามสถานที่ต่าง ๆ มาตั้งแต่ปี 2561 จนถึงเมื่อต้นปี 2567 ได้ผลตอบรับดีมาก คนเมืองให้ความสนใจและอยากเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ ดูแลสิ่งแวดล้อม ช่วยลดโลกร้อน

พั่น พิมพ์รมัย เล่าว่าเธอเป็นเด็กกรุงเทพฯ พื้นที่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย แต่เมื่อไปทำงานที่จังหวัดเชียง ได้ไปเห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านในการทำยาสระผม สบู่ หรือ น้ำยาล้างจานจากธรรมชาติใช้เอง และมีการทำแบบ Refill สามารถนำขวดกลับมาเติมได้เอง มีการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ได้เห็นว่าชาวบ้านเขาให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ซึ่งเมื่อเราย้อนกลับมามองตัวเอง ทำให้รู้สึกว่าเราใช้ทรัพยากรมากเกินความจำเป็น

“ด้วยความเป็นครอบครัวคนจีน พั่นถูกฝึกให้แยกขยะมาตั้งแต่เด็ก เพราะอะไรที่ยังใช้ได้ต้องคัดแยก และรวบรวมเพื่อนำไปส่งต่อให้ซาเล้ง ซึ่งเราทำจนเป็นนิสัย ชอบคัดแยกขยะ แต่เราไม่เคยประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ หรือน้ำเป็นสีแดง หรือไฟไม่ติด แต่เมื่อได้มีโอกาสไปทำงานที่จ.เชียงราย เราได้เห็นการกระทำตัวเองที่ผ่านมาว่าการใช้ชีวิตปกติ เราไม่ได้คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็น และวิถีชีวิตของชาวบ้าน ทำให้ปรับเปลี่ยนมุมมอง ซื้อของจากคุณค่ามากกว่าแพคเกจจิ้ง หรือ ราคาถูกเพียงอย่างเดียว” พั่น พิมพ์รมัย กล่าว

“คนตัวเล็ก”เติบโตอย่างยั่งยืน  หนุนแคมเปณ เปลี่ยนพฤติกรรม

“GreenHerich”แลกเปลี่ยนความยั่งยืน

หลังจาก “พั่น พิมพ์รมัย” ไปทำงานที่ต่างจังหวัด และกลับมาเรียนต่อปริญญาโท เริ่มสนใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และจากการไปหลักสูตรระยะสั้นจากตลาดหลักทรัพย์บ่มเพาะธุรกิจผู้ประกอบการสังคม เพราะต้องยอมรับว่าคนจิตใจดีมักจะทำธุรกิจไม่เก่ง เป็นการติดอาวุธทางธุรกิจ

พั่น พิมพ์รมัย เล่าต่อว่าปี 2561  เธอได้นำไอเดียจากที่ได้ไปใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้านมาทำธุรกิจร้าน GreenHerich ซึ่งเป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่สนับสนุนให้ผู้บริโภคนำภาชนะใช้ซ้ำ มาเติมสินค้าที่ชื่นชอบ อย่าง ยาสระผม น้ำยาล้างจาน สบู่เหลว นอกจากนั้น ยังนำเสนอสินค้าที่สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง และสินค้าที่ใช้ทดแทนพลาสติก โดยร่วมมือกับพันธมิตร แบรนด์ต่างๆ ในชุมชน เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค

“เราอยากเป็นทางเลือกให้แก่คนที่ต้องการสินค้ารักษ์โลก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และต้องการลดการใช้พลาสติก ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคดีมาก โดยเฉพาะการนำเสนอ แลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด ไอเดียในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิต มีจิตใจที่จะทำเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นที่ให้คนที่มีแนวคิดคล้ายๆ กันได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน” พั่น พิมพ์รมัย กล่าว

“คนตัวเล็ก”เติบโตอย่างยั่งยืน  หนุนแคมเปณ เปลี่ยนพฤติกรรม

ส่งเสริมคนรุ่นใหม่ผ่านแคมเปณ

ความยั่งยืนจะให้ความสำคัญกับ 3 เสาหลัก คือเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งความยั่งยืนจะช่วยเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต เศรษฐกิจดี สังคมดี สิ่งแวดล้อมต้องรักษา

พั่น พิมพ์รมัย เล่าต่อไปว่าด้านเศรษฐกิจนี้แหละที่คิดว่ามันไม่ค่อยสอดคล้อง และอุปสรรคต่อด้านเศรษฐกิจก็คือโมเดลของ Refill Shop : การใช้ซ้ำ การค่อยๆ เติม มันแข่งไม่ทันคนอื่น ถ้าจะเพิ่มยอดขายให้ไม่ย้อนแย้งกับโมเดลร้าน ก็ต้องขายน้ำยาเป็นแกลลอนๆ ไปเลย เช่น จุฬาฯ หรือองค์กรใหญ่ที่ไหนก็ตามต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว สนใจเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมไหม? ถ้าสนใจ เราก็สามารถขยับขยายการขายไปตรงนั้นได้

พั่น พิมพ์รมัย เล่าด้วยว่าคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ซึ่งเป็นวิธีที่ทุกคนสามารถทำได้ เช่น การปิดน้ำเวลาแปรงฟัน กินเนื้อสัตว์น้อยลงกินพืชผักมากขึ้น ซื้อเสื้อผ้าน้อยลง แยกขยะ และมีความตื่นตัวกับแคมเปณ เรื่องความยั่งยืน สนับสนุนสินค้าชุมชน ภาคธุรกิจที่มีธรรมาภิบาลในการรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่กดขี่ชุมชน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซื้อของโดยดูใช้งานเป็นหลักไม่ใช่ราคาถูก กินข้าวหมดจาน และพกอุปกรณ์ส่วนตัว เช่นหลอด แก้ว กล่องข้าว ในพฤติกรรมที่คนตัวเล็กๆ สามารถช่วยได้

“การส่งเสริมความยั่งยืนให้คนรุ่นใหม่ อาจจะต้องจัดโครงการประกวด ทำแคมเปณเพื่อสิ่งแวดล้อม และวัดผลได้ หรือสร้างกิจกรรมที่จะทำให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วม เปิดโอกาสทำงานเชิงพื้นที่ที่มีคนรุ่นใหม่ โรงเรียน มหาวิทยาลัย และชุมชน ขณะที่ภาครัฐ หรือภาคเอกชนต้องมีโจทย์ชัดเจนว่าจะส่งเสริมความยั่งยืน เรื่องอะไร เช่น สิ่งแวดล้อมในเมือง การมีพื้นที่สีเขียว การแยกขยะ รวมถึงการปลูกฝัง ทัศนคติด้านความยั่งยืน โดยเลิกมองสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องทรัพยากร แต่ให้มองสิ่งแวดล้อมเป็นการสร้างวิถีชีวิตที่ดี” พั่น พิมพ์รมัย กล่าว

“คนตัวเล็ก”เติบโตอย่างยั่งยืน  หนุนแคมเปณ เปลี่ยนพฤติกรรม

เปลี่ยนจากสิ่งเล็กๆ ดูแลสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนให้สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องยาก นอกจากเรื่องปากท้องที่ต้องดูแล นโยบายหรือกฎหมายที่ทางภาครัฐออกมาเพื่อให้คนปฏิบัติตามนั้นไม่สอดคล้องกับสวัสดิการพื้นฐานที่ควรส่งเสริมการเปลี่ยนครั้งใหญ่นี้ แต่กลายเป็นว่าต้นทุนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นถูกผลักภาระให้ประชาชนต้องแบกรับเข้าไปอีก นั่นคือความผิดพลาดของรัฐที่กระทำต่อประชาชนที่จะหันมาสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อม

ขนาดตัว “พั่น พิมพ์รมัย” เองที่สนใจประเด็นสิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดคงทำได้ยาก แต่เราสามารถทำในเรื่องเล็กๆ ได้ อย่าง การนำกล่อง หรือถุงผ้าออกไปซื้อของที่ตลาดสด หรือ การนำแก้วส่วนตัวไปแล้ว และการแยกขยะ ดังนั้น สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ต้องมีการส่งเสริม คือ ความรู้และความพยายามอย่างมาก ในการแยกขยะพลาสติกที่มีหลายเลเยอร์ ต้องแยกแบบไหน แล้วต้องแยกไปตลอด และต้องอดทนรอให้จำนวนขยะที่แยกมีเยอะประมาณหนึ่งถึงจะนำออกไปทิ้งในจุดรับซื้อ

 “นโยบายหรือกฎหมายที่รัฐประกาศใช้ต้องมีความสอดคล้องกับกลไกทางสังคมที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั่วไป และปัญหาขยะพลาสติกที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่ เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อม เดินตามเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่กำหนดไว้”พั่น พิมพ์รมัย กล่าวทิ้งท้าย

“คนตัวเล็ก”เติบโตอย่างยั่งยืน  หนุนแคมเปณ เปลี่ยนพฤติกรรม

“คนตัวเล็ก”เติบโตอย่างยั่งยืน  หนุนแคมเปณ เปลี่ยนพฤติกรรม

“คนตัวเล็ก”เติบโตอย่างยั่งยืน  หนุนแคมเปณ เปลี่ยนพฤติกรรม

“คนตัวเล็ก”เติบโตอย่างยั่งยืน  หนุนแคมเปณ เปลี่ยนพฤติกรรม

“คนตัวเล็ก”เติบโตอย่างยั่งยืน  หนุนแคมเปณ เปลี่ยนพฤติกรรม

“คนตัวเล็ก”เติบโตอย่างยั่งยืน  หนุนแคมเปณ เปลี่ยนพฤติกรรม

“คนตัวเล็ก”เติบโตอย่างยั่งยืน  หนุนแคมเปณ เปลี่ยนพฤติกรรม