'โกลบอลคอมแพ็กฯ' เร่งสร้างธุรกิจ-สังคมที่เท่าเทียมสู่ความยั่งยืนในอนาคต
สังคมไทยจะมีความยั่งยืนได้ ต้องมีการสร้างความพร้อมให้กับสังคม รวมถึงยกระดับสังคม การศึกษา และธุรกิจควบคู่ไปด้วยกันประเทศไทยก็จะสามารถเข้าสู่ความยั่งยืนได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายศุภชัย เจียรวนนท์นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หัวข้อ "Forward Faster to 2030 for Inclusive Business"เร่งบรรลุเป้าหมาย 2030 สร้างธุรกิจแห่งอนาคต สู่สังคมที่เท่าเทียม กล่าวว่า
ความก้าวหน้าด้านความยั่งยืนของสมาชิก มีการเจรจาเกี่ยวกับประเด็นสำคัญ เช่น ESG การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมีความคืบหน้าอย่างมากในการเปลี่ยนคำมั่นสัญญาเป็นนโยบายและการปฏิบัติจริง โดยกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้สมาชิก มาจากประเทศที่มีระดับ GDP สูง ตามรายงานความยั่งยืนครอบคลุมด้านสังคม สิ่งแวดล้อม แรงงาน และการต่อต้านการทุจริต โดย 98% ของสมาชิกได้รายงานภายในวันที่ 31 ธ.ค. 67
นอกจากนี้เรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความยั่งยืนสมาชิกยังให้ความสำคัญ ดังนี้ 1.สมาชิกเริ่มใช้พลังงานสะอาด 20% และลงทุนในโครงการ 100 โครงการ 2.การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งหนึ่งคิดเป็นประมาณ 30 ล้านตัน และ 3.มีการสร้างรายได้จากสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคิดเป็น 40% ในบางรายรวมถึงมีการอบรมพนักงานด้านต่างๆ
ทั้งนี้กลยุทธ์ความยั่งยืนและเป้าหมาย SDGs มีการเสนอบทเรียนส่งเสริมความยั่งยืนด้วยการตั้งเป้าหมาย ตัวชี้วัด และรายงานผลอย่างต่อเนื่อง และมุ่งสู่การแข่งขันทางธุรกิจที่รับผิดชอบและวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการบรรลุเป้าหมาย SDGs ในระดับที่ดีเยี่ยม อันดับ 1 ของอาเซียนและอันดับ 45 ของโลก ทั้งนี้รายงานสำนักงานใหญ่ของ UN แสดงความกังวลเกี่ยวกับความล่าช้าของโครงการ โดย 48% มีความล่าช้าและ 37% ไม่มีหรือถดถอย รวมถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนและการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงความล่าช้าในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ซึ่งส่งผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อเศรษฐกิจโลก โดยอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจโลก 12% ต้องมีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ
เช่น มาตรการของสหรัฐฯ ในปี 2026 ส่งผลกระทบต่อสินค้าส่งออกไทย เช่น เหล็กและอลูมิเนียม
การเติบโตของดิจิทัลเศรษฐกิจไทยและความท้าทาย โดยมูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยในปี 2548 สูงถึง 2.5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 17% ของ GDP และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง
นอกจากนี้ธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์คาดว่าจะเติบโตมากกว่า 30% ในอีก 4 ปีข้างหน้า การลงทุนในดาต้าเซ็นเตอร์จะมีมูลค่ามากกว่า 200,000 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาดเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันของประเทศ เนื่องจากดาต้าเซ็นเตอร์ใช้พลังงานจำนวนมาก
นอกจากนี้เป้าหมายความยั่งยืนขององค์กร Sustainable Development Goals ได้กำหนดเป้าหมายด้านความเสมอภาค (SDG 5) โดยให้โอกาสทุกคนมีส่วนร่วมเท่าเทียมกัน และมุ่งลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13) โดยตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ทั้งนี้ยังกำหนดค่าจ้างที่เหมาะสม (SDG 8) และดูแลแหล่งน้ำอย่างน้อย 100 แห่งทั่วโลก (SDG 6)
ในส่วนของการศึกษานั้น ต้องส่งเสริมการศึกษาไทยสู่ความเท่าเทียม โดยเสนอให้ประเทศไทยผลักดันปัจจัยพื้นฐานสู่ความเท่าเทียม เน้นการศึกษาที่มีคุณภาพและเท่าเทียม ผ่านการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและศูนย์การเรียนรู้ และเสนอให้สถานประกอบการเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและส่งเสริมทักษะดิจิทัล รวมถึงส่งเสริมยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีดิจิทัล เริ่มเตรียมพร้อมทรัพยากรมนุษย์สำหรับเศรษฐกิจยุคใหม่ ส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและแหล่งเงินทุน และพัฒนาสิ่งดิจิทัลเพื่อความบันเทิงและความยั่งยืน
และส่วนที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและระบบประกันภัย ต้องมีการสร้างรายได้จากการดูแลรักษาและปลูกป่าส่งผลดีต่อชุมชน ส่งเสริมระบบประกันพื้นฐาน เช่น ประกันสุขภาพและประกันภัยต่างๆ รวมถึงส่งเสริม ธุรกิจเกษตรกรรมมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและดึงดูดความสนใจจากผู้ประกอบการด้านประกันภัย
นอกจากนี้ธุรกิจที่ยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม ต้องเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานธุรกิจและส่งเสริม SME รับรองสินค้าและบริการที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกว่า 4,000 รายการได้รับการรับรองเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ไทยเองได้เร่งสร้างโอกาสสู่ความยั่งยืนดำเนินการอย่างรวดเร็วและเชิงรุกเพื่อแก้ไขวิกฤต สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานและพลิกธุรกิจสู่ความยั่งยืนสำหรับอนาคต