‘กัมพูชา’ พบ ‘ปลาบึก’ 6 ตัว ในแม่น้ำโขง เกิดความหวังอนุรักษ์ฟื้นฟูสายพันธุ์

‘กัมพูชา’ พบ ‘ปลาบึก’ 6 ตัว ในแม่น้ำโขง เกิดความหวังอนุรักษ์ฟื้นฟูสายพันธุ์

พบ “ปลาบึก” 6 ตัว ในแม่น้ำโขง ที่กัมพูชา ทำให้เกิดความหวังสำหรับสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ การค้นพบนี้เป็น “สัญญาณแห่งความหวัง” ในการอนุรักษ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่และหายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก 

KEY

POINTS

  • กัมพูชา” พบปลา “ปลาบึก” ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก 6 ตัว ในแม่น้ำโขง ในช่วงไม่ถึงสัปดาห์ ทำให้เกิดความหวังในการอนุรักษ์สายพันธุ์
  • ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนประชากรปลาบึกยักษ์ลดลงถึง 80% อาจมีปลาบึกเหลืออยู่ในแม่น้ำโขงเพียงไม่กี่ร้อยตัวเท่านั้น 
  • เนื่องจากการประมงเกินขีดจำกัด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งมีการสร้างเขื่อนปิดกั้นเส้นทางอพยพของปลาและวางไข่ตลอดลำน้ำโขง 

กัมพูชา” พบปลา “ปลาบึก” 6 ตัว ในแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่และหายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก โดยพวกมันถูกจับและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในกัมพูชา ทำให้เกิดความหวังในการอนุรักษ์และหวังว่าปลาชนิดนี้จะอยู่รอดในธรรมชาติได้

ปลาบึกยักษ์สามารถเติบโตได้ยาวถึง 3 เมตรและหนักได้ถึง 300 กิโลกรัม พบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ซึ่งในอดีตปลาบึกเคยอาศัยตั้งแต่เวียดนามจนถึงมณฑลยูนนานของจีน 

แต่ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนประชากรปลาบึกยักษ์ลดลงถึง 80% ตามข้อมูลขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าอาจมีปลาบึกเหลืออยู่ในแม่น้ำโขงเพียงไม่กี่ร้อยตัวเท่านั้น เนื่องจากการประมงเกินขีดจำกัด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งมีการสร้างเขื่อนปิดกั้นเส้นทางอพยพของปลาและวางไข่ตลอดลำน้ำโขง 

ผู้คนหลายล้านคนที่ใช้ชีวิตอยู่ริมแม่น้ำโขง แต่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นปลาบึกยักษ์ ดังนั้นการพบปลาบึกยักษ์ 6 ตัวภายใน 5 วันถือเป็นเรื่องไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ปลาบึกสองตัวแรกอยู่ในแม่น้ำโตนเลสาบ สาขาของแม่น้ำโขงไม่ไกลจากกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ปลาเหล่านี้ถูกติดป้ายประจำตัวและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ถัดมาวันที่ 10 ธันวาคม ชาวประมงจับปลาบึกยักษ์ได้อีก 4 ตัว โดยมี 3 ตัวมีความยาวมากกว่า 2 เมตร หนัก 120 กิโลกรัมและ 131 กิโลกรัมตามลำดับ

‘กัมพูชา’ พบ ‘ปลาบึก’ 6 ตัว ในแม่น้ำโขง เกิดความหวังอนุรักษ์ฟื้นฟูสายพันธุ์

ดูเหมือนว่าปลาที่จับได้จะอพยพจากแหล่งที่อยู่อาศัยในที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงใกล้ทะเลสาบโตนเลสาบของกัมพูชาไปทางเหนือตามแม่น้ำโขง โดยมีแนวโน้มที่จะไปวางไข่ในภาคเหนือของกัมพูชา ลาว หรือไทย

“ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าปลาบึกจะไม่สูญพันธุ์ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งช่วยให้เรามีเวลาอนุรักษ์และฟื้นตัวปลาชนิดนี้”
ดร.เซบ โฮแกน นักชีววิทยาวิจัยจากมหาวิทยาลัยเนวาดา เรโน หัวหน้าโครงการ Wonders of the Mekong กล่าว

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โครงการอนุรักษ์ร่วมกันระหว่าง Wonders of the Mekong และ สำนักงานประมงแห่งประเทศกัมพูชา ได้จับปลาบึกมาติดแท็ก และปล่อยปลาชนิดนี้ไปประมาณ 100 ตัว ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานของปลาดุก แหล่งที่อยู่อาศัย และสุขภาพของสายพันธุ์ปลาชนิดนี้

“ข้อมูลนี้ใช้สร้างเส้นทางอพยพและปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัย เพื่อช่วยให้ปลาเหล่านี้สามารถอยู่รอดได้ในอนาคต” โฮแกนกล่าว

ปลาบึกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ โดยปรากฏอยู่ในภาพวาดถ้ำอายุกว่า 3,000 ปี และถือเป็นสัญลักษณ์ของแม่น้ำโขง การประมงของแม่น้ำโขงเป็นแหล่งอาหารของผู้คนนับล้านคน ที่มีมูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี

ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ ปัจจุบันชาวประมงทราบถึงความสำคัญของในการรายงานการจับปลาหายากและใกล้สูญพันธุ์ โดยไม่ได้ตั้งใจให้เจ้าหน้าที่ทราบ ซึ่งช่วยให้นักวิจัยสามารถเข้าถึงสถานที่ที่จับปลาได้ วัดขนาดและติดป้ายก่อนปล่อยปลาได้

เฮง กง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดของกัมพูชา กล่าวในแถลงการณ์ว่า “ความร่วมมือของพวกเขามีความสำคัญต่อความพยายามในการวิจัยและอนุรักษ์ของเรา”

นอกจาก ปลาบึกแล้ว แม่น้ำโขงยังเป็นที่อยู่อาศัยของปลาขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ เช่น ปลากระเบนราหู และปลาผีแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหนึ่งในปลาสะนากยักษ์ที่เคยคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว จนกระทั่งมีผู้พบเห็นเมื่อต้นปีนี้

ไบรอัน ไอเลอร์ ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของศูนย์สติมสันในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่า การจับปลาบึก 4 ตัวได้ในวันเดียวกันนั้นน่าจะเป็น “เรื่องราวปลาใหญ่แห่งศตวรรษของแม่น้ำโขง” 

ไอเลอร์กล่าวว่า การพบเห็นปลาเหล่านี้ช่วยยืนยันว่าการอพยพของปลาประจำปียังคงแข็งแกร่ง แม้จะมีแรงกดดันต่าง ๆ มากมายที่สิ่งแวดล้อมริมแม่น้ำโขงต้องเผชิญ

“หวังว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้จะแสดงให้ประเทศต่าง ๆ ในแม่น้ำโขงและทั่วโลกเห็นว่า ประชากรปลาขนาดใหญ่ของแม่น้ำโขงมีความพิเศษเฉพาะตัว และจำเป็นต้องได้รับการอนุรักษ์” ไอเลอร์กล่าว

ปัจจุบันกัมพูชาออกข้อกำหนดการทำประมงในแม่น้ำ รวมถึงกำหนดอุปกรณ์ที่ใช้ในประมง เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ถูกจับขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ

นักอนุรักษ์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เหตุการณ์ที่จับปลาบึกได้ 6 ตัวนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้น “ยุคใหม่แห่งการอนุรักษ์” และ สร้างความหวังสำหรับการอยู่รอดของสายพันธุ์หายาก ในแหล่งที่อยู่อาศัยดั้งเดิมตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องย้ายไปอยู่ในสถานอนุรักษ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น


ที่มา: CBS NewsReutersThe GuardianXinhua