ทั่วโลกชิงขาใหญ่“ตลาดคาร์บอนเครดิต” ส่งเกณฑ์ราคาวางมาตรฐานสากล
เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ก่อให้เกิดการสร้างกลไกทางเศรษฐกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้คือ“ตลาดคาร์บอน”ซึ่งกำลังเพิ่มความสำคัญอย่างต่อเนื่อง
องค์การการค้าโลก หรือ WTO เผยแพร่รายงาน “Working together for better climate action CARBON PRICING, POLICY SPILLOVERS, AND GLOBAL CLIMATE GOALS” สาระสำคัญ ส่วนหนึ่งเล่าถึง ตัวชี้วัดว่าด้วยราคาของคาร์บอนที่ซื้อขายในตลาดที่บอกนัยสำคัญว่า ตลาดคาร์บอนกำลังจะเป็นกลยุทธ์สำคัญทีี่จะส่งมนุษยชาติสู่เป้าหมาย Net Zero
ทั้งนี้ เครื่องมือกำหนดราคาคาร์บอน เช่น ภาษีเชื้อเพลิงฟอสซิลและเงินอุดหนุน หรือใบอนุญาตต่างๆ ซึ่งต้องใช้ระบบ ETS ย่อ หรือ Emission Trading Scheme เพื่อระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบันรูปแบบการค้าคาร์บอนกำหนดเป็นหน่วยต่อตันคาร์บอน หรือ CO2 ที่เทียบเท่าในกรณีของก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ใช่ CO2
การกำหนดราคาคาร์บอนมีผู้เล่นที่สำคัญคือกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องใช้สิทธิจำนวนมาก เช่น พลังงานและภาคอุตสาหกรรมหนัก จึงทำให้ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางสูงขึ้น ตรงข้ามกันคือ การกำหนดเงื่อนไขและการลดหย่อนในระบบ ETS ที่ทำให้ราคาคาร์บอนลดลง
ดังนั้น จึงต้องลดช่องว่างสองส่วนนี้เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาดคาร์บอนที่สมเหตุสมผล และไม่ปล่อยให้กำหนดราคาคาร์บอนเสียสมดุลเพราะตลาดคาร์บอนอาจนำไปใช้เพิื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น การสร้างรายได้หรือเพื่อแก้ไขปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น มลพิษทางอากาศหรือความต้องการเงินทุน ที่เป็นความท้าทายที่อาจทำให้ราคาคาร์บอนไม่อยู่ในสัดส่วนที่สมเหตุสมผลสำหรับการซื้อขายในฐานะเป็นสินค้าอย่างหนึ่ง
การประมาณองค์ประกอบของการกำหนดราคาคาร์บอนอาจใช้ 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางแบบล่างขึ้นบน คือใช้เอกสารทางการภายในประเทศ รวมถึงกฎหมายและนโยบายต่างๆมากำหนดและบันทึกอัตราภาษีคาร์บอนอย่างเป็นทางการ
ส่วน แนวทางแบบบนลงล่าง คือ การอนุมานราคาคาร์บอนจากความแตกต่างระหว่างต้นทุนการจัดหาและราคาขายปลีก (แนวทางช่องว่างราคา) แม้ว่าจะแม่นยำน้อยกว่าแนวทางแบบล่างขึ้นบน แต่แนวทางนี้สามารถช่วยสร้างการประมาณราคาคาร์บอนสำหรับการบังคับใช้กับกลุ่มพลังงาน และภาคส่วนที่ไม่มีทรัพยากรในการรวบรวมข้อมูล ข้อดีของวิธีนี้คือง่ายและเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกการจัดทำคาร์บอนเครดิตได้
นอกจาก วิธีการที่ต้องถือเป็นแนวทางปฎิบัติเดียวกันแล้ว องค์กรระหว่างประเทศต่าง กำลังติดตามการกำหนดราคาคาร์บอนในแต่ละประเทศซึ่งใช้มาตรวัดที่ต่างกัน ซึ่งต้องเร่งรวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดแนวทางเดียวกัน เช่น กรณีธนาคารโลก กำหนดแผนควบคุมการกำหนดราคาคาร์บอน เพื่อใช้ในการคำนวนภาษีและการซื้อขายในระบบETS ด้านองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD ก็เช่นกันกำลังคำนวนการกำหนดราคาคาร์บอนและภาษีเชื้อเพลิงที่เหมาสมโดยใช้ข้อมูลในแต่ละประเทศ ซึ่งพบว่า ปี 2030 เกือบ 80 ประเทศ ที่มีการกำหนดราคาคาร์บอนโดนใช้วิธีจากล่างขึ้นบนแล้ว ซึ่งครอบคลุม 82% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ส่วนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)ก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อประมาณระดับราคาคาร์บอนที่ชัดเจนเ
ตัวชี้วัดราคาคาร์บอนเป็นสิ่งสำคัญและต้องสร้างมาตรฐานเพราะราคาคาร์บอนเครดิตจะเป็นต้นทุนสินค้าจากนี้ต่อไป ทั้ังในสหภาพยุโรป(อียู) และสหราชอาณาจักร(ยูเค) อย่างไรก็ตาม การกำหนดราคาคาร์บอน ไม่เพียงต้องคำนึงถึงหลักการซื้อขายในตลาดเท่านั้น แต่ต้องมองไปถึงคุณภาพ และศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนที่แท้จริงด้วย
ทั้งนี้ ราคาคาร์บอนที่เหมาะสมจะนำไปสู่การผลิตคาร์บอนเครดิตที่มากขึ้น เพื่อซัพพลายเข้าตลาดและสิ่งที่จะได้รับกลับมาคือศักยภาพการดูซับก๊าซเรือนกระจก
มีการประเมินว่า การเพิ่มราคาคาร์บอน 10 ยูโรจะช่วยลดการปล่อย CO2 จากเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ 3.7% โดยเฉลี่ยในระยะยาว ขณะเดียวกัน รายได้ของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าจากนี้ แม้ว่าในระยะยาวการเพิ่มราคาคาร์บอนจะส่งผลให้การปล่อยคาร์บอนลดลงอีก เพราะยิ่งแพงก็ยิ่งต้องซื้อให้น้อยลงนั่นเอง
ในส่วนของประเทศไทย เมื่อเร็วๆนี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ เข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Market Club ธนาคารโลก ซึ่งมีหนังสือเชิญประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกClimate Market Club เพื่อส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในการดำเนินโครงการนำร่องเพื่อการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศภายใต้ข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส (Article 6.2 of the Paris Agreement)
โดยยึดหลักการที่สำคัญในการดำเนินงาน ได้แก่ 1. การประกันความน่าเชื่อถือของผลการลดก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มความมุ่งมั่นในการลดก๊าซเรือนกระจก 2.การปรับบัญชีและหลีกเลี่ยงการนับซ้ำของผลการลดก๊าซเรือนกระจก 3. การดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติภายใต้ข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส
“Climate Market Club ปัจจุบันมีสมาชิก 14 ประเทศ บังคลาเทศ ภูฏาน ชิลี กานา คาซัคสถาน ญี่ปุ่น เปรู รวันดา เซเนกัล สิงคโปร์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ยูเครน และนามีเบีย คาดว่าการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยได้รับทราบแนวโน้มและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกฎกติกาตลาดคาร์บอนระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเข้าร่วมการดำเนินงานตลาดคาร์บอนระหว่างประเทศต่อไป”
สำหรับการเข้าร่วมเป็นสมาชิก Climate Market Club ในนามของประเทศไทย มีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยดำเนินการ
ตลาดคาร์บอนเครดิต จะเป็นอีกเครื่องมือที่เป็นกลไก ที่จะทำให้เป้าหมายคาร์บอนศูนย์สำเร็จได้ในกำหนดเวลาที่ความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศยังไม่ได้ทำร้ายโลกของเราจนมากเกินไป