Sustainability Week Asia ครั้งที่ 4 เจาะลึกเป้าหมายNet Zero

Sustainability Week Asia ครั้งที่ 4 งานสัมมนารวบรวมนักธุรกิจ และสุดยอดผู้นำ กว่า 1,000 คน เจาะลึกถึงการบรรลุเป้าหมายด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)
โดยภายในงาน 4th Annual Sustainability Week Asia ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม 2568 กรุงเทพฯ ประเทศไทย ได้รวบรวมและสรุปความคิดเห็นจากสุดยอดนักธุรกิจและผู้นำกว่า 1,000 คนได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มอนาคตของการเงินสีเขียวในเอเชีย การเปลี่ยนผ่านพลังงาน และ การคมนาคม จะเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืน และบรรลุเป้าหมาย Net Zero เพื่อเป็นแนวทางให้ธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างผลลัพธ์เชิงบวกด้านสิ่งแวดล้อมและก้าวสู่การสร้างโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน
จากกระแสการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบยั่งยืน และใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม กำลังมาแรง และพร้อมจะดึงดูดนักเดินทางจากทั่วโลก เป็นหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจที่ถูกหยิบยกขึ้นมาสัมมนาในครั้งนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
เปิดเหตุผล ILO และที่มา 65 ปี ไทยต้องขยายอายุผู้ประกันตน
เตรียมรับมือ ขาดแคลนแรงงาน ผลิตผล-รายได้ภาษีลดลง ผลเด็กเกิดน้อย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ผลการวิจัยของ Professor Lisa Wan , Associate Professor จาก School of Hotel and Tourism Management จาก The Chinese University of Hong Kong (CUHK) Business School พบว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเลือกพักโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ ที่เรียกว่า โรงแรมสีเขียว เช่น รีสอร์ตหรูที่ถูกออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้วัสดุในท้องถิ่น และมีกิจกรรมที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ อย่างที่ฮ่องกง เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบยั่งยืนที่ประสบความสำเร็จ
ล่าสุดเมื่อปี 2024 ฮ่องกงได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 9 จุดหมายปลายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน เนื่องจากภูมิประเทศที่เป็นเกาะ มีธรรมชาติที่สวยงาม และมีกิจกรรมเชิงธรรมชาติ เช่น เส้นทางเดินป่าที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ทั้งนี้ยังได้รับการสนับสนุนจริงจังจากภาครัฐ อย่างนโยบายงดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว เพื่อทำให้ประชาชนตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วนั้นก็คือสภาพอากาศที่ผันผวนรุนแรงของฮ่องกง , มีการปลูกฝังประชาชนและยกย่องผู้ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมีบทลงโทษสำหรับผู้เป็นตัวการที่ก่อให้เกิดมลพิษ รวมถึงหลายโรงแรมหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วยการลดขยะ และ นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดการใช้พลังงาน
โดย Prof. Lisa Wan ยังชี้ให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นได้ด้วย เพราะจะเป็นแรงดึงดูดนักเดินทางจากทั่วโลกนั้นเอง ทั้งนี้ยังมองว่าประเทศไทยมีความหลากหลายของธรรมชาติ และมีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่น่าสนใจ จึงมีความพร้อมอย่างยิ่งที่จะนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืนได้เป็นอย่างดี
รัฐต้องหามาตรการและเงินมาดูแลประชากรในวัยเกษียณมากขึ้น
สำหรับอีกหนึ่งในข้อกังวลที่ถูกหยิบยกมาสัมมนาในงานครั้งนี้ คือ โลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยตรงเพราะการจัดเก็บภาษีที่ลดลง และ รัฐจะต้องหามาตรการและเงินมาดูแลประชากรในวัยเกษียณมากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผนเงินบำนาญหลังวัยเกษียณแบบยั่งยืน
ผลงานวิจัยของ Professor Johnny Li , Tan Bingzhao Professor of Actuarial Science , Department of Finance จาก The Chinese University of Hong Kong (CUHK) Business School ชี้ว่าภายในปี 2050 ประชากรในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิกที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะมีมากกว่าหนึ่งในสี่ ซึ่งจะสร้างภาระให้กับเศรษฐกิจในการสนับสนุนสังคมผู้สูงอายุในขณะที่ต้องรักษาการเติบโตไว้ ด้วยการที่อายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นและอัตราการเกิดลดลง ความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณจึงมีความไม่แน่นอนมากขึ้น แล้วจะต้องทำอย่างไรถึงจะสามารถปรับแนวทางบำนาญสำหรับวัยเกษียณอย่างยั่งยืนให้สอดคล้องกับอายุที่มากขึ้น เพื่ออนาคตที่มั่นคงขึ้นได้อย่างไร ?
หนึ่งในวิธีการบริหารความเสี่ยง คือ จะต้องลดความเสี่ยงต่างๆ และ ลงทุนในสิ่งที่จะส่งผลคลอบคลุมตลอดชีวิต ทั้งนี้เรื่องนี้ไม่มีข้อกำหนดตายตัวเนื่องจากขึ้นกับบริบทของแต่ละบุคคล คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับการวางแผนทางเงินในอนาคต คือ เริ่มให้เร็วดีที่สุด, พิจารณาความจำเป็นพื้นฐานที่แท้จริงของชีวิต และสุดท้ายคือการเตรียมความพร้อมสำหรับเรื่องที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การทำประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ เป็นต้น ทั้งนี้ Prof. Johnny Li ยังกล่าวด้วยว่า สิ่งเหล่านี้ทุกคนไม่ควรมองข้าม เนื่องจากความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว คนตกงาน ดังนั้น การวางแผนบริหารเงินเพื่อวัยเกษียณอย่างยั่งยืน จึงมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่ง