คุณสมบัติ Virtual Bank โลกยุคใหม่ของธนาคารไร้สาขา

คุณสมบัติ Virtual Bank โลกยุคใหม่ของธนาคารไร้สาขา

เปิดคุณสมบัติ Virtual Bank โลกยุคใหม่ของการเงินยุคดิจิทัล อนาคตของธนาคารไทยไร้สาขา หลังธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดกรอบหลักเกณฑ์การขอจัดตั้งอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศเปิดให้มีผู้ให้บริการประเภทใหม่ นั่นคือ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา หรือ Virtual Bank พร้อมกำหนดกรอบหลักเกณฑ์การขอจัดตั้งและกำกับดูแลเอาไว้อย่างชัดเจน 

โลกการเงินยุคใหม่และเทคโนโลยี Virtual Bank คืออะไร มีความเหมือนหรือแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ที่มีบริการ Mobile โทรศัพท์มือถือ หรือ Internet Banking อย่างไร 

Virtual Bank คืออะไร

Virtual Bank คือ ธนาคารพาณิชย์รูปแบบใหม่ที่ไม่มีสาขาเหมือนในปัจจุบันที่เรามักเห็นอยู่ทั่วไป โดยจะเน้นการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก

ส่วน Mobile หรือ Internet Banking ถือเป็นหนึ่งในช่องทางการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิมเท่านั้น

การดำเนินการดังกล่าวมีเป้าหมายสำคัญ คือ เพื่อให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้เทคโนโลยีข้อมูลที่หลากหลาย และบริการดิจิทัล เข้ามานำเสนอบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนพนักงาน อาคารและสถานที่ ขณะที่ผู้ใช้บริการรายย่อย และผู้ประกอบการ SMEs ยังสามารถเข้าถึงการบริการทางการเงินอย่างเหมาะสมได้ด้วย

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ Virtual Bank เป็นใคร

Virtual Bank สามารถให้บริการลูกค้าได้ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อย และผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งกลุ่มที่ยังไม่ได้รับบริการที่ดีเพียงพอ (underserved) หรือยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน (unserved) ให้มีโอกาสเข้าถึงหรือได้รับบริการทางการเงินที่ดีขึ้น เช่น ผู้ไม่เคยมีบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน ผู้ที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ ผู้ที่ยังไม่ได้รับบริการที่ดีเพียงพอ เพราะไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตนเอง 

 

ตัวอย่างกลุ่ม unserved และ underserved สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ แบ่งเป็น

1. ด้านสินเชื่อ คือ กลุ่มคนที่ไม่ได้สินเชื่อจากธนาคาร หรือได้สินเชื่อไม่พอ ต้องไปกู้จากนอกระบบ เช่น ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีรายได้ประจำที่ไม่มีข้อมูลหรือประวัติทางการเงินมากพอ เมื่อมี Virtual Bank แล้วจะสามารถใช้ข้อมูลทางเลือกและเทคโนโลยีใหม่ ในการประเมินความเสี่ยงและพิจารณาให้สินเชื่อแก่คนกลุ่มนี้ได้

2. ด้านการออม คือ กลุ่มคนเพิ่งเริ่มมีรายได้ (first jobber) หรือคนมีรายได้น้อย ยังไม่มีทางเลือกการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีสำหรับการออมเงินจำนวนน้อย ๆ เมื่อมี Virtual Bank แล้วจะสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จูงใจให้คนออมจำนวนน้อย ๆ เป็นรายสัปดาห์ โดยจะยิ่งได้รับดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเมื่อออมนานขึ้นได้

หลักเกณฑ์การขอจัดตั้ง Virtual Bank

ผู้ขอจัดตั้ง Virtual Bank จะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม เช่น มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล มีความเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีและข้อมูลที่หลากหลายทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทางเลือก เช่น พฤติกรรมการใช้จ่ายมาใช้ประเมินความเสี่ยงและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า สามารถนำเสนอบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ กับลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างครบวงจรและเหมาะสม

Virtual Bank ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การกำกับดูแลเช่นเดียวกันกับธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบัน โดย ธปท. จะกำกับ Virtual Bank ตามระดับความเสี่ยงและให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาลและวัฒนธรรมด้านความเสี่ยง

อย่างไรก็ตามในช่วงแรก Virtual Bank ต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนด ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินกิจการในช่วงแรกเป็นไปอย่างมั่นคงและไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบ

 

 

คุณสมบัติสำคัญของผู้ขอจัดตั้ง Virtual Bank
1. มี Business Model ที่ตอบโจทย์ Green Line อย่างยั่งยืน ขยายฐานลูกค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ และบริหารรายได้และต้นทุนได้อย่างยั่งยืน

2. มีธรรมาภิบาลผู้ถือหุ้นใหญ่ กรรมการ ผู้บริหารระดับสูงมีคุณสมบัติเหมาะสมและมีธรรมาภิบาล 

3. มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการดิจิทัล สามารถออกแบบการให้บริการที่สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า

4. มีการใช้เทคโนโลยีที่ยืดหยุ่นคล่องตัวดต้นทุนการดำเนินงาน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้อย่างรวดเร็ว

5. มีความสามารถในการบริหารความเสี่ยงธุรกิจการเงินสามารถดำเนินธุรกิจ Virtual Bank ได้อย่างยั่งยืน ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบ

6. มีความสามารถในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่หลากหลายเพื่อนำไปใช้พัฒนาบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่ม

7. มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง ผู้ถือหุ้นใหญ่สามารถสนับสนุนให้ Virtual Bank ดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง


  คุณสมบัติ Virtual Bank โลกยุคใหม่ของธนาคารไร้สาขา  

กรอบการกำกับดูแล Virtual Bank

การกำกับดูแลในภาพรวม: กำกับดูแลตามความเสี่ยง (Risk Proportionality)ภายใต้กรอบหลักเกณฑ์เดียวกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป โดยให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาลและวัฒนธรรมด้านความเสี่ยง รวมถึง 3 ประเด็น ดังนี้
1.ความต่อเนื่องในการให้บริการของระบบ IT 2.ประสิทธิภาพการดูแลลูกค้าผ่านช่องทางติจิทัล และ 3.การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอก (Outsourcing)

Phasing
2 ในช่วง 3-5 ปีแรก : ดำเนินกิจการภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด โดย ธูปท.ติดตามอย่างใกล้ชิด*
เพื่อให้ดำเนินกิจการอย่างมั่นคง ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบ

*หาก รปท. เห็นว่า Virtual Bank ไม่มีความพร้อมเพียงพอในกรให้บริการ หรีอธุรกรรมที่จะดำนินการหรืออยู่ระหว่างดำเนินการอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงของ Virtual Bank ระบบการเงิน หรือผู้บริโภคในวงกว้าง รปท. อาจพิจารณาสั่งการให้แก้ไขหรือกำหนดให้ Virtual Bank ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพิ่มเติมตามความเหมาะสม  

คุณสมบัติ Virtual Bank โลกยุคใหม่ของธนาคารไร้สาขา

แผนการดำเนินงานต่อไป (Tentative)
ปี 2566 
Public Hearing (12 ม.ค. -12 ก.พ.) ไตรมาส 1/2566 Finalize

ไตรมาส 2-3 เปิดรับสมัคร จากนั้นธปท.คัดเลือกผู้สมัคร ใช้เวลา 6 เดือน และขออนุมัติจากกระทรวงการคลังอีก 3 เดือน

ปี 2567 
ไตรมาส 2 ประกาศรายชื่อ ผู้ที่ได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้ง Virtual Bank

ปี 2568 
เตรียมความพร้อมก่อนเปิดให้บริการ เป็นเวลา 1 ปี

ในเบื้องต้น ธปท. คาดว่าจะเสนอรายชื่อผู้ที่สมควรให้จัดตั้ง VIrtual Bank ต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จำนวนไม่เกิน 3 ราย ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันสมควร ธปท.อาจพิจารณาผ่อนผันให้ Virtual Bank เปิดดำเนินการหลังจาก 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 

คุณสมบัติ Virtual Bank โลกยุคใหม่ของธนาคารไร้สาขา

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย