ภูมิแพ้เงินเฟ้อ (วันที่ 10 ตุลาคม 2565)

ภูมิแพ้เงินเฟ้อ (วันที่ 10 ตุลาคม 2565)

ตลาดหุ้นวานนี้ SET Index ลดลง 10 จุด (-0.60%) ปิดที่ 1,580 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5 หมื่นล้านบาท นักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอดูตัวเลข Nonfarm payrolls ของสหรัฐ

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้      

ประเมิน SET ปรับตัวลงแนวรับ 1,570 / 1,565 จุด หลังสหรัฐรายงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนก.ย.แข็งแกร่งส่งผลให้ FED ยังคงเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป (US Bond yield ดีดตัวขึ้น) กดดันต่อภาวะเศรษฐกิจและเป็นลบต่อ Fund flow อย่างไรก็ตามแรงซื้อกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นจะช่วยหนุนให้ดัชนีสลับรีบาวด์ขึ้นได้

 

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

      PTTEP BANPU ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวขึ้น + ถ่านหินทรงตัวระดับสูง 

      AOT CENTEL ERW BA AAV BDMS BH EKH SPA อานิสงส์การเปิดประเทศ 

      CPF TU GFPT TFG อานิสงส์ High season การส่งออกและเงินบาทอ่อนค่าลง

 

หุ้นแนะนำวันนี้

       PTTEP (ปิด 170 ซื้อ/เป้า 185 บาท) ได้ Sentiment บวกน้ำมันดิบพุ่งทะลุระดับ 90$/bbl คาดหวัง OPEC+ ลดกำลังการผลิต 2 ล้านบาร์เรลต่อวันคิดทำให้ Supply น้ำมันดิบโลกตึงตัว 

      DTAC (ปิด 45.75 ซื้อ/เป้า 50.50 บาท) ดักซื้อเก็งกำไร คาดสัปดาห์นี้ (12 ต.ค. 65) กสทช.ประชุมอนุมัติให้ TRUE และ DTAC ควบรวมกิจการกันได้

 

 

 

บทวิเคราะห์วันนี้

CPF (ปิด 24.5 ซื้อ/เป้า 31.5 บาท), EKH (ปิด 8.15 ซื้อ/เป้า 9.2 บาท) 

 

ประเด็นสำคัญวันนี้

  (-) โอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เพิ่มขึ้นหลังอัตราว่างงานสหรัฐลดลง: CME Group ปรับเพิ่มโอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% จาก 56.5% ในสัปดาห์ก่อนหน้าเป็น 81.1% สะท้อนสหรัฐตัวเลข Nonfarm payrolls เดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 263,000 ตำแหน่งสูงกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ 2.5 แสนตำแหน่ง และอัตราการว่างงานลดลงเป็น 3.5% ต่ำกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ 3.7%

  (+) น้ำมัน WTI ทะลุ 90$ กังวล Supply ตึงตัวหลัง OPEC+ ลดการผลิต: เมื่อวันศุกร์ราคาน้ำมันดิบ WTI พุ่งแรงอีก 4.19$ (+4.7%) ปิดที่ 92.64$/bbl สูงสุดในรอบ 1 เดือน ปัจจัยหนุนยังเป็นเรื่องเดิม นักลงทุนกังวล Supply ตึงตัวหลัง OPEC+ ลดกำลังการผลิต 2 ล้านบาร์เรลคิดเป็น 2% ของ Supply ทั่วโลก

  +/-) สัปดาห์นี้ติดตาม FED Minutes และ เงินเฟ้อ (CPI) สหรัฐ: สัปดาห์นี้ SET เปิดซื้อขายเพียง 3 วัน แต่มีปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คือ รายงานการประชุมของ FED หรือ FED Minutes และ อัตราเงินเฟ้อ (CPI) เดือน ก.ย.ของสหรัฐ ทั้ง 2 ปัจจัยจะบ่งชี้ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดว่าจะยังเร่งขึ้นหรือจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย