อาจแกว่งบ้าง แต่ยังมองหุ้นไทยเคลื่อนไหวดีใน 3-6 เดือนข้างหน้า
ธนาคารกลางอังกฤษขึ้นดอกเบี้ย 0.75% แต่เตือนการเข้าสู่เศรษฐกิจถดถอยระยะยาว วานนี้ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% สู่ 3.00% ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มมากสุดนับแต่ปี 2532
อย่างไรก็ตามมีการส่งสัญญาณว่าอัตราดอกเบี้ยในอนาคตจะเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่นักลงทุนคาดการณ์ ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่อาจจะดำเนินไปนาน 2 ปี (ซึ่งเศรษฐกิจที่ชะลอ เป็นผลมาจากทั้งสงครามยูเครน และการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป ที่ทำให้ธุรกิจจำนวนมากย้ายสำนักงานออกจากอังกฤษ) ซึ่งมุมมองของธนาคารอังกฤษ ธนาคารกลางยุโรป รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐฯ มีความคล้ายกันคือ การปรับขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต น่าจะเริ่มอยู่ในระดับที่ชะลอลง เราคงมุมมอง “เศรษฐกิจถดถอยไม่เท่ากับวิกฤติ” โดยหากไม่มีสัญญาณของปัญหาการขาดแคลนสภาพคล่อง (liquidity crunch) เราประเมินหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวดีกว่าหุ้นโลก คล้ายการถดถอยที่เกิดจากวิกฤติดอทคอม ในปี ค.ศ.2001
อาจผันผวนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อดอกเบี้ยนโยบาย แต่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังเลือกตั้งกลางเทอม มักให้ผลตอบแทนที่ดี ระยะสั้นคาดจิตวิทยาหุ้นโลกอาจจะผันผวนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่มีผลต่อการกำหนดดอกเบี้ยนโยบาย อาทิ การจ้างงานนอกภาคเกษตร (4 พ.ย.) และ เงินเฟ้อสหรัฐฯ (10 พ.ย.) ขณะที่การเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ (midterm election) มีสถิติที่น่าสนใจว่าหุ้นสหรัฐฯ (ดัชนี S&P500) มักให้ผลตอบแทนที่แย่ในปีที่มีการเลือกตั้งกลางเทอม (ปีที่ 2 ของสมัยประธานาธิปดี) ด้วยผลตอบแทนเฉลี่ย 3.2% (ระหว่าง ค.ศ.1948-2020) ขณะที่ในปีถัดมาจะให้ผลตอบแทนที่ดีเฉลี่ยถึง 20.1% โดยผลตอบแทนในกรณีที่พรรครีพับริกันชนะเลือกตั้ง สูงกว่าเดโมแครตชนะ ทั้งค่าเฉลี่ยผลตอบแทนหลังเลือกตั้ง 12 เดือน (17.5% vs. 13.7%) และ 24 เดือน (36.3% vs. 22.1%) เรามองหากสถิติคล้ายคลึงกับอดีต จะเป็นปัจจัยหนุนบรรยากาศลงทุนในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้า
ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มท่องเที่ยว AOT, CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR, VRANDA, SPA 2) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO, MAJOR, MBK 3) มาตรการสนับสนุน EV ได้แก่ EA, GPSC, PIMO 4) กลุ่มไฟฟ้าแผน PDP ใหม่ ละประมูลพลังงานทดแทน 5,200MW บวกกับ EGCO, RATCH, GULF, BCPG, GUNKUL, SSP 5) เก็งกำไรทางเทคนิค CRC, RATCH, SC, TH, TLI, BAM, EA, CK, MBK, SAMART, ARIN, MC, TKN, SCGP, KISS, TC, KAMART, FLOYD, PROS, TVDH
ภาพรวมกลยุทธ์: แกว่งตัวแนวต้าน 1,630 จุด โดยมีแนวรับ 1,614 และ 1,605 จุด ตามลำดับ กลยุทธ์ในภาพใหญ่ไม่เปลี่ยน คือ รอเลือกซื้อกลุ่มหุ้นเปิดเมือง ระยะสั้นกลุ่มที่ลงเยอะ (อาทิ ไฟแนนซ์ อสังหาริมทรัพย์) มีโอกาสเป็นเป้าหมายเก็งกำไร ส่วนกลุ่มพลังงานสามารถเก็ง PTTEP ตามแนวรับ ส่วนหุ้นโรงกลั่นกำไรไตรมาส 3 ชะลอหนัก เก็งกำไรระมัดระวัง (ถ้าจะเลือก ชอบ SPRC) //หุ้นแนะนำ: BBL*, TNR*, TLI*. MAJOR*
แนวรับ: 1,605-1,614 / แนวต้าน : 1,630 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
ประเด็นการลงทุน
สหรัฐเผยคำสั่งซื้อภาคโรงงานเพิ่มขึ้น 0.3% - เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.ย. สอดคล้องคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนส.ค.
ดัชนี PMI ภาคบริการสหรัฐหดตัวเดือนที่ 4 – ปรับตัวลงสู่ระดับ 47.8 ในเดือนต.ค. จากระดับ 49.3 ในเดือนก.ย. และสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 46.6
ISM เผยดัชนีภาคบริการสหรัฐดิ่งต่ำสุดรอบกว่า 2 ปีในเดือนต.ค. – สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 54.4 ในเดือนต.ค. ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2563 จาก 56.7 ในเดือนก.ย.
สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานลดลง สวนทางคาดการณ์ – ลดลง 1,000 ราย สู่ระดับ 217,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว คาดว่าเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 220,000 ราย
BoE ประกาศขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ครั้งใหญ่สุดในรอบ 33 ปี – สู่ระดับ 3.0% ตามคาดการณ์ และเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 8 ตั้งแต่ธ.ค.64
ผู้จีนพบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 3,200 ราย สูงสุดในรอบเกือบ 3 เดือน – โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการ 531 ราย และไม่แสดงอาการ 2,669 ราย
รมว.คมนาคม เชื่อปี 66 ผู้โดยสารเข้าสนามบินสุวรรณภูมิโตเท่าตัว – เป็น 2 แสนคนต่อวัน เร็วกว่า IATA คาด ล่าสุดจีนส่งสัญญาณเตรียมเปิดประเทศแล้ว เร่ง AOT เปิดใช้อาคารเทียบเครื่องบินเร็วขึ้นเป็นกลางปีหน้า
BEM รอยาวก่อนเซ็นสายสีส้ม – คมนาคมย้ำรอทุกคดีระหว่างรฟม.กับ BTSC ในศาลถึงที่สุด ก่อนเซ็นสัญญารถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนปัญหาสายสีเขียวส่วนต่อขยาย พร้อมรับโอนคืนให้รฟม. หากกทม.ทำทุกอย่างถูกต้องตามกฏหมายและมีมติครม.รองรับ
TLI มีลุ้นเข้า MSCI และ FTSE – โดย MSCI จะประกาศ 10 พ.ย. ส่วน FTSE จะประกาศ 18 พ.ย. คาดดึงเม็ดเงินไหลเข้าลงทุน 70 ล้านดอลลาร์
หุ้นที่มีโอกาสเข้าเกณฑ์ Cash Balance – ได้แก่ 24CS
ประเด็นติดตาม: 4 พ.ย. - Nonfarm Payrolls, US Unemployment Rate / 10 พ.ย. – US CPI / 15 พ.ย. – US PPI / 16 พ.ย. – US Retail Sales / 17 พ.ย. – EU CPI, US Building Permits
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)