AMATA - ยอดขายที่ดินในประเทศไทยอาจจะทะลุเป้า

AMATA - ยอดขายที่ดินในประเทศไทยอาจจะทะลุเป้า

ยอดขายที่ดินที่นิคมอมตะซิตี้ชลบุรีทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 170 ไร่ ส่งผลให้ยอดขายกลุ่มเป็นประมาณ 600 ไร่ คิดเป็น 92% ของเป้ายอดขายในประเทศไทยปีนี้ของบริษัทและของเรา

นอกจากนี้ยังมี big lots ที่อยู่ระหว่างเจรจาอีกหลายดีล จึงมีความเป็นไปได้ที่ยอดขายที่ดินจะทะลุเป้า (650 ไร่สำหรับประเทศเทย)  ส่วนยอดขายที่ดินในเวียดนามยังคงชะลอ แต่กำไรในปี FY22F ยังจะเป็นไปตามประมาณการของราหรือดีกว่า จากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากอุตสาหกรรมใหม่ๆ (industrial transformation) และการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนและไต้หวัน  AMATA คาดยอดขายที่ดินจะแข็งแกร่งต่อเนื่องในปีหน้า เราเชื่อว่าราคาหุ้น AMATA ยัง laggard (-6% YTD) จึงเป็นโอกาสให้ ซื้อ

 

ยอดขายที่ดินสูงกว่าคาดที่นิคมอมตะซิตี้ชลบุรี ซึ่งมีราคา และอัตรากำไรขั้นต้นสูง

ยอดขายที่ดิน YTD ในประเทศไทยประมาณ 600 ไร่ (เป้า 650 ไร่) สนับสนุนโดดยอดขายที่ดินที่นิคมอมตะซิตี้ชลบุรีทำสถิติสูงสุดใหม่ตั้งแต่ปี 2017 ที่ 170 ไร่ (ราคาขายไร่ละ 14 ลบ. และอัตรากำไรขั้นต้น 60-70%) ซึ่งสูงกว่าประมาณการของเราที่ 50 ไร่ และยอดขายที่ดินทีอมตะซิตี้ระยอง 400+ ไร่ (ราคาขายไร่ละ 4.0-4.5 ลบ. และอัตรากำไรขั้นต้น 40-50%)  AMATA อยู่ระหว่างเจรจาขายที่ดิน big lot อีก 7-8 ราย (100+ ไร่/ราย) ซึ่งอาจจะเซ็นสัญญาได้สองรายภายในสิ้นเดือนนี้  ยอดขายที่ดินในเวียดนามอาจจะต่ำกว่าเป้า 450 ไร่ (ขายแล้ว 45 ไร่ใน 9M22) เพราะอุปทานใหม่ล่าช้า อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิปี FY22F จะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะกำไรงวด 9M22 สูงถึง 92% ของประมาณการแล้ว

 

 

 

คาดยอดขายที่ดินจะสูงขึ้นต่อเนื่องปีหน้า

จากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งต่อเนื่องของอุตสาหกรรม EV และห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้อง, พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, อาหาร และดาต้าเซ็นเตอร์  AMATA คาดยอดขายที่ดิน 700-800 ไร่ในปีหน้าที่นิคมอมตะซิตี้ชลบุรี (200+ไร่) และอมตะซิตี้ระยอง (500+ไร่) โดยจะมียอดขายส่วนเพิ่มจากบริษัทร่วมทุนไทย-จีน ซึ่งจะได้อานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนและไต้หวัน ในอดีตบริษัทร่วมทุนไทย-จีนมียอดขายสูงสุด 330 ไร่ต่อปี  ยอดขายที่ดินเวียดนามจะสูงขึ้นจาก FDI ที่แข็งแกร่ง และอุปทานใหม่จาก Amata City Halong และ Amata City Long Thanh

 

กำไรธุรกิจโรงไฟฟ้าจะสูงขึ้นใน 4Q และปีหน้า

เราคาดส่วนแบ่งกำไรจาก SPP จะสูงขึ้น เนื่องจากการขึ้นค่า Ft จาก 0.2477 บาทในช่วงเดือนพ.ค.-ส.ค. เป็น 0.9343 บาทในช่วงเดือนก.ย.-ธ.ค. ในขณะที่ต้นทุนก๊าซธรรมชาติลดลง (Fig. 6-8)  ราคาน้ำมันลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิถุนายน จาก >100 เหรียญสหรัฐฯ/บาเรล เหลือ 82 เหรียญสหรัฐฯ/บาเรลในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสัญญาณว่าต้นทุนก๊าซธรรมชาติจะลดลงในอนาคต (เหลื่อมเวลาหกเดือน)