BCPG - ความหวังครั้งใหม่ (7 ธันวาคม 2565)
เรามองว่าความตึงเครียดทางการเมืองกับจีน และความเสี่ยงในการดำเนินโครงการ (execution risk) เป็นความเสี่ยงหลักของการลงทุนใน solar farm ที่ไต้หวันของ BCPG
เราคาดว่า equity IRR อยู่ที่ 10-12% และกำไรสุทธิต่อ MW จะอยู่ที่ 1.5-2.0 ลบ. จะช่วยอุดสุญญากาศของกำไรจากการที่ adder 8 บาท/KWh หมดอายุลงในปี 2022-25 โครงการพลังงานหมุนเวียนในปัจจุบันคิดเป็น 6% ของการผลิตไฟฟ้า ขณะที่ MOEA มีแผนเพิ่มเป็น 20% ในปี 2026 และเป็น 60-70% ของการผลิตไฟฟ้าในปี 2050 คงคำแนะนำถือ ราคาเป้าหมายที่ 10 บาท เราคิดว่าความสำเร็จของการดำเนินโครงการนี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้มีการ re-rate หุ้น BCPG
ความตึงเครียดทางการเมืองกับจีน และความเสี่ยงในการดำเนินโครงการเป็นความเสี่ยงหลัก
เราได้ไปเยี่ยมชมโครงการ solar farm ใน Tainan ทางตอนใต้ของไต้หวัน เป็นโครงการที่มีความสำคัญอย่างมากกับ BCPG เพราะโครงการ solar ที่มี adder 8 บาท/KWh ในไทยกำลังจะหมดอายุ ทำให้กำไรของ BCPG หายไปปีละ 1.6 พันลบ. คิดเป็น 80% ของกำไรสุทธิ BCPG มีแผนเซ็น PPA ของกำลังการผลิต solar 480MW บริษัทกำลังจัดซื้อที่ดิน และยื่นขออนุญาตผลิตไฟฟ้า 219MW ภายในปี 2023 คาดว่าจะได้รับอนุญาต และเซ็น PPAs ของกำลังการผลิตทั้ง 480MW ในปี 2023 และกำหนด COD ใน 2H24 หรือไม่เกินปี 2025 สำหรับกำลังการผลิตทั้ง 480MW ซึ่ง 60% จะเป็นโครงการ fishery solar และอีก 40% จะเป็น solar land mount เรามองว่าความเสี่ยงหลักอยู่ที่ความตึงเครียดทางการเมืองกับจีน และการดำเนินโครงการ (execution risk) เพราะ BCPG ต้องอาศัย agent ในการจัดซื้อที่ดิน
คาดว่า equity IRR จะอยู่ที่ 10-12% และกำไรสุทธิต่อ MW จะอยู่ที่ 1.5-2.0 ล้านบาท
ต้นทุนการลงทุนของโครงการ aquaculture solar farm อยู่ที่ 60-70 ล้านบาทต่อ MW ซึ่งสูงกว่าต้นทุนการลงทุนในโครงการ solar farm ส่วนใหญ่ในประเทศไทยถึงเท่าตัว เนื่องจากต้นทุนการก่อสร้าง และอุปกรณ์ตามที่กำหนดโดย Bureau of Energy (BOE) สูงกว่า ในขณะที่อัตราค่าไฟจะกำหนดแบบ feed-in-tariff ที่ NTD4.4/KWh (US$0.14/KWh) ซึ่งสูงกว่าค่าไฟของโครงการ solar แท้ ๆ (2.17 บาท/KWh) เกินเท่าตัว ภายใต้โครงการที่กำลังเปิดประมูล (5.2GW ซึ่งกำหนด COD ในปี 2024-30) ในประเทศไทย (คาดว่าจะประกาศรายชื่อผู้ชนะได้ใน 1Q23) เราคาดว่าโครงการ solar farm จะมีกำไรสุทธิต่อ MW 1.5-2.0 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเงินทุน ซึ่งโครงการ solar ส่วนใหญ่ในไต้หวันจะใช้สัดส่วน หนี้สิน:ทุน ที่ 75:25 ก่อน COD และ 80:20 หลัง COD
คงคำแนะนำ ถือ และประเมินราคาเป้าหมายที่ 10 บาท โดยมองบวกกับโครงการพลังงานหมุนเวียนในไต้หวัน
BCPG เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าของไทยรายแรกที่เริ่มขยับเข้าไปทำโครงการ solar farm ในไต้หวัน ซึ่งขายไฟฟ้าให้กับ Taipower และผู้ใช้ไฟฟ้าในภาคเอกชน ทั้งนี้ ในปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนคิดเป็น 6% ของการผลิตไฟฟ้า ในขณะที่ MOEA มีแผนจะเพิ่มเป็น 20% ภายในปี 2026 และเป็น 60-70% ของการผลิตไฟฟ้าภายในปี 2050 เราประเมินราคาเป้าหมาย SoTP ที่ 10 บาท คิดเป็น PE ปี FY22/23 ที่ 14.0x/19.6x