Investment Strategy เงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นไทย – จะยั่งยืนไหม?
มีเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นไทยมาตั้งแต่ต้นปี 2022 ซึ่ง ไม่ถือว่าเป็นเงินร้อน (hot money) ทั้งนี้ จากแบบจำลองกระแสเงินทุนของเราพบว่าเงินทุนก้อนนี้น่าจะยังอยู่ต่อไปอย่างน้อยจนถึงกลางปีนี้
เนื่องจากสถานะของค่าเงินสหรัฐฯ ที่มีการแข็งค่ามากเกินไปจะยังถูกผ่อนคลาย ตามแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลงของสหรัฐฯ เราคิดว่า yield curve ของสหรัฐที่ราบลงมีส่วนสนับสนุนแนวโน้มที่กำลังดำเนินอยู่นี้ โดยเรามองว่าความเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ i) เศรษฐกิจถดถอยรุนแรง และยาวนานกว่าที่คาดไว้ ii) มีการปรับเพิ่มประมาณการอัตราดอกเบี้ย terminal rate ของสหรัฐขึ้นอีก และ iii) อุปสงค์ในประเทศของไทยอ่อนแอเกินกว่าปกติ
เหตุผลหลักที่กระแสเงินทุนเปลี่ยน
ค่าเงิน USD วิ่งขึ้นมาใกล้ระดับ 113 ในเดือนตุลาคม ซึ่งสูงกว่า 30% ของมูลค่า (PPP) เพราะความกลัวว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง, Fed จะขึ้นดอกเบี้ยแรง, จะเกิดวิกฤติพลังงานขึ้นในยุโรป รวมถึงเศรษฐกิจจีนที่อาจจะชะลอตัวลง ทั้งนี้ เรามองว่า USD เป็นสกุลเงินประเภท counter-cyclical และภาวะในปัจจุบันคลี่คลายลงไปมากแล้ว ซึ่งทำให้มีการ unwind สถานการณ์ถือครอง USD ออกมา เรามองว่าประเด็นนี้ช่วยสนับสนุนให้มีกระแสเงินทุนไหลออกจากสินทรัพย์สหรัฐฯ ไปยังสินทรัพย์ประเภทอื่น รวมถึงสินทรัพย์ของไทยด้วย
แล้วเงินทุนไหลเข้าพวกนี้จะยั่งยืนไหม?
เรามองว่าปัจจัยสำคัญอยู่ที่ i) ช่องว่างของอัตราการเติบโตของสหรัฐฯ กับประเทศอื่น ๆ ในโลก (ROW – Rest of the world) ii) ความแตกต่างของการกำหนดนโยบายการเงิน และแนวโน้มเงินเฟ้อ iii) อุปสงค์ในประเทศของไทย และ iv) เหตุการณ์ทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความคืบหน้าของสถานการณ์ในยูเครน เราใช้สมมติฐานว่าเงินเฟ้อสหรัฐจะลดลงเรื่อย ๆ จนถึง 3Q23 เป็นอย่างน้อย ในขณะที่ช่องว่างของอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจหลักอื่น ๆ น่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เราคาดว่าโมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะเร่งตัวขึ้น จากการจับจ่ายใช้สอยในภาคบริการที่เพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติในอีกสองสามไตรมาสถัดไป ทั้งนี้ เราจะทบทวนสมมติฐานของเราอีกครั้งในช่วงกลางปีนี้ เพื่อพิจารณาว่าจะมีกระแสเงินทุนไหลเข้าต่อเนื่องอีกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้หรือไม่