เฟดไม่สร้างความกังวล ทำให้หลังหมดผันผวนงบ ตลาดน่าจะเริ่มเดินหน้า

เฟดไม่สร้างความกังวล ทำให้หลังหมดผันผวนงบ ตลาดน่าจะเริ่มเดินหน้า

เฟดไม่ได้ส่งสัญญาณน่ากังวล ทำให้บรรยากาศลงทุนโดยรวมออกมาดีตามคาด ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพิ่ม 0.25% สู่ระดับ 4.75% การเน้นย้ำถึงภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง (Disinflation) หลายครั้งในการแถลงข่าว

ทำให้แม้ประธานเฟดมองว่ายังเร็วไปที่จะประกาศชัยชนะต่อเงินเฟ้อ รวมถึงเงินเฟ้อที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยจะยังมีโอกาสปรับเพิ่ม และไม่น่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ แต่นักลงทุนให้น้ำหนักบวกกับถ้อยแถลงที่แสดงความเชื่อมั่นถึงเศรษฐกิจสหรัฐ ที่น่าจะสามารถชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป (soft landing) และมุมมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดจากนี้น่าจะอยู่ในระดับที่จำกัด ทั้งนี้การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ใกล้ถึงจุดสูงสุดของวัฎจักร ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปและอีกหลายประเทศ ยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คาดส่งผลให้สกุลเงินอื่นๆ ทยอยแข็งค่าขึ้น กดดันให้ค่าเงินสหรัฐฯ อ่อนค่า ซึ่งเป็นบวกต่อเงินทุนไหลเข้าตลาดเกิดใหม่และไทย อย่างไรก็ตามะดับเงินทุนไหลเข้าอาจชะลอลงจากปลายปีก่อน หลังภาพรวมเศรษฐกิจยุโรปและจีนที่ดีขึ้น ทำให้ตัวเลือกการลงทุนมีความหลากหลายมากขึ้น
 

ต่อจิ๊กซอว์จากหุ้นเปิดเมืองไปยังกลุ่มที่น่าจะฟื้นตัวได้ดีในปีนี้ แม้กลุ่มโรงแรมและหุ้นห้างสรรพสินค้ายังมีแนวโน้มที่ดี แต่อัพไซต์ระยะสั้นจะเริ่มจำกัด ทำให้อาจเริ่มมองหาหุ้นที่จะดีขึ้นในปีนี้ ซึ่งเรามองได้ก่ 1) หุ้นเปิดเมืองที่ยังขึ้นน้อย อาทิ MAJOR (ผลประกอบการฟื้น หน้าหนังแข็งแรง), BJC (ราคาพลังงานลดลงบวกต่อบรรจุภัณฑ และเตรียมนำ BIGC กลับเข้าจดทะเบียน)  2) อสังหาริมทรัพย์ ตลาดอสังหาริมทรัพย์กลับมาคึกคักจากผู้ซื้อชาวจีน หรือผู้ประกอบการที่มีโมเดลธุรกิจที่จำเพาะ บวกต่อ AP, SC, SIRI หรือในหุ้นเล็กเราชอบ ASW (การเปิดโครงการคอนโดจับกลุ่มลูกค้าสถาบันการศึกษา) และ S (ได้ผลดีจากงบ SHR ที่เป็นบ.ลูก และมีการโอนโครงการในช่วงกลางปี) 3) กลุ่มอาหารและสินค้าเกษตร ชอบหุ้นน้ำตาล (ปริมาณหีบอ้อย สูงสุดในรอบ 3 ปี ราคาน้ำตาลตลาดโลกสูง) และหุ้นอาหารที่น่าจะได้ประโยชน์จากต้นทุนที่ลดลง อาทิ AAI, ITC, SORKON เป็นต้น

 

 


 

ประเด็นลงทุนที่น่าสนใจ 1) ฟื้นตัวจากเศรษฐกิจและเปิดเมือง BBL, SCB, MINT, SPA, VRANDA, TNR, KISS, CPN, CRC, CPALL, MAKRO, MAJOR 2) หุ้นได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว (พลังงาน ปิโตรเคมี บรรจุภัณฑ์) ได้แก่ PTTGC, IRPC, SCGP, AJ, PTL, SCC, PTTEP, PTT 3) กลุ่มบริโภคและการย้ายฐานการผลิต ได้แก่ WHA, AMATA, ROJNA 4) การขายไฟพลังงานทดแทน 5200MW GULF, GUNKUL, BCPG, SSP, BGRIM, GPSC, EGCO 5) หุ้นที่น่าสนใจอื่นๆ DMT, TVDH, FLOYD, SORKON, ASW, S, CBG, AEONTS 6) กลุ่มน้ำตาล เข้า high season และปริมาณการผลิตไทยสูงสุดในรอบ 3 ปี ดีกับ KSL, KTIS, KBS, BRR

 

ภาพรวมกลยุทธ์: สัญญาณเศรษฐกิจโลกจาก IMF ช่วยจำกัด downside ของตลาด ขณะที่เฟดไม่ได้สร้างความกังวลให้ตลาด ทำให้ตลาดยังมีแนวโน้มแกว่งตัวขึ้นเชิงบวก แม้ตลาดอาจจะผันผวนจากงบรายตัวในระยะสั้นบ้างก็ตาม การเก็งกำไรระยะสั้นเน้นหุ้นที่ยัง Laggard และเปิดเมืองที่ยังขึ้นน้อย รวมถึงกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากต้นทุนพลังงานที่จะลดลง //หุ้นแนะนำ: MAJOR, FLOYD*, ASW*, S*

แนวรับ: 1,670 / แนวต้าน : 1,700 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
 

 

 

ประเด็นการลงทุน

ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐหดตัวเดือนที่ 2 – ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 46.9 ในเดือนม.ค. จากระดับ 46.2 ในเดือนธ.ค. และสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 46.8

ISM เผยดัชนีภาคการผลิตสหรัฐหดตัวเดือนที่ 3 - สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 47.4 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 48.0 จากระดับ 48.4 ในเดือนธ.ค.

PMI ภาคการผลิตจีนฟื้นตัวในเดือนม.ค. หลังยุติมาตรการคุมโควิด – ปรับตัวขึ้นแตะระดับ 49.2 จากระดับ 49.0 ในเดือนธ.ค. โดยได้แรงหนุนจากการที่รัฐบาลจีนยกเลิกมาตรการเข้มงวดในการควบคุมโรคโควิด-19 ในช่วงปลายปีที่แล้ว ซึ่งช่วยคลายความกดดันให้กับกลุ่มผู้ผลิตของจีน 

ยอดชอปปิงออนไลน์เกาหลีใต้ทุบสถิติในปี 2565 – ยอดการชอปปิงบนแพลตฟอร์มออนไลน์อยู่ที่ 206.49 ล้านล้านวอน (1.677 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปี 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้น 10.4% จากปีก่อนหน้า โดยถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลในปี 2544

แบงก์ชาติทั่วโลกแห่ซื้อทองคำในปี 65 มากที่สุดในรอบ 55 ปี - ธนาคารกลางทั่วโลกซื้อทองคำเป็นทุนสำรองในปี 2565 รวมกันมากถึง 1,136 ตัน คิดเป็นมูลค่า 7 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นมูลค่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2510

 

ประเด็นติดตาม: 2 ก.พ. - ECB Interest Rate Decision, US Initial Jobless Claims / 3 ก.พ. – Nonfarm Payrolls, ISM Non-Manufacturing PMI / 6 ก.พ. – TH CPI, EU Retail Sales / 14 ก.พ. – US CPI / 15 ก.พ. – EU Core Retail Sales, US Retail Sales

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)