Food and Beverage ยังคงเผชิญแรงกดดันเรื่องต้นทุนการผลิต
เราคาดว่าผลประกอบการของบริษัทที่ทำธุรกิจเครื่องดื่มจะมีทั้งดีขึ้นและแย่ลง โดยคาดว่าผลประกอบการไตรมาส 4/65 ของ OSP และ CBG จะฟื้นตัวขึ้น QoQ จากฐานที่ต่ำใน 3Q65
เนื่องจากการส่งออกไปยังเมียนมาร์สะดุด แต่คาดว่าการเติบโตยังคงติดลบ YoY ทั้งในปี 4/65 และกำไรทั้งปีของ OSP/CBG จะยังอ่อนแอที่ -38%/-14% ในขณะเดียวกัน เราคาดว่าผลประกอบการของ PLUS และ SAPPE จะแย่ลง QoQ เพราะปัจจัยฤดูกาล แต่กำไรเต็มปี จะยังแข็งแกร่งเพราะมีสัดส่วนของการส่งออกอยู่ในระดับสูง (ของ PLUS อยู่ที่ 95% ของรายได้รวม และของ SAPPE อยู่ที่ 75%)
เผชิญแรงกดดันด้านต้นทุนใน 4Q65F และต่อเนื่องถึง 1H66F
เรามองว่าบริษัทเครื่องดื่มทุกแห่งจะถูกกดดันจากต้นทุนการผลิตใน 4Q65F และในปี 2566F โดยเฉพาะบริษัทที่ผลิตเครื่องดื่มชูกำลัง (energy drink) มีสัดส่วนสูง ใน CBG และ OSP โดยค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นกดดันต้นทุนการผลิตขวดแก้วใน 4Q65F และมีแนวโน้มจะยังกดดันต่อไปใน 1H66 ในขณะเดียวกัน SAPPE ต้องเผชิญความเสี่ยงจากราคาสินค้าต้นน้ำในการผลิตขวด (PET Resin) ส่วน PLUS ที่ต้องพึ่งพากับการซื้อขวดแก้วจากผู้ผลิตภาย OEM ทั้งนี้ ต้นทุนบรรจุภัณฑ์คิดเป็นสัดส่วน >40% ของต้นทุน OSP และ CBG, 30% ของต้นทุน PLUS และประมาณ 25% ของต้นทุน SAPPE ซึ่งจากแนวโน้มราคา
ก๊าซ ค่าไฟฟ้า PET resin รวมถึงอลูมิเนียมที่สูงขึ้นในช่วงปีนี้ ทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการหลัง COVID เปลี่ยนแปลงไป ทำให้กลุ่ม F&B จำเป็นต้องปรับขึ้นราคาเพื่อชดเชยแรงกดดันด้านต้นทุนซึ่งการปรับเพิ่มราคาขายทำให้ยากกลุ่มเครื่องดื่มชูกำลัง ในขณะที่การปรับราคาขายกับสินค้าส่งออกต้องขึ้นกับอำนาจการต่อรอง โดยปัจจุบันมีเพียง SAPPE ทำได้โดยไม่ได้กระทบยอดขาย
เงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นใน 4Q65 และยิ่งแข็งขึ้นอีกใน 1Q66 เพิ่มแรงกดดันต่อ margin
ค่าเงินบาทแข็งค่าเป็นอีกปัจจัยที่กดดันมาร์จิ้นของบริษัทที่มีสัดส่วนส่งออกสูงเช่น PLUS SAPPE ทั้งนี้ PLUS ได้ประโยชน์จากการทีกำไรค่าเงินบาทอ่อนค่าใน 9M64 ทำให้มาร์จิ้นสูงกว่าช่วงปกติ ซึ่งค่าเงินบาทแข็งค่าจะกระทบกับกำไรของบริษัทใน 4Q/65 และ 1H66 ในขณะที่การปรับเพิ่มราคาขายสินค้าของ SAPPE จะช่วยบรรเทาผลกระทบด้านนี้
CBG และ OSP ยังต้องดิ้นรนต่อไป
เนื่องจากสภาวะการแข่งขันในธุรกิจ energy drink เข้มข้นมากกว่า ทำให้ไม่สามารถขึ้นราคาขายปลีก เพื่อชดเชยต้นทุนเที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เครื่องดื่ม Energy drink คิดเป็นสัดส่วน 65% ของทั้ง OSP และ CBG นอกจากนี้ ด้วยราคาหุ้นที่ค่อนข้างแพงแล้ว เราจึงยังคงคำแนะนำถือ CBG และ OSP
เราชอบ SAPPE แต่มองบวกกับ PLUS น้อยกว่า
การปรับราคาขายโดยไม่กระทบยอดขาย และมาร์จิ้น ในขณะเดียวกันยอดคำสั่งซื้อล่วงหน้าจากลูกค้า (backlog) ในมือจะทำให้บริษัทยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตเอาไว้ได้ที่ 20-25% ส่วนการเปลี่ยนไปใช้วิธี outsource สินค้าที่มีมาร์จิ้นต่ำจะทำให้ margin ของ SAPPE มีโอกาสเพิ่มขึ้น ดังนั้น เราจึงยังคงคำแนะนำซื้อ SAPPE แต่ในกรณีของ PLUS เนื่องจากยังมีความเสี่ยงที่ margin จะลดลง ดังนั้น เราจึงปรับลดประมาณการกำไรปี 2566 ลง 8% และปรับลดราคาเป้าหมายปี 2566F ลงเหลือ 8.80 บาท (จากเดิมที่ 9.80 บาท) โดยยังคงคำแนะนำถือ PLUS
Risks
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกผันผวน, margin เปลี่ยนแปลงไป.