แรงกดดันจากผลประกอบการน่าจะทยอยลดลง 

แรงกดดันจากผลประกอบการน่าจะทยอยลดลง 

รายงานการประชุมเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณเปลี่ยนแปลงโทนการขึ้นดอกเบี้ย แม้ตลาดมีความกังวลธนาคารกลางสหรัฐฯอาจกลับไปเร่งขึ้นดอกเบี้ยในอัตรา 0.50% หลังตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อช่วงม.ค.66 ออกมาค่อนข้างแข็งแกร่ง

อย่างไรก็ตามรายงานการประชุมเฟดเมื่อ 1 ก.พ. ที่ออกมาเมื่อคืนไมได้มีการส่งสัญญาณถึงการเปลี่ยนโทนการขึ้นดอกเบี้ย หรือความจำเป็นที่จะต้องเร่งอัตราการขึ้นดอกเบี้ยขึ้น แต่ย้ำถึงความจำเป็นในการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ซึ่งเราประเมินเฟดยังจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย 0.25% อีกราว 2 ครั้ง (ประชุม มี.ค. และพ.ค.) หรือขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึง 5.25% เรามองรายงานการประชุมเฟดเมื่อคืนไม่ได้เป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมต่อตลาดจากข้อมูลและโทนที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

 

กลุ่มหุ้นเกี่ยวกับบริโภคในประเทศรายงานผลประกอบการเชิงบวก แม้กลุ่มหุ้นอิงเศรษฐกิจโลก อาทิ พลังงานและอิเล็กทรอนิกส์หลายตัวรายงานกำไรต่ำคาดซึ่งเป็นปัจจัยกดดันประมาณการกำไรของ SET Index แต่เราเริ่มเห็นแนวโน้มการรายงานกำไรเชิงบวกในกลุ่มหุ้นที่เกี่ยวกับเปิดเมือง อาทิ ERW, MINT, BDMS และการบริโภคในประเทศ อาทิ AP, MAKRO, BJC, OSP, CPN และเริ่มเห็นหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่รายงานผลประกอบการเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด อาทิ FLOYD, AMANAH, SORKON, SECURE ทำให้เรามองแรงกดดันจากการรายงานผลประกอบการในสัปดาห์นี้จะทยอยลดลง สอดคล้องกับที่ประเมินก่อนหน้า

 


 

ประเด็นลงทุนระยะกลางที่น่าสนใจ 1) ฟื้นตัวจากเศรษฐกิจและเปิดเมือง BBL, SCB, MINT, SPA, VRANDA, KISS, CPN, CRC, CPALL, MAKRO, MAJOR 2) หุ้นได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว (พลังงาน ปิโตรเคมี บรรจุภัณฑ์) ได้แก่ PTTGC, IRPC, SCGP, AJ, PTL, SCC, PTTEP, PTT 3) กลุ่มบริโภคและการย้ายฐานการผลิต ได้แก่ WHA, AMATA, ROJNA 4) การขายไฟพลังงานทดแทน 5200MW GULF, GUNKUL, BCPG, SSP, BGRIM, GPSC, EGCO 5) หุ้นที่น่าสนใจอื่นๆ DMT, TVDH, FLOYD, SORKON, ASW, S, CBG, AEONTS, SAMART, SDC 6) กลุ่มน้ำตาล เข้า high season และปริมาณการผลิตไทยสูงสุดในรอบ 3 ปี ดีกับ KSL, KTIS, KBS, BRR

 

ภาพรวมกลยุทธ์: ใกล้ถึงเวลาฟื้นตัว กรอบแกว่งที่ 1,650-1,690 จุด แม้ตลาดยังผันผวนจากการปรับพอร์ตของต่างชาติและการรายงานงบรายตัวในระยะสั้น แต่แรงกดดันจากผลประกอบการน่าจะเริ่มทยอยลดลง การเก็งกำไรระยะสั้นเน้น selective buy กลุ่มที่น่าจะเห็นการฟื้นตัวได้ชัดเจนในปี 2566 และยังมีการถือครองที่ต่ำ (Underowned) ได้แก่ กลุ่มเปิดเมืองที่ยังขึ้นน้อย, ค้าปลีก (ที่ได้ประโยชน์จากนักท่องเที่ยวกลับมา), ปิโตรเคมี, การเงิน, โภคภัณฑ์ (เฉพาะเหล็กและน้ำตาล) และหุ้นที่มีปัจจัยบวกรายตัว โดยหุ้นที่เรามองสามารถทยอยสะสม ได้แก่ MAJOR, CPALL, MAKRO, BJC, PTTGC, IRPC, TIDLOR, AMANAH, MILL, TSTH, KSL, ROJNA, SAMART, SDC เป็นต้น //หุ้นแนะนำ: AMANAH*, ROJNA*, MAJOR*, SAMART*

แนวรับ: 1,635-1,650 / แนวต้าน : 1,659 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

 

 


 

ประเด็นการลงทุน

Ifo เผยความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนีปรับตัวขึ้นในเดือนก.พ. – ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 91.1 ในเดือนก.พ. จากระดับ 90.1 ในเดือนม.ค.

ดอยซ์แบงก์ปรับประมาณการ คาด ECB ขึ้นดอกเบี้ยจนถึง 3.75% - ปรับขึ้นคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยพื้นฐานที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปรับขึ้นในครั้งนี้เป็น 3.75% จากเดิมที่ 3.25%

สิงคโปร์ แอร์ไลน์ส เผยผลกำไรดำเนินงาน Q4/65 พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ – รายงานผลกำไรจากการดำเนินงานแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 755 ล้านดอลลาร์ในไตรมาส 4/2565 (เดือนต.ค.-ธ.ค.) เพิ่มขึ้น 11.4% จากไตรมาส 3/2565

กกพ.เดินหน้ารับฟังความคิดเห็นหลักเกณฑ์ ค่าไฟฟ้าสีเขียว หนุนผู้ส่งออกไทย – กกพ. มีมติให้เปิดรับฟังความความคิดเห็น (ร่าง) หลักเกณฑ์ การกำหนดอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff หรือ UGT) โดยหวังว่าจะช่วยลดอุปสรรคในการปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษีคาร์บอนข้ามแดน ข้อกีดกันทางการค้าที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

กบน.เพิ่มค่าการตลาดดีเซลอีก 40 สต.พร้อมลดราคาขายปลีกรอบสองเหลือ 34 บ. – สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลประจำสัปดาห์ โดยวันนี้ (22 ก.พ.66) เริ่มต้นลดราคาขายปลีกรอบสอง ทำให้ราคาดีเซลอยู่ที่ 34 บาท/ลิตร และ กบน. ยังพิจารณาเพิ่มค่าการตลาดสำหรับกลุ่มน้ำมันดีเซลอีก 0.40 บาทต่อลิตร เป็น 1.80 บาทต่อลิตร

FLOYD จ่ายหุ้นปันผล – อัตราส่วน 9 : 1 ขึ้น XD วันที่ 8 พ.ค.66

Opportunity day - 23 ก.พ.: TASCO, MGT, THANI, III, MTC, ERW, SUN / 24 ก.พ.: WICE, LHK, SPALI, PT, OSP, NETBAY, SECURE /27ก.พ. – ADB, IRPC, SABINA, SPRC, BEYOND, RCL, DOHOME

 

ประเด็นติดตาม: 23 ก.พ. - EU CPI, US GDP Q4 / 24 ก.พ. – US Core PCE Price Index / 27 ก.พ. – US Pending Home Sales / 28 ก.พ. -CB Consumer Confidence / 1 มี.ค. – ISM Manufacturing PMI

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)