เริ่มคลายกังวลภาคธนาคาร ขณะที่เฟดอัดฉีดสภาพคล่องเป็นบวกกับการฟื้นตัว
ธนาคารยุโรปปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย +0.50% เป็น 3.00% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 6 และเป็นไปตามที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ระบุในการประชุมครั้งก่อน
โดย ECB ยืนยันที่จะเดินหน้าขึ้นเบี้ยสูงและนานเท่าที่จำเป็นเพื่อกดดันให้เงินเฟ้อปรับลดลง ทั้งนี้เรามองบวกต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ ECB เนื่องจาก
1) เป็นการส่งสัญญาณยืนยันถึงความแข็งแกร่งของระบบธนาคารพาณิชย์ยุโรปจากกรณีปัญหาของธนาคารเครดิตสวิส (ซึ่งปัจจุบันได้รับวงเงินช่วยเหลือจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งจะช่วยให้มีเวลาในการแก้ปัญหา)
2) การขึ้นดอกเบี้ยของ ECB จะทำให้ FED สามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ได้ง่ายขึ้น และชะลอเงินที่ไหลจากหุ้นเข้าสู่ตลาดพันธบัตร
บรรยากาศลงทุนดีขึ้น หลังกลุ่มธนาคารเข้าช่วย FRB ขณะที่งบดุลเฟดเพิ่มขึ้น
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวบวกวานนี้ นอกจากได้อานิสงค์จากบรรยากาศลงทุนในยุโรปที่ดีขึ้น ยังมาจาก
1) กลุ่มธนาคารในสหรัฐฯ ประกาศฝากเงินเข้าธนาคาร First Republic Bank (FRB) เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือเรื่องสภาพคล่อง และสร้างความมั่นใจให้แก่ระบบธนาคาร
2) สภาพคล่องในระบบเพิ่มขึ้น หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) อัดฉีดเงินกู้รับมือวิกฤติ (Crisis lending) ส่งผลให้งบดุลเฟดกลับมาขายตัวขึ้นเป็น 8.64 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 8.34 ล้านล้านบาท และสูงสุดในรอบ 4 เดือน หรืออาจพูดให้เข้าใจง่ายว่าเฟดชะลอการดำเนินมาตรการลดปริมาณเงิน (QT) และกลับดำเนินมาตรการผ่อนคลาย (QE) อย่างรวดเร็ว ซึ่งน่าจะช่วยยุติการลุกลามของความกังวลในภาคธนาคารได้ ขณะที่ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น น่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ วานนี้ฟื้นตัวแรงให้เราประเมิน SET Index เริ่มเข้าใกล้จุดที่จะเริ่มยืนได้ อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ช่วงเริ่มต้น
ภาพรวมกลยุทธ์: การกลับมาทำ QE ของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะช่วยจำกัด downside ของตลาด ทยอยสะสม เน้นหุ้นที่มีลักษณะ defensive โดยติดตามสถานการณ์ธนาคารในยุโรป และการส่งสัญญาณยืนยันไม่ลดดอกเบี้ยของเฟดในการประชุม 22 มี.ค.นี้ อาจหนุนการฟื้นตัวของหุ้น ทยอยสะสมเน้น selective buy กลุ่มที่น่าจะเห็นการฟื้นตัวได้ชัดเจนในปี 2566 และยังมีการถือครองที่ต่ำ (Underowned) ได้แก่ และหุ้นที่มีปัจจัยบวกรายตัว โดยหุ้นที่เรามองสามารถทยอยสะสม ได้แก่ MAJOR, CPALL, MAKRO, BJC, PTTGC, IRPC, TIDLOR, AMANAH, MILL, TSTH, KSL, ROJNA, SAMART, SDC เป็นต้น
หุ้นแนะนำ: ESSO*, AMATA*, ADVANC*, TU*
แนวรับ: 1,542-1,550 / แนวต้าน : 1,566-1,573 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 50% vs พอร์ตหุ้น 50%
ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ
สหรัฐเผยตัวเลขเริ่มต้นสร้างบ้านพุ่งเกินคาด – พุ่งขึ้น 9.8% ในเดือนก.พ. สู่ระดับ 1.45 ล้านยูนิต ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2565 และสูงกว่าคาดที่ระดับ 1.310 ล้านยูนิต
สหรัฐเผยตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำกว่าคาด – ลดลง 20,000 ราย สู่ระดับ 192,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 205,000 ราย
ECB ขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สกัดเงินเฟ้อ เมินวิกฤตธนาคาร – เป็นไปตามที่ ECB ได้ระบุไว้ในการประชุมครั้งที่แล้ว และเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 6 ติดต่อกัน
First Republic Bank ดิ่งหวั่นเป็นโดมิโนต่อจาก SVB - ราคาหุ้น First Republic Bank หรือ FRB ซึ่งเป็นธนาคารในระดับภูมิภาคของสหรัฐ ร่วงลงอย่างหนักในการซื้อขายก่อนเปิดตลาดหุ้นวอลล์สตรีท โดยถูกกดดันจากการที่รัฐบาลสหรัฐสั่งปิดกิจการของซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (Silicon Valley Bank) หรือ SVB และซิกเนเจอร์ แบงก์ (Signature Bank) หรือ SB
Opportunity day - 17 มี.ค. – TPBI, NCAP, SELIC, PYLON, TK, BCH, UKEM, D, NSL, MENA, POLY, L&E, LALIN, TGE / 20 มี.ค. – MSC, CIVIL, WINMED, XO, PROEN, BRR, TKT, MTI, READY, JDF, ATP30, CHASE
ประเด็นติดตาม: 17 มี.ค. – EU CPI / 21 มี.ค. - Existing Home Sales / 22 มี.ค. - Fed Interest Rate Decision / 23 มี.ค. – New Home Sales / 24 มี.ค. - Core Durable Goods Orders
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)