Bank Sector ธนาคารขยายสินเชื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์ 2566
สินเชื่อที่ขยายตัวในเดือนกุมภาพันธ์นำโดยสินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.4% MoM แต่ยังคงลดลง 0.6% YTD โดยสินเชื่อของแต่ละธนาคารมีแนวโน้มแตกต่างกันไป
ทั้งนี้ แม้ว่าสินเชื่อจะขยายตัวเพียงเล็กน้อย แต่ก็ยังดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยสินเชื่อของ BBL เพิ่มขึ้นมากที่สุดจากสินเชื่อธุรกิจ (สินเชื่อแบบมีกำหนดเวลา หรือ term loan) และการอ่อนค่าของเงินบาทซึ่งทำให้พอร์ตสินเชื่อใหญ่ขึ้น ส่วนพอร์ตสินเชื่อของธนาคารใหญ่อื่นๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ก็ขยายตัวจากสินเชื่อธุรกิจที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของสินเชื่อธนาคารขนาดเล็กมาจากสินเชื่อ H/P เป็นหลัก
กลับมาปล่อยกู้ในตลาดเงินกันอย่างคึกคัก
นอกจากสินเชื่อที่ขยายตัวเล็กน้อยแล้ว ธนาคารยังพากันปล่อยกู้ในตลาดเงินอย่างคึกคักต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองแล้ว โดยเฉพาะ KTB BAY และ TTB ซึ่งสะท้อนถึงสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นเพราะธนาคารลดสถานะลงทุนในตราสารหนี้ลง และฐานเงินฝากที่เพิ่มขึ้นมากกว่ายอดสินเชื่อที่ปล่อยในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 นอกจากนี้ ยังน่าจะสะท้อนถึงอุปสงค์เงินกู้ระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นจากรัฐวิสาหกิจ และธุรกิจขนาดใหญ่ด้วย
ลดสถานะลงทุนในตราสารหนี้ลง
เนื่องจากตลาดตราสารหนี้ผันผวนในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ธนาคารส่วนใหญ่จึงลดสถานะลงทุนในตราสารหนี้ลง และพยายามปรับ duration ของพอร์ตการลงทุน ทั้งนี้ สถานะลงทุนในตราสารหนี้ของธนาคารส่วนใหญ่ลดลง 1.5% MoM (แต่ยังเพิ่มขึ้น 9% YTD) ยกเว้น KBANK และ BBL ที่มีสถานะลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา
เราชอบ BBL และ KTB
การขยายตัวของงบดุลของกลุ่มธนาคารในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 บ่งชี้ว่าธนาคารส่วนใหญ่อยู่ในโหมดของดำเนินการแบบระมัดระวัง ทั้งนี้ เนื่องจากการเติบโตไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ธนาคารมุ่งเน้น แนวโน้มของ BBL และ KTB จึงดูจะเติบโตได้ดีและมั่นคงกว่า เรามองว่า BBL จะได้อานิสงส์จากการปล่อยสินเชื่อระหว่างประเทศในระดับสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มการเติบโตแข็งแกร่งกว่าในประเทศไทย ในขณะเดียวกัน เรามองว่าพอร์ตสินเชื่อของ KTB ยังเน้นไปที่สินเชื่อรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำ และสินเชื่อที่ผูกอยู่กับบัญชีเงินเดือน และยังมีส่วนรองรับหนี้เสียอยู่ในระดับสูง ดังนั้น กำไรของ KTB จึงมีแนวโน้ม
ว่าจะฟื้นตัวได้ดี
Risks
NPLs เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการลงทุน