Daily Strategy : Buy on dip - 24 เมษายน 2566

Daily Strategy : Buy on dip - 24 เมษายน 2566

ตลาดหุ้นวานนี้ SET Index ลดลง 7 จุด ปิดที่ระดับ 1,558 จุด หุ้นกลุ่มอิเล็กร่วงหนักอุตสาหกรรมยังไม่ฟื้น จากซัพพลายล้นตลาดและดีมานด์ชะลอตัว หุ้น DELTA ร่วงหนักและมีผลกับดัชนีมากสุด โดย DELTA ลดลง 70 บาท (-7%) กระทบ SET 7 จุด 

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้      

ประเมิน SET อ่อนตัวแนวรับ 1,550 - 1,555 จุด ตามความกังวล FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็น 5.25% ในการประชุม 2 -3 พ.ค. นอกจากนี้คาดการณ์ตัวเลขส่งออกเดือน มี.ค. ของไทยอาจหดตัวแรงซึ่งเป็นแรงกดดันต่อภาวะตลาด ดังนั้นจึงยังคงแนะนำ Selective buy โดยเน้นเข้าซื้อช่วงอ่อนตัวในหุ้นที่มีข่าวเฉพาะตัวและกลุ่มงบ 1Q23F เติบโต

 

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

BBL KTB TTB KBANK SCB แนวโน้มกำไรยังคงเติบโตในช่วงถัดไป 

ADVANC INTUCH BCH WHAUP CPALL คาดการณ์งบ 1Q23F เติบโตขึ้น 

AMATA WHA ROJNA NYT อานิสงส์ค่ายรถ EV ตั้งฐานการผลิตในไทย

 

หุ้นแนะนำวันนี้

SCB  (ปิด 103 ซื้อ/เป้า 160 บาท) กำไรสุทธิ 1Q23 โตแกร่ง แนวโน้ม 2Q23 ยังโตต่อเนื่องจาก NIM ที่เพิ่มขึ้นตามการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติ ส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ คาดว่าจะปรับลงสู่ระดับปกติที่ระดับ 7-8 พันล้านบาทจาก 9,900 ใน 1Q23

CPALL  (ปิด 63.25 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 72.75 บาท) คาดกำไรสุทธิ 1Q23 เพิ่มขึ้นทั้ง qoq และ yoy จาก SSSG ที่เพิ่ม โดยเฉพาะสาขาในหัวเมืองท่องเที่ยว แนวโน้ม 2Q23 โตต่อจากการจับจ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงสงกรานต์และเลือกตั้ง

บทวิเคราะห์วันนี้ ติดตามตัวเลขส่งออกเดือน มี.ค. ของไทย Consensus คาดอาจหดตัวแรง

KBANK, SCB, SPALI, TTB

 

ประเด็นสำคัญวันนี้

(-) สัปดาห์นี้กลุ่ม Real Sector เริ่มประกาศงบแต่ภาพรวมยังไม่เด่น: เริ่มจาก SCGP ประกาศงบ 25 ก.พ. BB Consensus คาดมีกำไรสุทธิ 1,080 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 140%qoq แต่หดตัว 35%yoy ตามด้วย SCC ประกาศงบ 26 ก.พ. คาดมีกำไรสุทธิ 3,791 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,311%qoq แต่หดตัว 57%yoy 

(-) Consensus มองลบคาดตัวเลขส่งออกไทยเดือน มี.ค. เสี่ยงหดตัวแรง: เป็นปัจจัยลบฉุด GDP 1Q23 ฟื้นตัวจำกัด เบื้องต้น Consensus คาดยอดส่งออกของไทยเดือน มี.ค. จะหดตัว 16.1% จากที่หดตัว 4.7%yoy ในเดือน ก.พ. นับเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน จาก ศก. และดีมานด์ของประเทศคู่ค้าที่เฉพาะตัวโดยเฉพาะ จีน และ ประเทศในกลุ่ม CLMV   

(+/-) ติดตามดัชนี PCE Price Index บ่งชี้การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด: ตลาดยังมองบวกคาดจะปรับตัวลงทั้ง Headline และ Core PCE โดยคาด Headline PCE จะลดลงสู่ระดับ 4.5% จาก 5% ในเดือน ก.พ. และคาด Core PCE ลดลงเป็น 4.5% จาก 4.6% ในเดือน ก.พ.