KTX Zoom (24 พฤษภาคม 2566)
จับตา ทิศทางดอกเบี้ยเฟดในอนาคต อาจไม่ลดลงเร็วดังที่ตลาดคาดการณ์
Today’s dominant ideas
คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Up แนวต้าน 1,540/1,550 จุด (EMA 25วัน) แนวรับ 1,518/1,507 จุด ทางเทคนิค การสามารถปิดบวกเหนือระดับเดิมขึ้นไปได้วานนี้ (เกิดแท่งเทียนสีเขียว) ต่อเนื่องจากการเกิดรูปแบบ Reversal Pattern (Hammer ขาลง) ทำให้ดัชนีฯ วันนี้ มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อ โดยมีเป้าหมายที่ 1,550/1,570 จุด ตามลำดับ
ประเด็นไฮไลท์วันนี้ อยู่ที่แนวโน้มการประชุมเฟดวันที่ 14 มิ.ย. มีโอกาสที่เฟดจะคงดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก หลังจากปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง 10 ครั้ง เป็น 5-5.25% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 2007 เป็นต้นมา อ้างอิงจากรายงาน US FOMC Minute ที่ผ่านมา (3 พ.ค.) รวมถึงสุนทรพจน์ของประธานเฟด Powell ล่าสุด ที่มีการส่งสัญญาณสนับสนุนการชะลอปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อรอดูผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ผ่านมา และวิกฤติธนาคารล้มในสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี สัญญาณล่าสุดจากประธานเฟดสาขาต่าง ๆ หลายท่าน อาทิ Fed Cleveland Mester, Fed St.Louis Bullard (Non-Voters) Fed Chicago Goolsbee (Voter) ที่ส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ยยังไม่ได้อยู่ในระดับที่ควรจะเป็นภายใต้ Sticky Inflation หรือ Fed Atlanta Bostic (Non-Voter), Fed NY Williams, Fed Governor Bowman, Fed Mineapolis Kashkari (Voters) ที่ออกมาสนับสนุนปรับขึ้นดอกเบี้ย
หากเงินเฟ้อไม่ปรับลดลงมาตามคาด อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการเพิ่มความผันผวนในตลาดเงิน ตลาดพันธบัตร ตลาดหุ้น ครั้งใหม่ เนื่องจากเป็นมุมมองที่แตกต่างกันอย่างมากเมื่อเทียบกับผจก.กองทุนโลก (อ้างอิงจากผลสำรวจล่าสุดในเดือน พ.ค.) 61% ที่คาดว่าวัฏจักร ขาขึ้นดอกเบี้ยของเฟด สิ้นสุดลงแล้ว และ 43% คาดว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกใน 1Q24 (รูปซ้าย) เช่นเดียวกันกับ นักลงทุนทั่วไปในตลาดเงินปัจจุบัน อิงเครื่องมือ Fed Watch Tool ของ CME ที่คาดว่า เฟดมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรก 0.25% เป็น 4.75-5.0% ในการประชุมวันที่ 1 พ.ย. 2023 ด้วยโอกาส 44% (รูปล่าง)
เราคาดว่าแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่อาจเป็น Higher For Longer (ทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่องตลอดปีนี้) เริ่มส่งผลต่อ Inverted Yield Curve ระหว่างยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ 2 ปี และ 10 ปี กลับมามี Spread กว้างขึ้น จาก 0.44% เป็น 0.61% (กรอบสูงสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 2023 อยู่ที่ไม่เกิน 0.66%) ซึ่งอาจส่งผลเชิงบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ-รูปขวา (สะท้อนเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่งกว่าคาด) โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม Growth (กลุ่มเทคโนโลยี) > หุ้นกลุ่ม Value (กลุ่ม Utilities, Bank) แต่เป็นลบต่อกลุ่มทองคำ และสินค้าโภคภัณฑ์ (Real Rate of Return ปรับลดลง) ภายใต้ทิศทางดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวในระดับสูง
กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ AP MC MAKRO บนคาดการณ์ว่าบริษัทจะรายงานผลประกอบการปีนี้เติบโตดี (Growth Story) และได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นสิ้นสุดลง ทำให้มีความเสี่ยงเชิงลบจำกัด
Strategic daily picks
AP ปิด 11 บาท/แนวรับ 10.70 บาท แนวต้าน 11.80 บาท
Consensus คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2023 ที่ 6.25 พันล้านบาท จากยอด backlog กลุ่มแนวราบที่ 1.65 หมื่นล้านบาท ที่คาดว่าจะสามารถโอนได้หมดในปี 2023 และแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ปี 2023 (คาดจะมีการเปิดตัวโครงการใหม่รวม 58 โครงการ มูลค่ารวม 7.7 หมื่นล้านบาท) สูงกว่าปี 2022 ทั้งนี้ Consensus ประเมินราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 14.48 บาท และคาดว่าจะให้อัตราผลตอบแทนปันผลสูงถึง 6.5%
MC ปิด 13.40 บาท/แนวรับ 12.90 บาท แนวต้าน 14 บาท
MC รายงานกำไรสุทธิ 3Q22/23 163 ล้านบาท (+49% YoY, -34% QoQ) โดยการลดลง QoQ จากปัจจัยด้านฤดูกาลจาก high season ในไตรมาสก่อน ขณะเดียวกัน Consensus คาดแนวโน้มใน 4Q22/23 (สิ้นสุดเดือน มิ.ย. 2023) ยังเติบโต YoY แต่อ่อนตัว QoQ ตามฤดูกาล โดยยอดขายในเดือน เม.ย. ยังมีแนวโน้มที่เติบโตด้วยยอดขายสาขาเดิมที่เติบโตกว่า 10% YoY และยังเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท ทั้งนี้ Consensus ประเมินราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 14.30 บาท อิง 2023/24 PER 17.6 เท่า และ EPS ที่ 0.81 บาท และคาดว่าจะให้ Dividend Yield สูงถึง 6.4% (ผลกำไรปีนี้ คาดเติบโต 33.9% เป็น 651 ล้านบาท หลังจาก 9M22/23 สะสมกำไรสูงถึง 525 ล้านบาท สูงกว่าปี 2019 แล้ว) โดยบริษัทจะยังคงใช้แคมเปญ My mc My Way ในการทำตลาด และจะมีการเปิดตัวแบรนด์ พรีเซนเตอร์ในเดือน มิ.ย.
MAKRO ปิด 39 บาท/แนวรับ 37.50 บาท แนวต้าน 41.50 บาท
MAKRO เผยทิศทางการดำเนินงานใน 2Q23 ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก (ร้าน Lotus’s) ปรับตัวดีขึ้น จากยอดขายที่ขยายตัวขึ้น และได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว (SSSG เป็นบวกต่อเนื่อง) และต้นทุนสาธารณูปโภคที่ปรับลดลง (ค่า FT ปรับลดลงตั้งแต่เดือนพค.) โดย Consensus ประมาณการกำไรปี 2023-24 ที่ 1.14 หมื่นล้านบาท และ 1.41 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งยังคงเห็นการเติบโตได้ถึง 48% และ 24% จากคาด 2H23 จะเห็นการบริหารจัดการต้นทุนได้ดีขึ้น จาก synergy ของทั้ง 2 กลุ่มธุรกิจ และแรงกดดันจากค่าใช้จ่ายทางการเงินที่ลดลงชัดเจน พร้อมประเมินราคาเป้าหมายปี 2023 ที่ 45 บาท อิง 2023 PER 41 เท่า ทั้งนี้ MAKRO มีแรงหนุนต่อราคาหุ้นระยะสั้น จากการถูกเพิ่มคำนวณในดัชนี MSCI Global Standard Index ซึ่งจะมีผลต่อราคาปิดตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค.