วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เลือกรายตัว อาจถูกกระทบจากการปรับฐานตลาดต่างประเทศ

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ เลือกรายตัว อาจถูกกระทบจากการปรับฐานตลาดต่างประเทศ

ยังคงมุมมองระวังการปรับฐานของตลาดหุ้นต่างประเทศอาจฉุดจิตวิทยาการลงทุนหุ้นไทย 1) หุ้นต่างประเทศอาจเริ่มเสี่ยงต่อการปรับฐานหลังปรับขึ้นมาตั้งแต่ปลายปี 2565

2) การปรับขึ้นนำโดยหุ้นขนาดใหญ่ จำนวนไม่มาก โดยเฉพาะในกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่การ rotation ไปกลุ่มอื่นยังอยู่ในระดับต่ำ 3) ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งมาก ล่าสุดยอดค้าปลีก (Retail sales) ก.ค. +0.7% MoM และ +3.17% YoY (สูงกว่าคาดการณ์ที่ +0.4%MoM และ +1.50% YoY) เป็นความเสี่ยงต่อการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดต่อเนื่อง หรือคงดอกเบี้ยสูงเป็นเวลานาน 4) ตัวเลขเศรษฐกิจญี่ปุ่น ออกมาดีกว่าคาดมาก โดย GDP 2Q66 +1.5% QoQ และ +6.0% YoY (สูงกว่าคาดการณ์ที่ +0.8% QoQ และ +3.1% YoY) ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจต้องปรับกรอบ Yield Curve Control ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เนื่องจากอาจทำให้เกิดการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงเพื่อไปคืนเงินกู้สกุลเยนได้ (Unwind Yen Carry Trade)

 

สรุปภาพรวมผลประกอบการไตรมาส 2/66 ของบจ. 785 แห่ง มีกำไรรวม 2.1 แสนล้านบาท -19.09%QoQ, -38.6% YoY โดยหากเทียบกับปีก่อน บจ.ที่มีกำไรเพิ่มขึ้น จำนวน 237 แห่ง (30.2%), กำไรลดลง 380 แห่ง (484%) และทรงตัว 168 แห่ง (21.4%) โดยรวมชะลอตัวลงจากผลประกอบการกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี และต่ำกว่าระดับเฉลี่ยของตลาดที่มักกำไร 2.5-2.6 แสนล้านบาท/ไตรมาส แต่แนวโน้มครึ่งปีหลังมีทิศทางฟื้นตัวตามราคาน้ำมันดิบ แต่อาจต้องระวังกลุ่มที่เกี่ยวกับงานประมูลและการใช้จ่ายภาครัฐ ที่ผลประกอบการอาจชะลอคล้ายที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้ง 2562 
 

ปัจจัยที่ต้องติดตาม รายงานเฟดและการเมือง 1) ติดตามรายงานการประชุมเฟด รอบ 25-26 ก.ค.ที่จะออก 16 ส.ค. คาดเห็นการส่งสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งจะกระทบต่อทิศทางเงินทุนระยะสั้นได้ 2) การเมืองในประเทศ เผื่อใจกับการตั้งรัฐบาลที่อาจล่าช้าถึง ก.ย. ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายงบประมาณในช่วงปลายปี และหน้าตาของครม.ที่อาจไม่ได้มีเอกภาพจากการต่อรองทางการเมือง

ภาพรวมกลยุทธ์: ยังระวังแรงกดดันจากการขายทำกำไรในตลาดหุ้นโลกอาจมากระทบบรรยากาศลงทุนหุ้นไทย กลุ่มที่น่าสนใจช่วงนี้คือ 1) หุ้นขนาดกลางขนาดเล็กที่มีการถือครองต่ำ 2) กลุ่มที่ผลประกอบการจะออกมาดี 3) กลุ่มอิงภายนอกที่ดีต่อในครึ่งหลังมีแค่พลังงานต้นน้ำและโรงกลั่น ขณะที่ปิโตรเคมีจะแย่ยาว ทำให้เหมาะแค่การเก็งกำไร 

หุ้นแนะนำ: CPAXT*, SPA*, SKY*, AMATA*

แนวรับ: 1,500-1,515 / แนวต้าน : 1,535-1,545 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
 

ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ

สหรัฐเผยยอดค้าปลีกสูงกว่าคาด - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 3.17% yoy หรือ 0.7% mom ในเดือนก.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 1.50% yoy หรือ 0.4% mom โดยได้รับแรงหนุนจากยอดขายออนไลน์ในวัน Amazon Prime Day 

Fitch อาจหั่นเครดิตแบงก์สหรัฐ – หลังปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือภาพรวมของภาคธนาคารสหรัฐสู่ระดับ AA- ในเดือนมิ.ย. ในรอบนี้อาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารสหรัฐหลายแห่ง ซึ่งรวมถึง JP Morgan Chase ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐ และ Bank of America ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการพุ่งขึ้นของการผิดนัดชำระหนี้ในภาคธนาคาร 

แบงก์ชาติจีนลดดอกเบี้ยนโยบาย – โดยลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปี สู่ระดับ 2.50% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะคงไว้ที่ระดับ 2.65% ภายหลังจากที่จีนเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทั้งยอดการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือน และภาวะเงินฝืด 

PTTEP หวั่นแหล่งไพลินอาจซ้ำรอยแหล่งเอราวัณ - เหตุจากเจรจาเชฟรอนไม่คืบ ทั้งแผนต่อสัญญาหรือยกเลิกพร้อมรื้อถอน ขีดเส้นตาย 1Q24 เจรจาต้องจบ หากไม่ทัน ผลผลิตก๊าซฯ จะเริ่มทยอยลดลง ดันราคาพุ่ง ล่าสุด LNG ทะลุ 40 เหรียญฯ ขณะที่แหล่งยาดานาน่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน หมดสัญญาปี 2028 พร้อมกับแหล่งไพลิน หากไม่ต่อสัญญา ก๊าซฯ หาย 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

หุ้นที่น่าสนใจทางเทคนิค: TCAP, DMT, ERW, BCH, BJC, BA, MC, AUCT

 

ประเด็นติดตาม: 16 ส.ค. – EU GDP, US Building Permits, Housing Starts/ 17 ส.ค. – US FOMC Meeting Minutes, Intial Jobless Claims/ 18 ส.ค. – EU CPI

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)